พระสงฆ์กับการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้: กรณีศึกษาพระราชจินดานายก วัดพระเจดีย์ซาวหลัง อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง
คำสำคัญ:
พระสงฆ์, การอนุรักษ์, ทรัพยากรป่าไม้, พระราชจินดานายกบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์ 3 ข้อ คือ 1) เพื่อศึกษาแนวคิดและบทบาทการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของพระภิกษุในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษาประวัติและผลงานของพระราชจินดานายกในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในจังหวัดลำปาง 3) เพื่อศึกษาบทบาทและผลสัมฤทธิ์ในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในจังหวัดลำปางของพระราชจินดานายก เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ การสืบค้นเอกสาร การสังเกตการณ์และการสัมภาษณ์เชิงลึกพระสงฆ์ที่เป็นแกนนำ เพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับบทบาทและผลสัมฤทธิ์ในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในจังหวัดลำปาง
ผลการศึกษา พบว่า 1) แนวคิดและบทบาทการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ของพระภิกษุได้อาศัยแนวคิดความเกื้อกูลระหว่างกันและมีบทบาทในด้านการปลูกจิตสำนึก การปกครอง การประชาสัมพันธ์ การประสานงานกับหน่วยงานภาครัฐและประชาชน การป้องกันการบุกรุกทำไร่เลื่อนลอย การป้องกันการตัดไม้ทำลายป่าและการฟื้นฟูสภาพป่า 2) ผลงานที่สำคัญของพระราชจินดานายก เช่น การเผยแผ่ การปกครอง สาธารณูปการ การบำเพ็ญสาธารณประโยชน์และการศึกษาสงเคราะห์ 3) บทบาทและผลสัมฤทธิ์ในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ ได้แก่ การดำรงตำแหน่งทางการคณะสงฆ์ ความเป็นผู้นำ ส่วนสัมฤทธิผล ได้แก่ การเพิ่มเนื้อที่ป่า การประสานงานกับหน่วยงานราชการและชุมชนเพื่อป้องกัน รักษาและปลูกจิตสำนึกในการรักษาป่า องค์ความรู้จากการวิจัย ได้แก่ บทบาทและสัมฤทธิผลเกิดจากปัจจัย 2 ประการ คือ 1) หลักปฏิบัติ/พระธรรมวินัย 2) วิถีชีวิตชุมชน ทั้งนี้ ต้องตระหนักถึงทรัพยากรป่าไม้ด้วยเหตุ 3 ประการ คือ 1) ความเกื้อกูล 2) ความกตัญญูกตเวทิตา 3) ความสมดุลของธรรมชาติที่ต้องได้รับความร่วมมือจากพระสงฆ์ในการบูรณาตามความเชื่อของสังคมให้ตระหนักรู้ในการอนุรักษ์ทรัพยากรทางธรรมชาติร่วมกัน
References
กรมการศาสนา. (2539). คู่มือการปฏิบัติงานด้านศาสนา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.
จีรศักดิ์ สีหวัฒน์. (2544). บทบาทพระสงฆ์กับการอนุรักษ์ป่าของจังหวัดนครราชสีมา: ศึกษาเฉพาะกรณีพระเทพสีมาภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ประสพสุข พันธุประยูร. (2535). บทบาทของพระสงฆ์ในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในจังหวัดภาคเหนือของประเทศไทย. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2542). การพัฒนาที่ยั่งยืน, พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโกมลคีมทอง.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์, พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมโกศาจารย์ (พุทธทาส อินฺทปญฺโญ). (2535). พระสงฆ์กับการอนุรักษ์ป่า. นิตยสารเสขิยธรรม. 9 (2), 18.
พระมหาสุภา อุทโท. (2541). บทบาทของพระสงฆ์ไทยใน 2 ทศวรรษหน้า (2541-2560). วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 4, 25. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2557). นวโกวาท, พิมพ์ครั้งที่ 83. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
สุเมธ ทรายแก้ว. (2536). ปัจจัยที่มีต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ: ศึกษากรณีโครงการการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ จังหวัดอุดรธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.