ความเชื่อพญานาคกับการเสี่ยงทายในพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์คำชะโนด
คำสำคัญ:
ความเชื่อพญานาค, การเสี่ยงทาย, พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์, คำชะโนดบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอการเสี่ยงทายรูปแบบต่าง ๆ ที่มีความเกี่ยวข้องกับความเชื่อพญานาค โดยใช้กรณีศึกษาจากพื้นที่คำชะโนด ซึ่งจัดเป็นพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของคนท้องถิ่น โดยได้ศึกษาจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง การเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์และสังเกตวิถีชีวิตชุมชนในพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์คำชะโนด ผลการศึกษา พบว่า ความเชื่อพื้นบ้านส่งผลโดยตรงต่อวัฒนธรรมการทำนาย ขอพรและเสี่ยงโชค ก่อให้ให้เกิดวัตถุทางวัฒนธรรมที่ตอบรับกับการเสี่ยงทายในรูปแบบต่าง ๆ ซึ่งส่งผลโดยตรงต่อเศรษฐกิจของชุมชนคำชะโนด นอกจากนี้ ยังพบว่า ในบริเวณพื้นที่ศักดิ์สิทธิ์คำชะโนดมีความเชื่อเรื่องพญานาคกับการเสี่ยงทาย 3 รูปแบบ คือ 1) การเสี่ยงทายขอเลขเสี่ยงโชคจากต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ 2) การเสี่ยงทายด้วยการลูบฆ้องอธิษฐานกับพ่อปู่ศรีสุทโธแม่ย่าศรีปทุมมานาคราช 3) การเสี่ยงทายด้วยการทุบหินคลอนหรือไข่พญานาค แล้วนำไปเทียบกับคำทำนายบุญบารมีและโชคลาภของตนตามสีของเพชรพญานาคที่บรรจุอยู่ภายในหินคลอนหรือไข่พญานาค
References
กัญญารัตน์ เวชชศาสตร์. (2559). มโนทัศน์เรื่องนาคของชนชาติไทย. วารสาร Veridian E-Journal, Silpakorn University (ฉบับภาษาไทย มนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ). 9 (1), 1099-1116.
พลธรรม์ จันทร์คำ. (2551). พญานาค: จากอุดมการณ์ที่เมืองคำชะโนดสู่กระบวนการทำให้เป็นสินค้า. วารสารพัฒนศาสตร์. 5 (1), 1-21.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 4, 25, 27, 28. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มัชฌิมา วีรศิลป์. (2561). ความสัมพันธ์ระหว่างตำนานท้องถิ่นกับการใช้พื้นที่ศักดิ์สิทธิ์บริเวณคำชะโนด จังหวัดอุดรธานี. รายงานการวิจัย. โครงการพัฒนานักวิจัยใหม่ มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
ลลนา ศักดิ์ชูวงษ์. (2548). การให้ความหมายและเหตุผลการดำรงอยู่ของประเพณีบั้งไฟพญานาคในยุคโลกาภิวัตน์. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรุกิจบัณฑิตย์.
วิเชียร นามกร. (2554). การศึกษาอิทธิพลความเชื่อเรื่องพญานาคที่มีผลต่อสังคมไทยปัจจุบัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ศักดิ์ดำรงค์ โชติวรรณ. (2560). พ่อจ้ำคำชะโนด (หมอพราหมณ์). สัมภาษณ์. 20 มิถุนายน.
ศิราพร ณ ถลาง. (2548). ทฤษฎีคติชนวิทยา: วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตำนาน-นิทานพื้นบ้าน. กรุงเทพมหานคร: โครงการเผยแพร่ผลงานทางวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศิราพร ณ ถลาง. บรรณาธิการ. (2558). เรื่องเล่าพื้นบ้านไทยในโลกที่เปลี่ยนแปลง. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).
สุรเชษฐ์ อินธิแสง. (2560). สุทโธนาคแห่งคำชะโนด: พื้นที่สักการะของสังคมในบริบทความทันสมัย. การประชุมวิชาการ “มหาวิทยาลัยมหาสารคามวิจัย” ครั้งที่ 13. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. วันที่ 7-8 กันยายน. หน้า 127-131.
อนัญญา ปานจีน. (2553). การศึกษาคติความเชื่อเรื่องพญานาคในพื้นที่อีสานตอนบน เพื่อเสนอแนวทางสู่การออกแบบสถาปัตยกรรมภายในพิพิธภัณฑ์นาคา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
อุดร ถาวร. (2560). ผู้ประกอบการร้านเครื่องบูชาในพื้นที่คำชะโนด. สัมภาษณ์. 20 มิถุนายน.
Textor, R. B. (1960). An Inventory of Non-Buddhist Supernatural Objects in a Central Thai Village. (Doctoral Dissertation). Cornell University. New York.
Thaiamulet 168. (29 พฤษภาคม 2562). ความหมายเพชรพญานาคต่างสี. สืบค้นเมื่อ 7 ตุลาคม 2563, จาก https://www.thaiamulet168.com/content/5493/ความหมายเพชรพญานาคต่างสี
Thompson, S. (1977). The Folktale. Berkeley: University of California Press.