กระบวนทัศน์ใหม่ในการขับเคลื่อนเครือข่ายภาคประชาชนเพื่อจัดการทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • วรินทร์ลดา สืบดี สถาบันนวัตกรรมและถ่ายทอดเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยพะเยา
  • พระครูธรรมธรบุญเที่ยง ลักษณ์พลวงค์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

คำสำคัญ:

กระบวนทัศน์ใหม่, เครือข่ายภาคประชาชน, ทรัพยากรธรรมชาติ, ชุมชนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

บทความนี้ได้เสนอแนวคิดในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 เพื่อย้ำสิทธิกับการจัดการทรัพยากรในท้องถิ่นและกล่าวถึงลักษณะแนวคิดดั้งเดิม คือ กระบวนทัศน์เก่า ตามด้วยแนวคิดที่นำมาปรับใช้ในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติท้องถิ่นที่ดีที่เรียกว่า กระบวนทัศน์ใหม่ ซึ่งจะช่วยขับเคลื่อนเครือข่ายภาคประชาชนให้มีระบบการจัดการที่มีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ ได้เสนอข้อดีในการขับเคลื่อนเครือข่าย และสุดท้ายได้เสนอแนวคิดการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นเพื่อให้บรรลุเป้าหมาย คือ เสถียรภาพทางเศรษฐกิจ สังคมและคุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยยึดหลักการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างฉลาด กล่าวคือ กระบวนทัศน์ใหม่ไม่ได้มีสูตรสำเร็จตายตัว สามารถประยุกต์ใช้กับสภาพสังคม เศรษฐกิจและวัฒนธรรมตามแต่ละพื้นที่ ดังนั้น คุณค่าพื้นฐานของประชาชนไม่ใช่สิ่งที่ดำรงอยู่อย่างตายตัวและย่อมมีข้อบกพร่องของตนเอง กระบวนทัศน์ใหม่อาจไม่ใช่เป้าหมายที่สิ้นสุด แต่เป็นกระบวนการที่มีเหตุผลและพร้อมจะปรับปรุงรูปแบบการพัฒนาไปสู่สิ่งใหม่อยู่เสมอ เพื่อเป้าหมายในการจัดการทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น การปฏิบัติงานให้บรรลุเป้าหมายของสังคมที่ประชาชนทั้งเครือข่ายในชุมชนสามารถดำเนินชีวิตร่วมกันได้อย่างยั่งยืน โดยการบูรณาการร่วมกันของปัจจัยหลัก 3 ประการ ซึ่งเป็นองค์ความรู้ใหม่ อันประกอบด้วยปัจจัยที่หนึ่ง คือ การตระหนักถึงการพัฒนาเครือข่ายให้มีประสิทธิภาพ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่นำไปสู่การปรับปรุงและการจัดการเครือข่ายแนวใหม่เพื่อนำไปสู่การจัดการทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่น ปัจจัยที่สอง คือ ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและความมั่นคงของเครือข่ายประชาชนจะช่วยยกฐานะความเป็นอยู่ของประชาชนให้สูงขึ้น และปัจจัยที่สาม คือ การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติโดยอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนจะช่วยให้เกิดความสมดุลในการรักษาทรัพยากรธรรมชาติในท้องถิ่นให้ยั่งยืน

References

เกษม จันทร์แก้ว. (2540). โครงการสหวิทยาการบัณฑิตศึกษา สาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม, พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชลธิรา สัตยาวัฒนา. (2546). รัฐ ชุมชนและนโยบายการจัดการทรัพยากร. ใน อานันท์ กาญจนพันธ์. (บรรณาธิการ). พลวัตของชุมชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

นิวัติ เรืองแก้ว (2537). การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: รั้วเขียว.

พรชัย ธรณธรรม และจินตนา ทวีมา. (2538). การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. ใน สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน เล่ม 19. กรุงเทพมหานคร: สุทธาการพิมพ์.

พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535. (4 เมษายน 2535). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 37. หน้า 1-43.

พระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชน พ.ศ. 2551. (8 กุมภาพันธ์ 2551). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 125 ตอนที่ 31 ก. หน้า 26-38.

เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. (2556). ยุทธศาสตร์การพัฒนา: จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติเชิงรุก. นนทบุรี: บุ๊คพอยท์วิชาการ.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550. (24 สิงหาคม 2550). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 124 ตอนที่ 47 ก. หน้า 1-127.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2535). การบริหารและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติ. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์

วิชัย เทียนน้อย. (2533). การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ. กรุงเทพมหานคร: อักษรวัฒนา.

สมคิด บางโม. (2539). องค์การและการจัดการ, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดี.

อุดม ทุมโฆสิต. (2550). การจัดการทรัพยากรร่วมของชุมชนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อำนาจ เจริญศิลป์. (2544). วิทยาศาสตร์กับสังคม, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

Imrie, R., and Raco, M. (1999). How New is the New Local Governance? Lessons from the United Kingdom. Transactions. 24 (1), 45-63.

Lunenburg, F. C., and Ornstein, A. O. (1996). Educational Administration: Concepts and Practices, 2nd ed. Belmont CA: Wadsworth.

#264_11 #JSBS #TCI2 #วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-10