ศึกษาวิเคราะห์อัตลักษณ์แห่งมรดกทางภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในล้านนา

ผู้แต่ง

  • สมจันทร์ ศรีปรัชยานนท์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
  • พระครูสิริธรรมบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
  • พระมหากีรติ ฉัตรแก้ว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง
  • สหัทยา วิเศษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • ปาณิสรา เทพรักษ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครลำปาง

คำสำคัญ:

อัตลักษณ์, มรดกทางภูมิปัญญา, วัฒนธรรมล้านนา

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาความเป็นมาและพัฒนาการทางภูมิปัญญาทางวัฒนธรรม 2) เพื่อวิเคราะห์อัตลักษณ์แห่งมรดกทางภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในล้านนา เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้เครื่องมือการวิจัย ได้แก่ การศึกษาเชิงเอกสารและการศึกษาภาคสนามด้วยการสังเกตการณ์และการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลสำคัญมี 14 รูป/คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการจับประเด็นเนื้อหาทางด้านประวัติศาสตร์ อัตลักษณ์ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมในล้านนาจากเอกสารที่เกี่ยวข้องเพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์อัตลักษณ์แห่งมรดกทางภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมในล้านนา

ผลการวิจัย พบว่า 1) ความเป็นมาทางภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเกิดจากปัจจัยทางด้านภูมิศาสตร์ที่กำหนดวิถีชีวิตของสังคมด้วยสภาพทางภูมิประเทศ ชาติพันธุ์และวิถีชีวิตในการอยู่รอดในสังคม ขณะเดียวกันอัตลักษณ์แห่งมรดกทางภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมเป็นปัจจัยที่รับผลกระทบมากจาก (1) ความเชื่อที่เป็นหลักการปฏิบัติให้เกิดความผาสุก (2) ทุนทางสังคมอันเป็นสิ่งที่มีอยู่ในชุมชนดั้งเดิม (3) การอนุรักษ์อันเป็นการรักษาความเป็นเอกลักษณ์แห่งภูมิปัญญาโดยการยึดหลักการ 2) ปัจจัยด้านอัตลักษณ์แห่งมรดกทางวัฒนธรรมในล้านนาเกิดจากปัจจัย 4 ด้าน ได้แก่ (1) ภูมิศาสตร์ ความเป็นอยู่และวิถีชีวิต (2) ความเชื่อ การปฏิบัติเพื่อให้เกิดความผาสุกตามกฎกติกาที่ยอมรับ (3) ทุนทางสังคม ลักษณะเฉพาะที่ดึงดูดความสนใจที่เกิดจากปัจจัยทางด้านทุนทางสังคมในพื้นที่ (4) การอนุรักษ์ การดูแลและรักษาเอกลักษณ์แห่งภูมิปัญญาในชุมชนล้านนาเพื่อให้เกิดคุณค่าในสังคมตลอดไป องค์ความรู้จากการวิจัย พบว่า ปัจจัยหลักที่มีผลต่ออัตลักษณ์แห่งมรดกทางวัฒนธรรมในล้านนา ได้แก่ 1) ปัจจัยทางด้านภูมิศาสตร์ที่เป็นสภาพแวดล้อม เผ่าพันธุ์และวิถีชีวิตในชุมชน 2) ปัจจัยทางด้านความเชื่อที่เป็นธรรมเนียมการปฏิบัติที่สร้างความงดงามในแบบแผนของสังคม 3) ทุนทางสังคมทั้งทางด้านทรัพยากรธรมชาติ ประวัติศาสตร์ ความงามด้านศิลปะ และ 4) การอนุรักษ์ เพื่อรักษาความงดงามให้คงอยู่ในชุมชนด้วยการปฏิบัติตามสิ่งที่บรรพชนได้สร้างสรรค์และการรักษาคุณค่าทางวัฒนธรรมให้คงอยู่ด้วยการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นให้แก่อนุชนรุ่นต่อไป

References

ธนิกานต์ ทาอ้าย. (2549). การสร้างหนังสืออ่านเพิ่มเติม เรื่องเฉลิมพระเกียรติเทียมฟ้า สำหรับนักเรียนช่วงชั้นที่ 2. การค้นคว้าอิสระปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ประสิทธิ์ ลีปรีชา. (2547). การสร้างและสืบทอดอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ม้งในวาทกรรมอัตลักษณ์. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.

ปิ่นวดี ศรีสุพรรณ. (2547). วาทกรรมทุนทางสังคม: กระบวนการสร้างแนวคิดและปฏิบัติการในบริบทการพัฒนาของไทย (พ.ศ. 2540-2546). วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรสุข หุ่นนิรันดร์. (2545). พฤติกรรมศาสตร์ทางสุขศึกษา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

รัศมี ชูทรงเดช และคณะ. (2552). โครงการสืบค้นและจัดการมรดกทางวัฒนธรรมอย่างยั่งยืนในอำเภอปาย-ปางมะผ้า-ขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน. รายงานการวิจัย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2524). พจนานุกรมศัพท์สังคมวิทยา อังกฤษ-ไทย. กรุงเทพมหานคร: ราชบัณฑิตยสถาน.

รินรดา พันธ์น้อย. (2552). การดำรงอยู่และการปรับเปลี่ยนอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของประชาชนในสังคมพหุวัฒนธรรม: กรณีศึกษาชุมชนบุ่งกะแทว ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

อภิญญา เฟื่องฟูสกุล. (2546). อัตลักษณ์: การทบทวนทฤษฎีและกรอบแนวคิด = Identity. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ.

อรทัย เจียมดำรัส. (2559). สุขภาพจิตดี...ด้วยวิถีล้านนา. เชียงใหม่: นันทกานต์ กราฟฟิค/การพิมพ์.

อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว. (2557). สังคมและวัฒนธรรมล้านนา จากคำบอกเล่า. เชียงใหม่: นครพิงค์การพิมพ์.

#264_7 #JSBS #TCI2 #วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-07-28