การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทย โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองและทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

ผู้แต่ง

  • สุภัทรพงศ์ รวงผึ้งรุ่งโรจน์ หลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • วิมลรัตน์ จตุรานนท์ หลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
  • สิราวรรณ จรัสรวีวัฒน์ หลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

คำสำคัญ:

รูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทย, ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเอง, ทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ, การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทย โดยประยุกต์ใช้ทฤษฎี การสร้างความรู้ด้วยตนเองและทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทย และ 3) ศึกษาเจตคติที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทย การวิจัยนี้เป็นการวิจัยและพัฒนา ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนแกลง “วิทยสถาวร” จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วรรณคดีไทย 2) แบบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา 3) แบบประเมินความสามารถด้านการสร้างสรรค์นวัตกรรมและด้านการสื่อสาร สารสนเทศ การรู้เท่าทันสื่อ 4) แบบประเมินพฤติกรรมด้านความร่วมมือ การทำงานเป็นทีม ภาวะผู้นำและความมีเมตตา กรุณา มีวินัย คุณธรรม จริยธรรม และ 5) แบบวัดเจตคติที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทย สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระ

          ผลการวิจัย พบว่า 1) รูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทยมีองค์ประกอบ คือ หลักการ จุดมุ่งหมาย กระบวนการจัดการเรียนรู้ทั้ง 5 ขั้นตอน รวมทั้งการวัดและการประเมินผล บทบาทของครูและบทบาทของนักเรียน 2) ผลการใช้รูปแบบการเรียนรู้วรรณคดีไทยพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนรู้วรรณคดีไทยและความสามารถในทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และทักษะในศตวรรษที่ 21 อยู่ในเกณฑ์การจัดอันดับคุณภาพมากที่สุด 3) เจตคติของนักเรียนอยู่ในระดับดีมาก องค์ความรู้จากการวิจัย คือ ทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองและทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ สามารถประยุกต์ใช้ในการเรียนรู้วรรณคดีไทยเพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์และส่งเสริมทักษะในศตวรรษที่ 21

References

ฆนัท ธาตุทอง. (2554). สอนคิด: การจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาการคิด. กรุงเทพมหานคร: เพชรเกษมการพิมพ์.

ชนาธิป พรกุล. (2554). การสอนกระบวนการคิด: ทฤษฎีและการนำไปใช้. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2556). ทฤษฎีและการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ (Theories and Development of Instructional Model). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เอส. พริ้นติ้งไทย แฟคตอรี่.

สำนักงานบริหารการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2559). แนวทางการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21st Century Skills. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานบริหารการมัธยมศึกษาตอนปลาย สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน.

หยาง หลี่โจว. (2555). การพัฒนารูปแบบการสอนอ่านเพื่อความเข้าใจสำหรับนักศึกษามหาวิทยาลัยชนชาติยูนนาน ตามแนวการสอนแบบ Active Reading และหลักการเรียนรู้แบบร่วมมือ. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

อรสา สนธิ. (2553). การพัฒนาการเรียนการสอนภาษาไทยโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีการสร้างความรู้ด้วยตนเองสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อิงอร สุพันธุ์วณิช และคณะ. (2554). ชุดฝึกอบรมครูภาษาไทย ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย โครงการยกระดับคุณภาพครูทั้งระบบตามแผนปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Barger, M. M., et al. (2018). Constructivism and Personal Epistemology Development in Undergraduate Chemistry Students. Learning and Individual Differences. 63, 89-101. DOI: 10.1016/j.lindif.2018.03.006

Johnson, D., et al. (1994). Cooperative in the Classroom. Minnesota: Interaction Book.

Minarni, A. and Napitupulu, E. E. (2020). The Role of Constructivism-based Learning in Improving Mathematical High Order Thinking Skills of Indonesian Students. STKIP Siliwangi Bandung Journals. 9 (1), 111-132. DOI: 10.22460/infinity.v9i1.p111-132

Piaget, J. (1972). Intellectual Evolution for Adolescence to Adulthood. Human Development. 15, 1-12. DOI: 10.1159/000271225

Rieger, K. L., et al. (2020). Navigating Creativity within Arts-based Pedagogy: Implications of a Constructivist Grounded Theory Study. Nurse Education Today. 91, 1-9. DOI: 10.1016/j.nedt.2020.104465

Rubin, D. (1993). A Practical Approach to Teaching Reading. New York: A Simon and Schuster.

Segundo, R., et al. (2020). Promoting Children’s Creative Thinking through Reading and Writing in a Cooperative Learning Classroom. Thinking Skills and Creativity. 36, 107-115. DOI: 10.1016/j.tsc.2020.100663

Slavin, R. E. (1995). Cooperative Learning Theory, Research, and Practice, 2nd ed. Boston: Allyn and Bacon.

Tadesse, T., et al. (2020). Shifting the Instructional Paradigm in Higher Education Classrooms in Ethiopia: What Happens When We Use Cooperative Learning Pedagogies More Seriously. International Journal of Educational Research. 99, 1-12. DOI: 10.1016/j.ijer.2019.101509

Zhanga, J. and Chen, B. (2020). The Effect of Cooperative Learning on Critical Thinking of Nursing Students in Clinical Practicum: A Quasi-experimental Study. Journal of Professional Nursing. 29, 106-110. DOI: 10.1016/j.profnurs.2020.05.008

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-23