โทษประหารชีวิต: ใครมีสิทธิ์ ชีวิตเป็นของใคร
คำสำคัญ:
โทษประหารชีวิต, การลงโทษ, ชีวิตบทคัดย่อ
บทลงโทษทางอาญาขั้นสูงสุดที่มีใช้มาตั้งแต่ยุคโบราณจนถึงปัจจุบัน คือ โทษประหารชีวิต เป็นการทำลายล้างชีวิตของผู้กระทำความผิด จึงสวนทางกับหลักสิทธิมนุษยชนและหลักศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่ว่า มนุษย์ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะมีชีวิตอยู่และมีการเรียกร้องให้ยกเลิกโทษชนิดนี้ ถ้าพิจารณาทางด้านอาชญาวิทยาว่าด้วยการลงโทษผู้กระทำผิดอาญา การลงโทษประหารชีวิตถือเป็นการแก้แค้นทดแทนและเป็นการตัดโอกาสการกระทำความผิดในครั้งต่อไป
บทความนี้มีวัตถุประสงค์มุ่งเน้นพิจารณาข้อโต้แย้งทางจริยศาสตร์ เรื่องโทษประหารชีวิต ด้วยการนำเสนอเหตุผลทั้งฝ่ายสนับสนุนและฝ่ายคัดค้าน ตามทฤษฎีจริยศาสตร์ตะวันตกที่สำคัญ 2 แนวคิด มาพิจารณาปัญหาในแง่จริยศาสตร์ระหว่างฝ่ายที่สนับสนุนโทษประหารชีวิตที่เชื่อว่า โทษประหารชีวิตเป็นเครื่องมือที่จำเป็นของกระบวนการยุติธรรมและการป้องกันอาชญากรรม สามารถยับยั้งอาชญากรรมได้มากกว่าโทษจำคุก โดยใช้จริยศาสตร์แนวประโยชน์นิยมของจอห์น สจ๊วต มิลล์ ส่วนฝ่ายคัดค้านยึดจริยศาสตร์สัมบูรณ์นิยมของอิมมานูเอล ค้านท์ ที่แย้งว่า มนุษย์ทุกคนมีศักดิ์ศรี การประหารชีวิตเป็นเรื่องไร้มนุษยธรรม การทำลายชีวิตผิดทุกกรณี แม้จะก่อให้เกิดประโยชน์เพียงใดก็ตาม ขณะเดียวกันพุทธจริยศาสตร์ในฐานะที่เป็นแนวคิดรากฐานความประพฤติของคนในสังคมไทย มีท่าทีและเจตคติในการพิจารณาที่น่าสนใจเพื่อเปรียบเทียบเป็นเกณฑ์ตัดสินด้วยเช่นกัน องค์ความรู้ใหม่ คือ การได้แนวคิดที่ว่า โทษประหารชีวิตไม่ขัดกับแนวทางของพระพุทธศาสนา โดยเฉพาะในของเรื่องศีล 5 ที่เป็นหลักการค้ำจุนความยุติธรรมที่มีเหตุผล ภายใต้เงื่อนไขเรื่องกฎแห่งกรรม
References
ชนินันท์ ศรีธีระวิศาล. (2523). การลงโทษประหารชีวิต. วิทยานิพนธ์ปริญญานิติศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชาญชัย แสวงศักดิ์ และวรรณชัย บุญบำรุง. (2543). สาระน่ารู้เกี่ยวกับการจัดทำประมวลกฎหมายของต่างประเทศและของไทย. กรุงเทพมหานคร: นิติธรรม.
ดวงดาว กีรติกานนท์. (2552). โทษประหารชีวิต. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ. 8 (1), 83-88.
บริษัท LAWPHIN. (ม.ป.ป.). ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18. สืบค้นเมื่อ 24 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://www.lawphin.com/detail/law/penal_code-18
ประเทือง ธนิยผล. (2544). อาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2552). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงและขยายความ, พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ภาคภูมิ วาณิชกะ. (2561). ความแค้นและการเริ่มต้นใหม่: สภาวะของเหยื่อในความคิดเกี่ยวกับโทษประหารชีวิตของฌาคส์ แดริดา. การประชุมใหญ่ทางวิชาการครั้งที่ 22 ของสมาคมปรัชญาและศาสนาแห่งประเทศไทย. อาคารมหาจักรีสิรินธร คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. วันที่ 20 ธันวาคม. หน้า 7-9.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 22. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 22, 24, 25. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วันชัย ศรีนวลนัด. (2557). โทษประหารชีวิตในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการสิทธมนุษยชนแห่งชาติ.
วันรัก สุวรรณวัฒนา. (2553). วิวาทะโทษประหารชีวิตในฝรั่งเศษ ว่าด้วยเรื่องกิโยติน (Reflexions sur la guillotine) ของอัลแบร์ กามูส์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ศรีสมบัติ โชคประจักษ์ชัด และคณะ. (2557). บทสรุปทางวิชาการ เรื่องแนวทางความเป็นไปได้ของการเปลี่ยนแปลงโทษประหารชีวิตในสังคมไทยตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล.
ศิริประภา รัตตัญญู. (2550). กระบวนการสู่การกระทำผิดในคดีฆาตรกรรมของนักโทษประหาร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สมยศ เชื้อไทย. (2552). นิติปรัชญา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน. (2548). โทษประหารชีวิตในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: มาสเตอร์เพรส.
สุพจน์ สุโรจน์. (2550). ทฤษฎีการลงโทษและแบบของการลงโทษ หน่วยที่ 13. ใน ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์ และคณะ. เอกสารการสอนชุดวิชาอาชญาวิทยาและทัณฑวิทยา หน่วยที่ 8-15. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
เหมือนมาด มุกประดิษฐ์. (2561). เข้าใจโทษประหาร ผ่านแนวคิดเรื่องโชคทางจริยธรรม (Moral Luck) และเรื่องความยุติธรรมเชิงชดใช้ (Retributive Justice). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อดิศักดิ์ นุชมี. (2561). การยกเลิกอาญาประหารชีวิตกับแนวคิดอิสลาม. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 13 (2), 53-67.
อุททิศ แสนโกศิก. (2525). กฎหมายอาญา ภาค 1. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์บริการเอกสารและวิชาการ กองวิชาการ กรมอัยการ.
อุทัย กมลศิลป์. (2561). การศึกษาวิเคราะห์แนวคิดพุทธจริยศาสตร์กับการลงโทษประหารชีวิต. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.