การพัฒนาสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวในชุมชน: กรณีศึกษา อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

ผู้แต่ง

  • เดชา ตาละนึก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • สำราญ ขันสำโรง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • วิสุทธิชัย ไชยสิทธิ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • ปั่น อะทะเทพ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • พระครูใบฏีกาทิพย์พนากรณ์ ชยาภินนฺโท มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

สื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง, การสื่อสารภาษาอังกฤษ, ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวในชุมชน

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสร้างสื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเองสำหรับผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวในชุมชน 2) เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของชุมชนผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวในชุมชน 3) เพื่อประเมินผลการใช้สื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเองของผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวในชุมชน เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวในชุมชน อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 30 คน โดยใช้วิธีสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับการสื่อสารภาษาอังกฤษ 2) ชุดสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเอง 3) แบบทดสอบความรู้ก่อนและหลังเรียนชุดสื่อการเรียนรู้ และ 4) แบบประเมินความคิดเห็นของกลุ่มตัวอย่างที่มีต่อชุดสื่อการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที (T-test)

          ผลการวิจัย พบว่า 1) ชุดสื่อการเรียนรู้ภาษาอังกฤษด้วยตนเองได้ออกแบบตามความต้องการในการประกอบอาชีพของผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวในชุมชน มีค่าความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา (IOC) อยู่ที่ 0.89 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.79 2) ผลการทดสอบความรู้ก่อนและหลังเรียนด้วยการใช้สื่อการเรีนรู้ด้วยตนเอง พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน เมื่อทดสอบสมมติฐานด้วยการทดสอบค่าที มีค่าเท่ากับ 24.20 แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 และ 3) ผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวในชุมชนส่วนใหญ่มีความคิดเห็นต่อชุดสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองอยู่ในระดับดี (gif.latex?\bar{X}=4.40) องค์ความรู้จากการวิจัย คือ 1. การสร้างชุดสื่อการเรียนรู้ด้วยตนเองเพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับผู้ประกอบการธุรกิจท่องเที่ยวในชุมชน เป็นสื่อที่ออกแบบตรงกับความต้องการของกลุ่มตัวอย่างและสามารถนำไปใช้ได้จริงในชีวิตประจำวัน 2. ชุดสื่อมีหน่วยการเรียนที่ได้รับการออกแบบจากการศึกษาบริบทชุมชนเฉพาะ ทำให้กลุ่มตัวอย่างเรียนรู้ได้เร็ว มีประสิทธิภาพและสามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง 3. กลุ่มตัวอย่างได้รับการพัฒนาในด้านที่ตรงกับความต้องการของตนเอง

References

ทิศนา แขมมณี. (2545). กระบวนการเรียนรู้ความหมายแนวทางการพัฒนาและปัญหาข้องใจ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพัฒนาคุณภาพวิชาการ.

ประชาชาติธุรกิจ. (4 มกราคม 2562). วิภาวัลย์ วรพุฒิพงค์ มองเศรษฐกิจเชียงใหม่ปี 2562. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2562, จาก https://www.prachachat.net/local-economy/news-273732

ปรียาพร วงศ์อนุตรโรจน์. (2543). จิตวิทยาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ส่งเสริมกรุงเทพ.

ปวันรัตน์ นิกรกิตติโกศล. (2559). การพัฒนานวัตกรรมการสื่อสารภาษาอังกฤษสำหรับผู้ประกอบร้านขายของที่ระลึก ร้านอาหารและเครื่องดื่มที่เกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารสมาคมนักวิจัย. 21 (2), 110-122.

ยุพาภรณ์ พิริยศิลป์. (2557). ความต้องการทางด้านภาษาอังกฤษของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวในเขตจังหวัดขอนแก่น. วารสารการบริการและการท่องเที่ยวไทย. 9 (2), 16-30.

ลลิดา ภู่ทอง. (2553). การศึกษาสื่อสารภาษาอังกฤษของผู้นำและสมาชิกชุมชนที่เกี่ยวข้องกับการท่องเที่ยวชุมชนในเขตจังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

วราพร พูลเกษ และคณะ. (2555). การพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษของชุมชนหมู่บ้านโฮมสเตย์เพื่อเพิ่มศักยภาพการท่องเที่ยว: กรณีศึกษาบ้านโคกโก่ง ตำบลกุดหว้า อำเภอกุจฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2554). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (พ.ศ.2555-2559). กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.

สุนิดา ปานดำรงสถิต. (2556). ความต้องการใช้ภาษาอังกฤษของบุคลากรในสถานประกอบการธุรกิจโรงแรม จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. 5 (1), 29-38.

สุเมธ แย้มนุ่น. (2552). รูปแบบการจัดการศึกษาเพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจ. วารสารสหกิจศึกษาไทย. 1 (1), 11-18.

อัญชลี อติแพทย์. (2553). รูปแบบการเรียนรู้ด้วยตนเองในการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ในพื้นที่ตำบลท่าคา อำเภออัมพวา จังหวัดสมุทรสงคราม. รายงานวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

Hutchinson, T. and Waters, A. (1989), English for Specific Purpose: A Learning-centered Approach. New York: Cambridge University Press.

Nunan, D. (1999). Second Language Teaching & Learning. Boston: Heinle & Heinle Publishers.

JSBS

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-10-28