วัฒนธรรมทางการเมืองแบบพลเมืองที่ประชาชนคาดหวังในสังคมประชาธิปไตยของไทย

ผู้แต่ง

  • วินิจ ผาเจริญ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คำสำคัญ:

วัฒนธรรมทางการเมืองแบบพลเมือง, พลเมืองที่ดี, สังคมประชาธิปไตย

บทคัดย่อ

           บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อแสดงให้เห็นถึงแนวคิดทฤษฎีวัฒนธรรมทางการเมืองและการปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมทางการเมืองแบบไพร่ฟ้าที่ฝังลึกอยู่ในสังคมไทยด้วยระบบอุปถัมภ์แบบพึ่งพาและอำนาจนิยมไปสู่วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยหรือแบบพลเมือง ที่สามารถทำได้โดยผ่านกระบวนการปลูกฝัง กล่อมเกลา บ่มเพาะทางการเมือง ซึ่งมีสื่อกลางที่ทำหน้าที่นี้อยู่มาก แต่สื่อกลางที่ผู้เขียนให้ความสำคัญ คือ สถาบันครอบครัว สถาบันการศึกษาและสื่อสารมวลชน ฯลฯ ซึ่งมีบทบาทสำคัญในท่ามกลางสังคมโลกยุคข้อมูลข่าวสารอันไร้พรมแดน วัฒนธรรมทางการเมืองในสังคมประชาธิปไตยที่ประชาชนคาดหวัง คือ มีการเคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เคารพสิทธิเสรีภาพและกฎกติกาของสังคม รู้จักหน้าที่บทบาทของตัวเอง มีความรับผิดชอบต่อสังคม วิพากษ์วิจารณ์อย่างมีเหตุผล เคารพความคิดเห็นที่แตกต่าง มีการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐและมีส่วนร่วมทางการเมือง บทความนี้อาจเป็นหนึ่งช่องทางที่สามารถจุดประกายหรือบ่มเพาะหล่อหลอมพลเมืองที่ดีขึ้นในสังคมประชาธิปไตยของไทยต่อไป สำหรับองค์ความรู้ใหม่ คือ การพัฒนาวัฒนธรรมทางการเมืองที่ต้องเริ่มจากสถาบันภายใน คือ การปลูกฝังและการเป็นตัวอย่างที่ดีจากสถาบันครอบครัว จากนั้น ก้าวไปสู่การเรียนรู้ แสวงหาประสบการณ์จากสังคมภายนอกในสถาบันการศึกษาและถ่ายทอด สื่อสารความเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริงผ่านทางสถาบันสื่อสารมวลชน ทั้งสามสถาบันนี้จึงเป็นระบบที่เชื่อมสัมพันธ์ให้คนรุ่นใหม่ได้เรียนรู้และมีส่วนร่วมทางการเมืองตามที่สังคมคาดหวังไว้อย่างแท้จริง 

References

ชัยอนันต์ สมุทวณิช. (2554). รัฐกับสังคม: ไตรลักษณรัฐไทยในพหุสังคมสยาม, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สถาบันนโยบายศึกษา.

ฌานิทธิ์ สันตะพันธุ์. (8 กรกฎาคม 2550). วัฒนธรรมทางการเมืองแบบพลเมือง: แนวทางการสร้างสังคมประชาธิปไตย. สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2563, จาก http://www.public-law.net/publaw/view.aspx?id=1117

พงษ์สนิท คุณนะลา. (2563). บทบาทพลเมืองภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดลำพูน. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ. 5 (1), 85-99.

พรอัมรินทร์ พรหมเกิด. (2558). วัฒนธรรมทางการเมืองของประชาชนกับการพัฒนาประชาธิปไตย. รัฐสภาสาร. 63 (11), 9-33.

วิวัฒน์ เอี่ยมไพรวัน. (2549). วิเคราะห์เปรียบเทียบระบบการเมืองแบบประชาธิปไตย แบบเผด็จการเบ็ดเสร็จนิยมและแบบเผด็จการอำนาจนิยม. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาระบบการเมืองเปรียบเทียบ เล่มที่ 2 หน่วยที่ 8, พิมพ์ครั้งที่ 17. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วิศาล ศรีมหาวโร. (2554). การเมืองไทยระบบหรือคน: การพัฒนาวัฒนธรรมและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน. วารสารสถาบันพระปกเกล้า. 9 (3). สืบค้นเมื่อ 28 มีนาคม 2563, จาก http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=การเมืองไทยระบบหรือคน_%3A_การพัฒนาวัฒนธรรมและการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน

ศรายุทธ นกใหญ่. (2558). วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของบุคลากรวิทยาลัยเทคโนโลยีทางการแพทย์และสาธารณสุข กาญจนาภิเษก. การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สัญญา สะสอง และคณะ. (2563). การจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมผ่านการมีส่วนร่วมของกลุ่มชาติพันธุ์ไทใหญ่ หมู่บ้านแพมบก อำเภอปาย จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์. 3 (1), 35-46.

สุขุม นวลสกุล และคณะ. (2550). การเมืองและการปกครองไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุรวุฒิ ปัดไธสง. (2542). การเรียนรู้เพื่อความเป็นพลเมือง: รากแก้วของกระบวนการสร้างประชาสังคม, ในขบวนการประชาสังคมไทย: ความเคลื่อนไหวภาคพลเมือง. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2556). วัฒนธรรมทางการเมือง. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2559). วัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

อภินันท์ ทะสุนทร และกมลวิช ลอยมา. (2559). วัฒนธรรมพลเมืองของสังคมไทยในระบอบประชาธิปไตย. การประชุมวิชาการ สถาบันพระปกเกล้า ครั้งที่ 18 ประจำปี 2559 “เติมชีวิต คืนชีวาประชาธิปไตย” (Revitalizing Thai Democracy). ศูนย์ประชุมสหประชาชาติ กรุงเทพมหานคร. วันที่ 4-6 พฤศจิกายน.

Klaykaew, K. K. (2014). The Role of Families in the Fostering and Development of Children becoming Good Citizens in a Democratic Society. Journal of Behavioral Science. 20 (1), 1-18.

Pye, L. W. (1966). Aspects of Political Development: An Analytic Study. Boston: Little Brown and Company.

Thamrongthanyawong, S. (1999). Political: Concept and Development. Bangkok: Sema Dharma Publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-08-01