บทบาทและหน้าที่ของพระธรรมทูตจากอดีตสู่ปัจจุบัน

ผู้แต่ง

  • พระมหาศิวกร ปญฺญาวชิโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • พระครูใบฎีกาเฉลิมพล อริยวํโส มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • พระสุกฤษฏิ์ ปิยสีโล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

คำสำคัญ:

บทบาท, หน้าที่, พระธรรมทูต, สมณทูต, ศาสนทูต

บทคัดย่อ

          พระธรรมทูตมีบทบาทและหน้าที่สำคัญในการเผยแผ่หลักธรรม เป็นผู้นำในการฟื้นฟูพระพุทธศาสนา พร้อมทั้งเป็นผู้ส่งเสริมการเรียนรู้และสร้างความสามัคคีให้แก่ชุมชนด้วยการนำหลักคำสอนทางพระพุทธศาสนามาเป็นแกนกลางในการพัฒนา มีบทบาทและหน้าที่ในฐานะเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้าในการทำงานด้านพระพุทธศาสนาเพื่อสังคมทั้งในประเทศและต่างประเทศ ดังนั้น หน้าที่การเผยแผ่งานด้านพระพุทธศาสนาของพระธรรมทูตจึงต้องยึดหลักปฏิบัติตามแนวทางของพระธรรมทูตต้นแบบ ตั้งแต่ครั้งสมัยพุทธกาลและหลังพุทธกาลที่จำแนกเป็น 9 สายในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช กระทั่งพัฒนาเป็นแม่กองงานพระธรรมทูต 9 สาย ที่เน้นการทำงานใน 6 ด้าน ที่เรียกว่า การบริหารกิจการคณะสงฆ์ไทย นอกจากนี้ ยังต้องประยุกต์เทคโนโลยีอันทันสมัยในปัจจุบันมาใช้เพื่อการสืบต่ออายุพระพุทธศาสนาให้ยืนยาวและเป็นประโยชน์เกื้อกูลและความสุขแก่ชาวโลกตามกำลังความสามารถ โดยไม่ทิ้งหลักการ คือ พระธรรมวินัย องค์ความรู้ใหม่ คือ 1) การยึดหลักการดั้งเดิมในสมัยพุทธกาลและสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช 2) การพัฒนารูปแบบองค์กรการทำงานที่เรียกว่า แม่กองงานพระธรรมทูตที่สอดคล้องกับสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช 3) การบริหารกิจการคณะสงฆ์ 6 ด้าน ซึ่งเป็นกรอบทำงานของพระธรรมทูตภายใต้แนวคิดพระราชบัญญัติคณะสงฆ์

References

โกศล วงศ์สวรรค์ และคณะ. (2537). ปัญหาสังคม. กรุงเทพมหานคร: อมรการพิมพ์.

พระธรรมกิตติวงศ์ (ทองดี สุรเตโช). (2551). พจนานุกรมเพื่อการศึกษาพุทธศาสน์: คำวัด: อธิบายศัพท์และความหมายที่ชาวพุทธควรรู้. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบันลือธรรม.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). งานพระธรรมทูตในพระธรรมทูตในต่างประเทศ, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2552). กาลานุกรม. กรุงเทพมหานคร: ผลิธัมม์.

พระมหาดาวสยาม วชิรปญฺโญ. (2557). ประวัติพระพุทธศาสนาในอินเดีย, พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: เอกพิมพ์ไท.

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2484. (14 ตุลาคม 2484). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 58. หน้า 1391-1410.

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535. (4 มีนาคม 2535). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 109 ตอนที่ 16. หน้า 5-11.

พระราชวรมุนี (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2543). บุญเป็นที่สุดแห่งการสร้างสรรค์ชีวิต. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภาและบันลือธรรม.

พระวิสุทธิภัทรธาดา (ประสิทธิ์ พรหฺมรํสี). (2547). พระราชบัญญัติคณะสงฆ์และกฎมหาเถรสมาคม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พิสิฏฐ์ โคตรสุโพธิ์. (2543). รูปแบบการจัดการศึกษาและการเผยแผ่ศาสนธรรมกรณีศึกษา: วัดศรีโสดา ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 4. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2543). รายงานสัมมนาโครงการฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศอินเดีย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เสถียร โพธินันทะ. (2537). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา ฉบับมุขปาฐะ ภาค 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-02-23