การพัฒนาเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์ประเพณีท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • ญาณกร เขตศิริสุข คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด

คำสำคัญ:

การพัฒนาเว็บไซต์, ข้อมูลเว็บไซต์, ประเพณีท้องถิ่นร้อยเอ็ด

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) การพัฒนาเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์ประเพณีท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด 2) เพื่อวิเคราะห์คุณภาพของเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์ประเพณีท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ดจากผู้เชี่ยวชาญ และ 3) เพื่อวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้ใช้งานที่มีต่อเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์ประเพณีท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด เป็นงานวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินคุณภาพและแบบสอบถามความพึงพอใจ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยว จำนวน 100 คน โดยเลือกแบบบังเอิญ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการเปรียบเทียบค่าสถิติที

          ผลการวิจัย พบว่า 1) เว็บไซต์ประชาสัมพันธ์ประเพณีท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ดที่พัฒนาขึ้นสามารถใช้งานได้จริง คิดเป็นร้อยละ 100 2) การวิเคราะห์คุณภาพเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์ประเพณีท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ดที่พัฒนาขึ้นโดยภาพรวมจากผู้เชี่ยวชาญมีประสิทธิภาพอยู่ในระดับเหมาะสมมากที่สุด (gif.latex?\bar{X}=4.51; S.D.=0.73) และ 3) การวิเคราะห์ความพึงพอใจการพัฒนาเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์ประเพณีท้องถิ่นจังหวัดร้อยเอ็ด โดยรวมอยู่ในระดับมาก (gif.latex?\bar{X}=4.26; S.D.=0.64) องค์ความรู้ใหม่ที่ได้ คือ การสร้างเว็บไซต์ที่ตอบสนองกับโมบายเว็บไซต์และโมบายแอป และเป็นสื่อกลางในการประชาสัมพันธ์ที่ใช้สำหรับการติดต่อกับประชาชนที่ทันสมัย สะดวก ง่ายและรวดเร็ว

References

กิตติมา เจริญหิรัญ. (2550). การวิเคราะห์และออกแบบระบบ. กรุงเทพมหานคร: ท้อป.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2555). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS, พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพมหานคร: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี (หสม.).

นิธิ เอียวศรีวงศ์. (2534). ความหลากหลายของวัฒนธรรมไทย: การท้าทายใหม่. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ.

พิมพ์ชนก สุวรรณศรี. (2561). การพัฒนาเว็บไซต์นำเสนอภูมิปัญญาล้านนาเชิงหัตถกรรมในพื้นที่ชุมชนวัดศรีสุพรรณ (วัวลาย) อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี. 12 (29), 87-95.

ศศิธร โคตรดก. (2557). การพัฒนาเว็บไซต์เสมือนอุทยานแห่งชาติผาแต้มของจังหวัดอุบลราชธานี. วารสารวิจัยและพัฒนา วไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์. 9 (1), 64-70.

อำไพ ยงกุลวณิช. (2561). การพัฒนาเว็บไซต์ประชาสัมพันธ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านการแกะสลักเทียนพรรษาแบบมีส่วนร่วมของวัดมหาวนาราม จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 7 (14), 1-11.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-01-07