การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการเรียนของนักศึกษา สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน จังหวัดขอนแก่น
คำสำคัญ:
ธรรมประยุกต์, อิทธิบาท 4, มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน, สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาการนำหลักอิทธิบาท 4 มาประยุกต์ใช้ในการเรียนของนักศึกษา สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ และ 2) เพื่อศึกษาแนวทางในการปรับปรุงการเรียนการสอนตามหลักอิทธิบาท 4 การวิจัยนี้เป็นเชิงสำรวจ คณะผู้วิจัยได้เก็บข้อมูลจากนักศึกษาสาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตอีสาน ภาคปกติ ทั้งฝ่ายบรรพชิตและคฤหัสถ์ชั้นปีที่ 1-4 จำนวน 140 รูป/คน โดยใช้แบบสอบถามและวิเคราะห์ประมวลผลโดยใช้สถิตแบบพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า 1) การนำหลักอิทธิบาท 4 มาประยุกต์ใช้ในการศึกษาของนักศึกษาสาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก (=3.57) 2) การศึกษาแนวทางในการปรับปรุงการเรียนการสอนตามหลักอิทธิบาท 4 เพื่อพัฒนาศักยภาพของนักศึกษาสาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ พบว่า (1) ด้านฉันทะ ควรปรับการเรียนสอนให้สอดคล้องกับคำอธิบายรายวิชาและความต้องการโดยรวมของนักศึกษาเพื่อเป็นการกระตุ้นการเรียนรู้ในสาขาวิชาที่เรียน (2) ด้านวิริยะ ควรส่งเสริมให้มีกิจกรรมเสริมในการเรียนเพื่อเป็นการส่งเสริมให้นักศึกษามีความพยายามที่จะเรียนรู้ (3) ด้านจิตตะ ควรมีการทดสอบหลังบทเรียนทุกครั้งเพื่อทดสอบการเอาใจใส่และความตั้งใจในการศึกษาในแต่ละรายวิชา (4) ด้านวิมังสา ควรส่งเสริมให้นักศึกษาได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับการเรียนการสอนเพื่อปรับปรุงการเรียนการสอนที่มีความเหมาะสม
References
ณิชาภัทร เงินจัตุรัส. (2555). การประยุกต์หลักอิทธิบาท 4 ใช้ในการจัดการเรียนรู้ของนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 4–6 โรงเรียนวรรณรัตน์ศึกษา อําเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
นิรมล สุวรรณโคตร. (2553). การปรับตัวของนิสิตระดับปริญญาตรี ชั้นปีที่ 1 มหาวิทยาลัยนเรศวร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
ผอบทอง สุจินพรัหม. (2559). การนำหลักธรรมอิทธิบาท 4 มาใช้ในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา ตามทรรศนะของบุคลากรในโรงเรียนมัธยมศึกษาขนาดใหญ่พิเศษ จังหวัดศรีสะเกษ สังกัดสานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขต ร้อยเอ็ด. 5 (2), 102-111.
พระมหาบรรจง ติสรโณ (ศรีสุข). (2560). ศึกษาการประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาทธรรม 4 ในการจัดการเรียนการสอน ของโรงเรียนปริยัติคุณรสวิทยา อำเภอเมืองสุรินทร์ จังหวัดสุรินทร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาพรรณเชษฐ์ เขมโก (พิมพ์ปัด). (2554). การบริหารบุคลากรตามหลักอิทธิบาท 4 โรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอบางกรวย จังหวัดนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระสุนันท์ กิตฺติสทฺโท. (2551). การประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในการทำงานศึกษากรณีผู้ทำเครื่องปั้นดินเผาด่านเกวียน จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 11, 21. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ลักขณา สิริวัฒน์. (2559). การประยุกต์ใช้อิทธิบาท 4 ในการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของครูระดับประถมศึกษา. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 10 (2), 163-170.
สถิต รัชปัตย์. (2554). การประยุกต์หลักอิทธิบาท 4 ในการศึกษาของนักศึกษาคฤหัสถ์มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
สมพร อินทรพาเพียร. (2560). การปรับใช้หลักอิทธิบาท 4 ในการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสันป่าตองวิทยาคม จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
สุพันธ์ แสนสี. (2558). การประยุกต์ใช้หลักอิทธิบาท 4 เพื่อสงเสริมประสิทธิภาพการบริหารจัดการโรงเรียนกีฬา จังหวัดขอนแก่น ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
หลักสูตรสังคมสงเคราะห์ศาสตรบัณทิต. (2559). สาขาวิชาสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2559 คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์.
อรวิภา จรูญจารุวัฒนา และคณะ. (2559). การบูรณาการหลักอิทธิบาท 4 กับการเรียนการสอนของศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย ตำบลหายยา อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตวิจัย. 7 (2), 183-194.