การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน: แนวคิด หลักการและการส่งเสริม
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วมทางการเมือง, การเมืองภาคประชาชน, แนวคิดทางการเมืองบทคัดย่อ
บทความนี้ได้ศึกษาแนวคิด หลักการและการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนที่ถือว่า เป็นการกระจายอำนาจให้ประชาชนในการปกครองหรือการบริหาร รวมถึงการตัดสินใจในการแก้ไขปัญหาในชุมชนเพื่อจัดสรรทรัพยากรในชุมชนให้เกิดประโยชน์สูงสุด การมีส่วนร่วมทางการเมืองมีลักษณะเป็นกระบวนการที่ต้องอาศัยข้อมูล การแสดงความคิดเห็น การให้คำแนะนำปรึกษา การร่วมวางแผนและการร่วมดำเนินการ รวมถึงการควบคุมโดยตรงจากประชาชน การมีส่วนร่วมทางการเมืองจึงเป็นกลไกสำคัญเสมือนหัวใจในระบอบประชาธิปไตย เพราะก่อให้เกิดประโยชน์ในหลายด้าน เช่น การสร้างคุณภาพในการตัดสินใจที่ดีขึ้น การสร้างฉันทามติ การนำไปปฏิบัติที่ง่ายขึ้น การหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าที่เลวร้าย การรักษาความน่าเชื่อถือและความชอบธรรม การพัฒนาภาคประชาสังคมของสาธารณชน สำหรับหลักการมีส่วนร่วม เช่น กรณีที่ 1 การกระทำเพื่อสนับสนุนหรือเรียกร้องกับผู้นำของรัฐบาล กรณีที่ 2 ความพยายามที่จะสร้างผลกระทบต่อการดำเนินการของรัฐบาลหรือการเลือกผู้นำรัฐบาล กรณีที่ 3 การกระทำของพลเมืองของรัฐตามที่กฎหมายกำหนด ส่วนระดับขั้นของการมีส่วนร่วมสามารถแยกได้ ดังนี้ 1) ระดับการให้ข้อมูล 2) ระดับการเปิดรับความคิดเห็นจากประชาชน 3) ระดับการปรึกษาหารือ 4) ระดับการวางแผนร่วมกัน 5) ระดับการร่วมปฏิบัติ 6) ระดับการควบคุมโดยประชาชน สำหรับแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองสามารถดำเนินการผ่านทางด้านต่าง ๆ เช่น ด้านระบบการศึกษา ด้านสื่อมวลชน ด้านรัฐบาลโดยตรง
References
กลุ่มงานผลิตเอกสาร สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2561). การมีส่วนร่วมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
คะนึงนิจ ศรีบัวเอี่ยม และคณะ. (2545). แนวทางการเสริมสร้างประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วมตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540: ปัญหา อุปสรรคและทางออก. กรุงเทพมหานคร: ธรรมดาเพลส.
เจมส์ แอล เครย์ตัน. (2551). วันชัย วัฒนศัพท์ และคณะ, แปล. คู่มือการมีส่วนร่วมของประชาชน การตัดสินใจที่ดีกว่าโดยให้ชุมชนมีส่วนร่วม. ขอนแก่น: โรงพิมพ์ศิริภัณฑ์ ออฟเซ็ท.
ชุติมันต์ สะสอง เเละคณะ. (2563). การพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวเชิงนิเวศผ่านการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียชุมชนบ้านป่าเหมี้ยง ตำบลแจ้ซ้อน อำเภแอเมืองปาน จังหวัดลำปาง. วารสารวิชาการวิทยาลัยบริหารศาสตร์. 3 (1), 75-86.
ถวิลวดี บุรีกุล. (2552). พลวัตการมีส่วนร่วมของประชาชน: จากอดีตจนถึงรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. กรุงเทพมหานคร: เอ.พี.กราฟิค ดีไซน์และการพิมพ์.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ และถวิลวดี บุรีกุล. (2548). ประชาธิปไตยแบบมีส่วนร่วม Participatory Democracy. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.
บุญทัน ดอกไธสง. (2552). ประชาธิปไตยรากหญ้า. กรุงเทพมหานคร: ปัญญาชน.
ปานระพี. (24 พฤษภาคม 2560). เผยสถิติโซเชียลไทยใน Thailand Zocial Awards 2017 ผู้ใช้ twitter เติบโตก้าวกระโดด. สืบค้นเมื่อ 10 เมษายน 2561, จาก https://www.it24hrs.com/2017/thailand-zocial-awards-stat-social-media-2017
มงคลเลิศ ด่านธานินทร์. (2551). หลักคิดชาตินิยมและมรดกทางวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาสังคมทันสมัย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิถีทรรศน์.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. (11 ตุลาคม 2540). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 114 ตอนที่ 55 ก. หน้า 1-99.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550. (24 สิงหาคม 2550). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 124 ตอนที่ 47 ก. หน้า 1-127.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. (6 เมษายน 2560). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก. หน้า 1-90.
วัชรา ไชยสาร. (2545). การมีส่วนร่วมในทางการเมืองกับการเมืองภาคประชาชน. รัฐสภาสาร. 53 (5), 44-100.
วินิจ ผาเจริญ. (2562). การมีส่วนร่วมของชาวบ้านในการจัดการพื้นที่ป่าบ้านห้วยฮี้ ตำบลห้วยปูลิง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ. 4 (2), 137-150.
สถาบันพระปกเกล้า. (2545). การกระจายอำนาจและการปกครองท้องถิ่นในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: ธรรมดาเพรส.
สุวปรียา จันต๊ะ. (2562). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในพื้นที่เทศบาลเมืองแม่เหียะ จังหวัดเชียงใหม่. วารสารบัณฑิตแสงโคมคำ. 4 (1), 16-29.
สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง. (6 พฤศจิกายน 2560). บันทึกข้อตกลงว่าด้วยความร่วมมือทางวิชาการระหว่างสำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งกับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. สืบค้นเมื่อ 15 เมษายน 2561, จาก https://www.ect.go.th/ect_th/news_all.php?cid=116
Easton, D. (1971). The Political System: An Inquiry into the State of Political Science, 2nd ed. New York: Knopf.