รูปแบบการประยุกต์ใช้พุทธเศรษฐศาสตร์ในชุมชนต้นแบบในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • พระปลัดระพิน พุทฺธิสาโร คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

รูปแบบการประยุกต์ใช้, พุทธเศรษฐศาสตร์, ชุมชนต้นแบบ

บทคัดย่อ

          บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาแนวทางและรูปแบบพุทธเศรษฐศาสตร์ในประเทศไทย (2) เพื่อศึกษาวิธีการและแนวทางในการประยุกต์ใช้พุทธเศรษฐศาสตร์ในชุมชนต้นแบบในประเทศไทย (3) เพื่อเสนอรูปแบบการประยุกต์ใช้พุทธเศรษฐศาสตร์ในชุมชนต้นแบบในประเทศไทย เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ  ศึกษาแนวคิดทฤษฎีจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งศึกษาจากชุมชนต้นแบบด้านการประยุกต์ใช้ในจังหวัดสุพรรณบุรีและจังหวัดลำปาง  

          ผลการวิจัย พบว่า 1) แนวทางและรูปแบบพุทธเศรษฐศาสตร์ในประเทศไทย มีพระพุทธศาสนาเป็นฐานราก แนวคิดทางพระพุทธศาสนาจึงได้รับการประยุกต์ ตีความและให้คำอธิบายร่วมกับพฤติกรรมทางเศรษฐศาสตร์ เป็นกลไกร่วมกับวิถีชุมชนดังปรากฏในชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง กลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ วิถีพอเพียงในชุมชน โดยมีพระสงฆ์ผู้เป็นผู้นำแนวคิดมาสู่สาธารณะ อาทิ พุทธทาสภิกขุ พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต) สำนักสันติอโศก 2) วิธีการและแนวทางในการประยุกต์ใช้พุทธเศรษฐศาสตร์ในชุมชนตัวอย่างในประเทศไทย โดยใช้หลักคิดทางศาสนาและใช้แนวทางบูรณาการด้านประเพณีจากชุมชนบ้านไผ่เง หมู่ที่ 1 ตำบลวังน้ำเย็นและชุมชนไผ่ล้ม หมู่ที่ 1 ตำบลโพธิ์ล้ม อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี (ภาคเหนือ) และบ้านแม่กวัก หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านอ้อน อำเภองาว จังหวัดลำปาง ทั้งสองชุมชนเป็นกลุ่มตัวอย่างที่ประสบความสำเร็จในการประยุกต์ใช้หลักพุทธเศรษฐศาสตร์จัดการภายในชุมชนด้วยแนวคิดพอเพียง สมดุล ปัญญา สามัคคีและความสุข จนกระทั่งได้รับรางวัลหมู่บ้านอยู่ดีมีสุข ในระดับจังหวัด รับรางวัลพระราชทานจากสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง และ 3) รูปแบบการประยุกต์ใช้พุทธเศรษฐศาสตร์ในชุมชนต้นแบบในประเทศไทย มีการประยุกต์ด้วยหลักธรรมผ่านวิถีความเชื่อทางศาสนาและวิถีของการดำเนินชีวิต ซึ่งประยุกต์ด้วยการพาทำนำให้ดูผ่านรูปแบบของกิจกรรม ทั้งสองชุมชนมีวิถีของวัดและวิถีของศาสนาเป็นเครื่องกำหนด รูปแบบและแนวทางการประยุกต์จึงดำเนินไปภายใต้วิถีทางศาสนา วัด พระสงฆ์และรวมอยู่ในวิถีวัฒนธรรมภายในชุมชน 

References

กิ่งแก้ว บัวเพชร. (2552). การมีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชน: กรณีศึกษาชุมชนคีรีวง อำเภอลานสกา จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จรูญ รัตนกาล. (2556). การประยุกต์หลักพุทธธรรมและแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการอยู่ร่วมกันของประชาชนในเขตพื้นที่ตำบลสามบัณฑิต อำเภออุทัย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. รายงานการวิจัย. กองทุนสนับสนุนการวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา.

เจ้าอธิการเจริญ กิตฺติคุโณ. (2553). การบริหารจัดการกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์เชิงพุทธ ภายใต้หลักเศรษฐกิจพอเพียง วัดกรับพวงเหนือ ตำบลพรหมพิราม อำเภอพรหมพิราม จังหวัดพิษณุโลก. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ตีรณ พงศ์มฆพัฒน์. (2560). เศรษฐศาสตร์บนทางสายกลาง. นนทบุรี: โรงพิมพ์วัชรินทร์ พี.พี.

ธนาวุฒิ พิมพ์กิ และจันทนา ฤทธิ์สมบูรณ์. (2557). การประยุกต์ใช้แนวพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียงกับวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดจันทบุรี. วารสารวิจัย มสด. 10 (1), 1-21.

นวรัตน์ บุญภิละ. (2560).การน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน: กรณีบ้านถ่อนนาลับ หมู่ที่ 1 ตำบลถ่อนนาลับ อำเภอบ้านดุง จังหวัดอุดรธานี. วารสารมหาจุฬาวิชาการ. 4 (2), 66-75.

ประเวศ วะสี. (2559). พระพุทธศาสนาทุนอันยิ่งใหญ่เพื่อพัฒนาประเทศไทย. สมุทรปราการ: ออฟ เซ็ทพลัส.

ปัทมา โกเมนท์จำรัส. (2559).ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความรู้เกี่ยวกับแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงกับระดับการปฏิบัติเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง ของชุมชนตำบลสองคลอง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 10 (3), 84-98.

พระครูพิพัฒน์กิตติสุนทร (สมศักดิ์ หนูดุก). (2560). การประยุกต์ใช้พุทธปรัชญาและปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อสร้างพลังชุมชนให้เข้มแข็งในอำเภอนาทวี จังหวัดสงขลา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร. 8 (2), 81-92.

พระครูพิศาลธรรมรักขิต. (2554). การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมในการพึ่งตนเอง: กรณีศึกษากลุ่มสัจจะออมทรัพย์บ้านแม่ใส. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธนนันท์ ฐานุตฺตโร (ชัยชาติ). (2559). การบริหารตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารธรรมทัศน์. 16 (1), 1-13.

พิพัฒน์ ยอดพฤติการณ์. (2549). การใช้การสร้างตัวชี้วัดเพื่อวิเคราะห์เศรษฐกิจพอเพียง โดยเปรียบเทียบกับหลักพุทธศาสตร์. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มนูญ มุกข์ประดิษฐ์. (2545). มัชฌิมาปฎิปทาในพระไตรปิฎกกับทางสายกลางในแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ยุทธพงษ์ แสงโสดา. (2544). บทบาทพระสงฆ์กับการแก้ปัญหาสังคมไทย: ศึกษาเฉพาะกรณีกลุ่มสัจจะสะสมทรัพย์ จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษร ศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

ร้อยขวัญพุทธ มุ่งมาจน. (2556). องค์ความรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนบ้านดอนหมู ชุมชนบ้านตำแย ชุมชนราชธานีอโศกและชุมชนฝึกฝนเศรษฐกิจพอเพียง จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 4 (2), 104-130.

สมพิศ ปูนจัตุรัส และคณะ. (2561). ชุดการเรียนรู้ด้วยตนเองตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติของชุมชนบ้านเสากระโดง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ. 5 (2), 164-178.

สำราญ จูช่วย. (2557). วิถีชีวิตคนในชุมชนริมคลองบางกอกน้อยตอนบน จังหวัดนนทบุรีที่สอดคล้องกับแนวคิดปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง. วารสารปาริชาด มหาวิทยาลัยทักษิณ. 27 (3), 107-116.

สำราญ อิ่มจิตต์. (2547). เศรษฐปรัชญาในพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: ธนาเพรส.

สุกานดา กลิ่นขจร และขวัญกมล ดอนขวา. (2560). ประสิทธิภาพในการดำเนินงานของอุตสาหกรรมมันสำปะหลังโดยการประยุกต์ ใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารมหาวิทยาลัยนครพนม. 7 (2), 1-9.

เสาวนารถ เล็กเลอสินธุ์. (2560). ความรู้ความเข้าใจและการประยุกต์ใช้หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ตำบลบางใหญ่ อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี. 11 (25), 88-98.

อภิชัย พันธเสน. (2558). พุทธเศรษฐศาสตร์: วิวัฒนาการ ทฤษฎีและการประยุกต์กับเศรษฐศาสตร์สาขาต่าง ๆ, พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: อมรินท์พริ้นติ้งแอนด์พับลิซซิ่ง.

อภินันท์ ยอดมณี.(2546). การพึ่งตนเองของชุมชนไม้เรียง อำเภอฉวาง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

อุษณีย์ สุวรรณ์. (2558). บทบาทสตรีในการพัฒนาชุมชนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในชุมชนวัดสะพาน อำเภอเมือง จังหวัดชัยนาท. วารสารวิชาการ Veridian E Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ. 8 (2), 372-391.

Layard, R. (2005). Happiness: Lessons from a New Science. London: Penguin Books.

Rand, A. (1967). Capitalism: The Unknown Ideal. New York: Penguin Books.

Shand, A. H. (1990). Free Market Morality: The Political economy of the Austrian School. London: Routledge.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-21