การประเมินผลโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนจังหวัดอ่างทอง

ผู้แต่ง

  • ภัทรานิษฐ์ ไชยรังศรี หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม

คำสำคัญ:

การประเมินผลโครงการ, พระสอนศีลธรรมในโรงเรียน, การสอนศีลธรรม

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับการบริหารจัดการโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน จังหวัดอ่างทอง และ 2) เพื่อเปรียบเทียบการบริหารจัดการระดับการปฏิบัติตามโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนระหว่างพระสอนศีลธรรมกับนักเรียน ใช้วิธีการวิจัยแบบผสานวิธี ในการวิจัยเชิงปริมาณมี 2 กลุ่มตัวอย่าง คือ 1) กลุ่มตัวอย่างนักเรียนจำนวน  262 คน  และ  2) กลุ่มตัวอย่างพระสอนศีลธรรม จำนวน 95 รูป ใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นสุ่มเป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเบื้องต้นได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติสำหรับทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ t-test ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ โดยใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างกับพระสอนศีลธรรม จำนวน 5 รูป ผู้ปกครองนักเรียนที่ร่วมโครงการ จำนวน 5 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

          ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการบริหารจัดการโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน นักเรียนมีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( gif.latex?\bar{X}=2.71) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการบริหารโครงการ ( gif.latex?\bar{X}=2.90) รองลงมา คือ ด้านประโยชน์ที่รับ (gif.latex?\bar{X} =2.88) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ( gif.latex?\bar{X}=2.60) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด  คือ ด้านการปฏิบัติหน้าที่การสอน อยู่ในระดับน้อย ( gif.latex?\bar{X}=2.48) ส่วนพระสอนศีลธรรมมีความคิดเห็นโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( gif.latex?\bar{X}=3.40) โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการบริหารโครงการ ( gif.latex?\bar{X}=3.59) รองลงมา คือ ด้านประโยชน์ที่ได้รับ ( gif.latex?\bar{X}=3.38) ด้านการปฏิบัติหน้าที่การสอน ( gif.latex?\bar{X}=3.32) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ( gif.latex?\bar{X}=3.29) และผู้ให้ข้อมูลสำคัญโดยภาพรวมนั้น ครูพระสอนศีลธรรมควรมีศักยภาพในการสอนและพัฒนาการสอนปรับเปลี่ยนปรุงแต่งให้เด็กนักเรียนเข้าใจมากขึ้น และ 2) ผลการเปรียบเทียบระดับการปฏิบัติตามโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน พบว่า โครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ทั้งนักเรียนและพระสอนศีลธรรมมีความคิดเห็นต่อระดับการปฏิบัติตามโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน ดังนี้ กลุ่มนักเรียน ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการบริหารโครงการ ( gif.latex?\bar{X}=2.90) รองลงมา คือ ด้านประโยชน์ที่ได้รับ ( gif.latex?\bar{X}=2.88) ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ( gif.latex?\bar{X}=2.60) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการปฏิบัติหน้าที่การสอน ( gif.latex?\bar{X}=2.48) ส่วนกลุ่มพระสอนศีลธรรม ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการบริหารโครงการ ( gif.latex?\bar{X}=3.59) รองลงมา คือ ด้านประโยชน์ที่ได้รับ ( gif.latex?\bar{X}=3.38) ด้านการปฏิบัติหน้าที่การสอน ( gif.latex?\bar{X}=3.32) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ( gif.latex?\bar{X}=3.29)  สรุปโดยภาพรวมและรายด้าน ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารโครงการ ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ด้านการปฏิบัติหน้าที่การสอน และด้านประโยชน์ที่ได้รับระหว่างพระสอนศีลธรรมกับนักเรียน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

References

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2552). การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS, พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี.

บุปผา คงสะอาด. (2549). การประเมินโครงการโรงเรียนแสนสุขในจังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยทักษิณ.

แผนยุทธศาสตร์พระสอนศีลธรรม. (2558). แผนแม่บทสำนักงานพระสอนศีลธรรม. พระนครศรีอยุธยา: สำนักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูนิวาตปิยสวัสดิ์ ปิยวณฺโณ. (2556). ความคิดเห็นของครูพระสอนศีลธรรมที่มีการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียน จังหวัดนครสวรรค์. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูปลัดสุวัฒนบัณฑิตคุณ และคณะ. (2558). การติดตามประเมินผลพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน สำนักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระนครศรีอยุธยา: สำนักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูปลัดสุวัฒนบัณฑิตคุณ และระวิง เรืองสังข์. (2557). การติดตามการปฏิบัติงานของพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานตามที่เป็นจริงและคาดหวัง. พระนครศรีอยุธยา: สำนักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูโพธิสุวรรณคุณ (มานพ จนฺทาโภ). (2559). บทบาทของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน ในจังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสมาคมศิษย์เก่า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. 5 (1), 31-47.

พระครูวรดิตถานุยุต (สังเวย คเวสโก). (2554). ความคิดเห็นของครูและนักเรียนต่อบทบาทครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระจันที จิตฺตสํวโร (คอน). (2555). บทบาทของพระสอนศีลธรรมในการพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมในระดับมัธยมศึกษา อำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระใบฎีกาเทียนชัย เมธงฺกาโร (แก้วตุมตา). (2554). ประสิทธิภาพการสอนวิชาพระพุทธศาสนาของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา: กรณีศึกษาในโรงเรียน เขตพื้นที่อำเภอเสาไห้ จังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระฟูตระกูล พุทฺธรกฺขิโต และคณะ. (2555). บทบาทของครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน สังกัดศูนย์ครูพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. กาฬสินธุ์: วิทยาลัยศาสนศาสตร์เฉลิมพระเกียรติกาฬสินธุ์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระมหาประยอม กลฺยาโณ (เล่มไมล์). (2555). การศึกษาความพึงพอใจที่มีต่อพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนมัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระสุรชัย สุรชโย (หงษ์ตระกูล). (2555). ทัศนคติของนักเรียนที่มีต่อการเรียนการสอนของพระสอนศีลธรรมในโรงเรียนประถมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระอนุศาสตร์ อาภากโร (สิทธิสกุลชัย). (2555). การมีส่วนร่วมของพระสอนศีลธรรมในการจัดการเรียนการสอนในโรงเรียนมัธยมศึกษา ในอำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมคิด พรมจุ้ย. (2552). เทคนิคการประเมินโครงการ, พิมพ์ครั้งที่ 6. นนทบุรี: จตุพรดีไซด์.

สมพิศ สุขแสน. (2545). เอกสารประกอบการบรรยายวิชาเทคนิคการวางแผนและการประเมินผล. อุตรดิตถ์: สถาบันราชภัฏอุตรดิตถ์.

สำนักงานพระสอนศีลธรรม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2558). สูจิบัตรงานมหกรรมส่งเสริมศีลธรรมและการประกวดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนด้านพระพุทธศาสนา มหกรรมส่งเสริมศีลธรรมและประกวดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนด้านพุทธศาสนาปีที่ 3. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สำนักงานพระสอนศีลธรรม. (2557). รายงานผลการดำเนินงานโครงการพระสอนศีลธรรมในโรงเรียน. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis, 3rd ed. New York: Harper and Row Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-04-10