ระบบราชการไทยกับข้าราชการในประเทศไทย 4.0

ผู้แต่ง

  • ษมาวีร์ จันทร์อารีย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี
  • ภูริวัจน์ ปุณยวุฒิปรีดา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี

คำสำคัญ:

ระบบราชการไทย, ข้าราชการ, ประเทศไทย 4.0

บทคัดย่อ

          ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมาได้มีความพยายามของรัฐบาลทุกสมัยที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพของระบบราชการอย่างต่อเนื่อง แต่ระบบราชการเป็นระบบเก่าแก่ ซึ่งมีปัญหาสะสมมานานและเป็นปัญหาที่ไม่ได้รับการดูแลแก้ไขเท่าที่ควร เนื่องจากขาดผู้นำทางการเมืองที่จะปฏิรูประบบอย่างจริงจังและต่อเนื่อง จึงส่งผลให้ระบบราชการไทยอยู่ในภาวะที่อ่อนแอ

          การทำให้ระบบราชการมีความคล่องตัว ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน จำเป็นต้องมีการปรับแนวคิดและวิธีการทำงานใหม่ คือ 1) การเปิดกว้างและเชื่อมโยงระหว่างกัน 2) การยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง 3) การสร้างสมรรถนะให้สูงและทันสมัย ทั้งนี้ ระบบราชการจะมีประสิทธิภาพได้จะต้องปรับการทำงานของข้าราชการให้สอดคล้องกับยุคดิจิทัล ให้กลายเป็นข้าราชการดิจิทัลที่มีความสามารถ 5 มิติ คือ 1) รู้เท่าทันและใช้เทคโนโลยีเป็น 2) เข้าใจนโยบาย กฎหมายและมาตรฐาน 3) ใช้ดิจิทัลเพื่อการประยุกต์และพัฒนา 4) ใช้ดิจิทัลเพื่อการวางแผนบริหารจัดการและนำองค์กร และ 5) ใช้ดิจิทัลเพื่อขับเคลื่อน เปลี่ยนแปลงและสร้างสรรค์ นอกจากนี้ ข้าราชการสมัยใหม่ต้องรู้จักประยุกต์หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาไปใช้ เพื่อสร้างดุลยภาพในการบริหารจัดการ คือ 1) มีตาดี (จักขุมา) คือ ความชำนาญในการใช้ความคิด 2) มีธุรกิจดี (วิธูโร) คือ ความชำนาญด้านเทคนิค 3) เพียบพร้อมด้วยที่พักพิงอาศัย (นิสสยสัมปันโน) คือ ความชำนาญด้านมนุษยสัมพันธ์ เมื่อระบบราชการและข้าราชการสามารถปรับตัวเข้าสู่การทำงานในยุคใหม่ได้ จึงจะเป็นสังคมดิจิทัลหรือประเทศไทย 4.0 อย่างแท้จริง

References

ชาญชัย แสวงศักดิ์. (2542). กฎหมายเกี่ยวกับการบริหารราชการแผ่นดิน. กรุงเทพมหานคร: เม็ดสีการพิมพ์.

ทศพร ศิริสัมพันธ์. (มีนาคม 2561). ระบบราชการ 4.0 กับการสร้างนวัตกรรมและความเป็นผู้ประกอบการภาครัฐ. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2562, จาก https://www.opdc.go.th/psic/spaw2/uploads/ files/1_doc2.pdf

นิยม รัฐอมฤตและคณะ. (2546). ระเบียบปฏิบัติราชการและการเลขานุการ. กรุงเทพมหานคร: พัฒนาศึกษา.

ประวีณ ณ นคร. (2530). พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวกับระบบข้าราชการพลเรือน. กรุงเทพมหานคร: ประชาชน.

พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2547). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตโต). (2541). คุณธรรมสำหรับนักบริหาร. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 20. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เมธินี เทพมณี. (มีนาคม 2561). ข้าราชการ 4.0 ต้นทางการพัฒนาสู่รัฐบาลดิจิทัล. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2562, จาก http://forbesthailand.com/th/commentaries-detail.php?did=2181

สร้อยตระกูล อรรถมานะ. (2540). สาธารณบริหารศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานคณะกรรมการข้าราชการและพลเรือน. (มีนาคม 2561). ข้าราชการไทยกับการขับเคลื่อนสู่ประเทศไทย 4.0. สืบค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2562, จาก http://www.ocsc.go.th/sites/default/files/ attachment/page/civil_officer_th_4.0.pdf

โสภารัตน์ จารุสมบัติ และคณะ. (2546). รายงานการวิจัยโครงการศึกษารวบรวมข้อมูลด้านการเมืองการปกครองของไทยข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับระบบราชการกับการเมือง. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-28