กาลามสูตร: หลักความเชื่อในยุคดิจิทัล

ผู้แต่ง

  • วริศ ข่ายสุวรรณ โรงเรียนนาปรังวิทยา
  • พระมหาศิวกร ปญฺญาวชิโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • กรนิษฐ์ ชายป่า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

คำสำคัญ:

กาลามสูตร, เกสปุตตสูตร, หลักความเชื่อ, ยุคดิจิทัล

บทคัดย่อ

          กาลามสูตรเป็นพระสูตรแสดงหลักวิธีปฏิบัติในเรื่องที่ควรสงสัย การคัดกรองข้อมูลสื่อสาร การใช้เหตุผลมายืนยันเกี่ยวกับความเชื่อว่า ควรจะเชื่ออย่างไร ด้วยวิธีการ 10 ประการ เป็นหลักปฏิบัติประการหนึ่งที่พระพุทธเจ้าตรัสแนะนำให้แก่ชาวกาลามะ และยังเอื้อประโยชน์ต่อคนในยุคสังคมดิจิทัลที่เจริญด้วยเทคโนโลยี แต่การรับรู้ข้อมูลอย่างไม่มีขีดจำกัด ทำให้เกิดปัญหาจากความเจริญเหล่านี้ คือ ผู้บริโภคข่าวสารเกิดความหลงเชื่อข้อมูลที่ได้รับไปโดยไม่รู้ตัว ขาดการพิจารณาให้ละเอียดรอบคอบ ทำให้เกิดปัญหาตามมา การประยุกต์เนื้อหาในกาลามสูตรต่อสังคมไทยปัจจุบัน เป็นการสนับสนุนความเชื่อให้เกิดประโยชน์ ก่อนที่จะเชื่อต้องพิจารณาด้วยสติและปัญญา เมื่อเกิดกรณีขัดแย้งกันในข้อมูลข่าวสาร ควรนำพระสูตรนี้ไปประกอบในการนำไปใช้ในยุคดิจิทัล เพื่อเป็นหลักส่งเสริมความเชื่อของคนในสังคมไทย โดยเฉพาะสังคมชาวพุทธให้มีความหนักแน่นในการบริโภคข้อมูลตามสื่อ และทำให้เกิดความเห็นชอบ มีความประพฤติให้สอดคล้องกับหลักศรัทธาได้อย่างถูกต้อง เมื่อแต่ละคนมีความเห็นที่ถูกต้องแล้ว จะสร้างสังคมแห่งสัมมาทิฏฐิ สังคมแห่งความศรัทธากำกับด้วยปัญญา มีความเชื่อประกอบด้วยเหตุมีผล ไม่งมงาย สามารถดำรงชีวิตในสังคมเทคโนโลยีอย่างมีความสุข

References

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตโต). (2547). วิธีคิดตามหลักพุทธธรรม, พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: ศยาม.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2556). อมฤตพจนา: พุทธศาสนสุภาษิต. กรุงเทพมหานคร: ผลิธัมม์.

พระอุดมคณาธิการ และจำลอง สารพัดนึก. (2552). พจนานุกรมบาลี-ไทย, พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสาร.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 11, 15, 20, 22. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมศักดิ์ หน่องพงศ์ และสุรเดช บุญลือ. (2558). ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการความรู้ด้านอาชญากรรมคอมพิวเตอร์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยนอร์ท กรุงเทพ. 4 (1), 81-91.

อรสา แนมใส และพิเชษฐ์ จันทวี. (2558). การศึกษาระดับความรู้และพฤติกรรมการใช้คอมพิวเตอร์และอินเทอร์เน็ตที่เสี่ยงต่อการกระทำความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทาความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ พ.ศ. 2550 ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา. การประชุมหาดใหญ่วิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 6, หน้า 1479-1489. 26 มิถุนายน. สงขลา: มหาวิทยาลัยหาดใหญ่

โอภาส เอี่ยมสิริวงศ์. (2557). วิทยาการคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ. กรุงเทพมหานคร: วีพริ้น.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-27