การสร้างองค์ความรู้พื้นบ้านบนฐานงานวิจัยไทบ้าน
คำสำคัญ:
งานวิจัยไทบ้าน, การสร้างองค์ความรู้, พื้นที่ทางความรู้บทคัดย่อ
งานวิจัยไทบ้านเป็นการศึกษาที่อยู่บนฐานภูมิปัญญาท้องถิ่น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมองค์ความรู้ของชุมชน โดยชุมชุนรู้สึกเป็นเจ้าขององค์ความรู้ที่สร้างสรรค์ขึ้น และเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่คนภายในท้องถิ่น งานวิจัยไทบ้านมีความแตกต่างกับวิจัยในรูปแบบอื่นที่เป็นการสร้างการยอมรับจากบุคคลภายนอกถึงความรู้ สิทธิและศักยภาพของชุมชนท้องถิ่น การทำวิจัยไทบ้าน สามารถจำแนกขั้นตอนได้ ดังนี้ 1. การปรึกษาหารือเพื่อลงความเห็นที่จะทำงานวิจัยร่วมกัน 2. การเตรียมความพร้อมก่อนการเก็บข้อมูลว่า จะศึกษาเรื่องอะไร รวบรวมความรู้ด้วยวิธีการอย่างไร 3. การเก็บข้อมูลโดยวิธีการที่หลากหลาย 4. การรายงานความก้าวหน้าถึงขั้นตอนหรือสิ่งที่ต้องศึกษาเพิ่มเติม 5. การสรุปและวิเคราะห์ผลการวิจัย 6. การนำผลการวิจัยมาทำเป็นสื่อเผยแพร่
งานวิจัยไทบ้านถือเป็นปัจจัยสำคัญในการสร้างความเข้มแข็งและพลังในการนำองค์ความรู้ของชุมชนไปใช้ประโยชน์ในการเสนอแนะและผลักดันในเชิงนโยบายแก่ภาครัฐ และเป็นการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วมในการทำวิจัยไทบ้านกับหน่วยงานภาครัฐ เช่น องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น โดยเฉพาะสถาบันการศึกษาที่สามารถปรับงานวิจัยไทบ้านไปใช้ในบริบทพื้นที่อื่น เช่น พื้นที่มีความขัดแย้งระหว่างกลุ่มต่าง ๆ ได้
References
สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต. (2562). งานวิจัยในพื้นที่ต่าง ๆ . สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2562, จาก http://www.livingriversiam.org/our-work
อานันท์ กาณจนพันธุ์. (2544). มิติชุมชน: วิธีคิดท้องถิ่นว่าด้วยสิทธิ อำนานและการจัดการทรัพยากร. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
Berkes, F. (1999). Sacred Ecology: Traditional Ecological Knowledge and Resource Management. Taylor & Francis: Philadelphia.
Korten, D. C. (1 June 1996). Profile of VANDANA SHIVA. สืบค้นเมื่อ 28 มิถุนายน 2562, จาก https://davidkorten.org/pw3shiva/