การจัดทำแผนที่เส้นทางวัฒนธรรมเพื่อเสริมสร้างการเดินและการใช้จักรยานในการท่องเที่ยว อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • สหัทยา วิเศษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • รุ่งสุริญัณห์ สุนันต๊ะ โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 24 จังหวัดพะเยา
  • ลชนา ชมตระกูล นักวิชาการอิสระ

คำสำคัญ:

การเดินและการใช้จักรยาน, แผนที่เส้นทางวัฒนธรรม, การท่องเที่ยว, เชียงคำ

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสำรวจเส้นทางการเดินและการใช้จักรยานเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา 2) เพื่อจัดทำแผนที่เส้นทางวัฒนธรรมในการเสริมสร้างเดินและการใช้จักรยานเพื่อการท่องเที่ยว และ 3) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยการใช้แผนที่เส้นทางวัฒนธรรมเพื่อเสริมสร้างการเดินและการใช้จักรยานเพื่อการท่องเที่ยว การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยการศึกษาเอกสาร ทำร่างเส้นทางและจุดท่องเที่ยวที่สำคัญ แล้วลงพื้นที่สำรวจเส้นทางจริง ปักหมุด เก็บข้อมูลสถานที่ ถ่ายภาพและวาดแผนที่ฉบับร่างด้วยโปรแกรม Google Map จากนั้นจัดทำแผนที่ในระบบดิจิทัลและตรวจสอบข้อมูลแผนที่โดยการประชุมกลุ่มย่อยในกลุ่มแกนนำภาครัฐ ภาคธุรกิจและภาคประชาสังคม อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา

          ผลการวิจัย พบว่า 1) การสำรวจและใช้จักรยานเริ่มจากการประชุมหารือแนวทางการเสริมสร้างการเดินและการใช้จักรยานเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมกับแกนนำในชุมชนและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง การศึกษาและกำหนดเส้นทางการเดินและการใช้จักรยานเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม 2) การจัดทำแผนที่เส้นทางการเดินและการใช้จักรยานเพื่อการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม โดยการออกแบบและร่างแผนที่เส้นทางท่องเที่ยวในระบบดิจิทัล จำนวน 3 เส้นทาง 3) ปัจจัยในการใช้แผนที่เส้นทางวัฒนธรรมเพื่อการเสริมสร้างการเดินและการใช้จักรยานเพื่อการท่องเที่ยว แบ่งเป็นด้านปัจจัยเอื้อ คือ เมืองเชียงคำเป็นเมืองชายแดนติดกับสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป. ลาว) เป็นเมืองเล็ก ๆ ที่มีจุดเด่นทางวัฒนธรรมชุมชนของกลุ่มชาติพันธุ์ มีประวัติศาสตร์ ตำนานที่เชื่อมโยงกับพระพุทธศาสนา โบราณสถาน โบราณวัตถุและความหลากหลายของทรัพยากรธรรมชาติ ส่วนด้านปัจจัยข้อจำกัด คือ ลักษณะของถนนที่ไม่มีเส้นทางจักรยาน สภาพถนนโดยเฉพาะขอบทางยังไม่เอื้อต่อการเดินและการใช้จักรยาน เนื่องจากมีท่อระบายน้ำที่ไม่เรียบไปกับผิวถนน เส้นทางบางเส้นต้องผ่านย่านธุรกิจการค้าของเมืองที่มีรถยนต์พลุกพล่านและมีรถยนต์จอดริมถนน การสนับสุนนจากหน่วยงานทั้งภาครัฐและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นยังมีน้อย

References

กฤษดา ขุ่ยอาภัย. (2552). การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม: กรณีศึกษาบ้านลวงเหนือ ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2539). การพัฒนาการท่องเที่ยวในทิศทางที่ยั่งยืน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2545). คู่มือแนวทางการจัดการที่พักสัมผัสวัฒนธรรมชนบท. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย.

ฉัตรชัย ด้วงจาด. (2545). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ: กรณีศึกษาความคิดเห็นชุมชนคลองบางกอกน้อย จังหวัดนนทบุรี. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ชนัญ วงษ์วิภาค. (2545). ประโยชน์ของการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม. ใน เอกสารการสอนชุดวิชาประสบการณ์วิชาชีพการจัดการการท่องเที่ยว. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ธงชัย พรรณสวัสดิ์ และพรชัย ลีลานุภาพ. (2536). จักรยานกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ปัญหาสิ่งแวดล้อม. ใน สมฤดี นิโครวัฒนยิ่งยง และคณะ, บรรณาธิการ. สิ่งแวดล้อม’36 การสัมมนาการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ครั้งที่ 4, หน้า 249-268. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์.

ธนกร ภิบาลรักษ์. (2559). การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของจังหวัดจันทบุรี: รูปแบบการพัฒนาศักยภาพโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ธนวรรธน์ นิธิปภานนท์. (2558). กระบวนการสร้างพื้นที่ทางวัฒนธรรมเพื่อการท่องเที่ยว: ศึกษากรณีเพลินวาน อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

นิจิรา คลังสมบัติ. (2558). การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนจังหวัดอุดรธานี. ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: เพรสแอนด์ดีไซด์.

ผดุง ประวัง. ประวัติอำเภอเชียงคำ. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2559, จาก http://www.hugchiangkham.com/ประวัติอำเภอเชียงคำ/

วารินทร์ เหล่าสงคราม. (2550). ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศต่อกิจกรรมถนนคนเดิน ถนนท่าแพ จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มุทิตา ปิ่นสุนทร. (2542). การวางแผนเส้นทางจักรยานที่เหมาะสมเพื่อการท่องเที่ยวในเขตกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล.

สหัทยา วิเศษ และคณะ. (2561). การสร้างเมือง ชุมชนจักรยานเพื่อให้เป็นมิตรต่อการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน พื้นที่ตำบลหย่วนและตำบลเชียงคำ อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา.
การประชุมส่งเสริมการเดินและการใช้จักรยานในชีวิตประจำวัน ณ อาคารเฉลิมราชกุมารี 60 พรรษา (อาคารจามจุรี 10) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดโดย สถาบันการเดินและการจักรยานไทย, หน้า 133-140. 9 มีนาคม. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Rubnstein, H. M. (1992). Pedestrian Malls, Streetscapes, and Urban Spaces. New York: John Wiley & Sons.

McIntosh, R. W., et. al. (1995). Tourism: Principles, Practices, and Philosophies. New York: John Wiley & Sons.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-30