การมีส่วนร่วมของชาวบ้านในการจัดการพื้นที่ป่าบ้านห้วยฮี้ ตำบลห้วยปูลิง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ผู้แต่ง

  • วินิจ ผาเจริญ วิทยาลัยบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้

คำสำคัญ:

การมีส่วนร่วมของชาวบ้าน, การจัดการพื้นที่ป่า, บ้านห้วยฮี้

บทคัดย่อ

            บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาบริบทชุมชนบ้านห้วยฮี้ ตำบลห้วยปูลิง อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน 2) เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมของชาวบ้านในการจัดการพื้นที่ป่าของชุมชนบ้านห้วยฮี้ 3) เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และข้อจำกัด/อุปสรรคต่อการจัดการพื้นที่ป่าของชุมชนบ้านห้วยฮี้ โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลเชิงลึกประกอบด้วยผู้ให้ข้อมูลหลักในชุมชน ได้แก่ ผู้นำชุมชน คณะกรรมการ ปราชญ์ชาวบ้าน และสมาชิกในชุมชน จำนวน 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสังเกต แบบสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม โดยใช้เทคนิค SWOT Analysis วิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา

          ผลการวิจัย พบว่า 1. บริบทของชุมชน ด้านสังคมมีความสัมพันธ์แบบเครือญาติอย่างแนบแน่น ด้านการปกครองมีการตั้งข้อปฏิบัติ กฎ กติกาของหมู่บ้านร่วมกัน ด้านเศรษฐกิจมีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์เป็นต้นทุนในการผลิต และด้านวัฒนธรรมประเพณีมีความเชื่อและพิธีกรรมที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ด้วยวิธีการดูแลรักษาป่าผ่านระบบความรู้ ความเชื่อ ภูมิปัญญาและวัฒนธรรมของชุมชน 2. การมีส่วนร่วมของชาวบ้านในการจัดการพื้นที่ป่าได้ดำเนินการ ดังนี้ 1) จัดตั้งคณะกรรมการ 2) กำหนดกฎเกณฑ์ในการใช้ประโยชน์ 3) กำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ที่ฝ่าฝืนกฎระเบียบ 4) ปลูกต้นไม้เพิ่มในพื้นที่ป่า 5) ปลูกฝังจิตสำนึกในการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ 6) จัดเวรยามลาดตระเวนป้องกันการลักลอบตัดไม้และจัดทำแนวป้องกันไฟป่า 3. ผลการวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และข้อจำกัดของชุมชนตาม SWOT Analysis พบว่า จุดแข็ง คือ ผู้นำชุมชนเข้มแข็ง จิตสำนึกของชุมชน วัฒนธรรมประเพณี ความเชื่อ กฎระเบียบข้อบังคับ จุดอ่อน คือ ขาดทักษะความรู้ในการจัดการ โอกาส คือ ภาครัฐมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนการอนุรักษ์ป่ามีมากขึ้น ข้อจำกัด คือ ขาดการสนับสนุนงบประมาณ ขอบเขตพื้นที่อนุรักษ์ยังไม่ชัดเจนและเงื่อนไขข้อกฎหมาย ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา ได้แก่ เพิ่มรูปแบบการสนับสนุนจากภาครัฐ สร้างเครือข่าย ทำงานเชิงรุก เสริมความรู้ที่เกี่ยวข้อง การดำเนินงานอย่างยืดหยุ่นและสนับสนุนการวิจัย  

References

เกศสุดา สิทธิสันติกุล และคณะ. (2559). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อการสนับสนุนการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในชุมชนท้องถิ่น. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม. 12 (1), บทคัดย่อ.

คณะกรรมการการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมชาติ. (2550). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2550 - 2554). กรุงเทพมหานคร: สำนักนายกรัฐมนตรี.

จักรพงษ์ พวงงามชื่น และคณะ. (2556). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชน กรณีศึกษา บ้านทาป่าเปา ตำบลทาปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน. วารสารวิจัยและพัฒนา มจธ. 36 (2), 215-234.

ธีรฤทธิ์ แป๊ะประภา. (2561). การจัดการป่าชุมชน: กรณีศึกษาป่าชุมชนหนองฮี ตำบลเสือเฒ่า อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิทยาลัยบัณฑิตเอเชีย. 8 (ฉบับพิเศษ), 33-34.

ภูมิหทัย กิตติพัฒนกุล และคณะ. (2559). แนวทางจัดการทรัพยากรป่าไม้อย่างมีส่วนร่วม กรณีศึกษาป่าชุมชนบ้านโคกหัวข้าว จังหวัดฉะเชิงเทรา. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 8 (ฉบับพิเศษ), 67.

มูลนิธิสืบนาคะเสถียร. (5 กันยายน 2561). รายงานสถานการณ์ป่าไม้ไทย พ.ศ. 2560-2561. สืบค้นเมื่อ 13 พฤศจิกายน 2561, จาก https://www.seub.or.th /document/สถานการณ์ป่าไม้ไทย/รายงานสถานการณ์ป่าไม้ไ-6/

ลาวัณย์ ทองขาว. (2561). วัฒนธรรมและการจัดการป่าชุมชนของปกากะญอห้วยหินดาอำเภอด่านช้าง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสารสนเทศ. 17 (1), 126.

สุรีรัตน์ กฤษณะรังสรรค์. (2540). การจัดการป่าขององค์กรชุมชนในเขตอุทยานแห่งชาติ ศึกษากรณี: หมู่บ้านก้อทุ่ง ต.ก้อ อ.ลี้ จ.ลำพูน. วิทยานิพนธ์ปริญญาพัฒนาชุมชนมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-12-26