การถอดบทเรียนการเตรียมความพร้อมของกรมทหารราบที่ 17 จังหวัดพะเยา ในการรองรับสถานการณ์ภัยคุกคามรูปแบบใหม่

ผู้แต่ง

  • พงษ์สนิท คุณนะลา คณะรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา

คำสำคัญ:

การถอดบทเรียน, กรมทหารราบที่ 17, ภัยคุกคามรูปแบบใหม่, จังหวัดพะเยา

บทคัดย่อ

          การวิจัยมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อถอดบทเรียนความพร้อมของกรมทหารราบที่ 17 จังหวัดพะเยา ในการปฏิบัติภารกิจในสถานการณ์ภัยคุกคามรูปแบบใหม่ 2) เพื่อพัฒนาบทบาทของกรมทหารราบที่ 17 จังหวัดพะเยา งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสารโดยการใช้ข้อมูลจากแหล่งทุติยภูมิ แบบสัมภาษณ์ รวมถึงวิธีสนทนากลุ่ม กรอบการวิจัยเป็นการศึกษาสถานการณ์แวดล้อม สภาพการดำเนินการของกรมทหารราบที่ 17 ที่นำไปสู่แนวทางการเตรียมความพร้อมในการรองรับสถานการณ์

          ผลการวิจัย พบว่า ประการแรก ด้านการถอดบทเรียน สรุปได้ดังนี้ 1) กองทัพมีความชัดเจนในเป้าหมายของนโยบายและงบประมาณ 2) การจัดการกับปัญหาภัยคุกคามรูปแบบใหม่ยังมีปัญหาและอุปสรรค อาทิ ข้อจำกัดทางด้านกฎหมายในประเทศ และเจ้าหน้าที่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องยังมีการตื่นตัวน้อย 3) กองทัพไทยมีหน่วยงานหลักและหน่วยงานร่วมตามยุทธศาสตร์ ตลอดจนการบูรณาการดำเนินงานของกองทัพร่วมกับทุกภาคส่วนอื่นอย่างเป็นระบบในการรองรับสถานการณ์ต่าง ๆ 4) บุคลากรทางทหารที่เป็นกลุ่มผู้ปฏิบัติงานในสถานการณ์จริง มีความคาดหวังว่า รัฐบาลควรสนับสนุนงบประมาณให้เพียงพอต่อการรองรับสถานการณ์ภัยคุกคามรูปแบบใหม่ 5) เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกทางทหารมีไม่เพียงพอหรืออยู่ในสภาพที่ไม่พร้อมใช้งาน 6) การปฏิบัติงานส่วนใหญ่ยังคงเป็นระดับผู้บริหารในการพยายามพัฒนาในรูปแบบ นโยบาย แต่ระดับผู้ปฏิบัติการยังขาดความรู้และแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจน ประการที่สอง ด้านการพัฒนาบทบาท สรุปได้ดังนี้ 1) การนำนโยบายไปปฏิบัติและช่วยเหลือประชาชนไม่มีผลกระทบเชิงลบต่อวิถีชีวิตของประชาชนในพื้นที่ในด้านวัฒนธรรม ศาสนา อัตลักษณ์ 2) บทบาทของผู้บริหารได้เปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการกำหนดนโยบายสาธารณะ

References

กฤษณะ นันทะวิชัย. (2560). การพัฒนากำลังพลกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของหน่วยงาน. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยกองทัพบก.

กองทัพบก. (2558). ภัยคุกคาม. สืบค้นเมื่อ 15 มกราคม 2559, จาก http://www.rta .mi.th/newweb/rta_organize.php

พรพิมล รธนิธย์. (ม.ป.ป.). ปัญหาในการปฏิบัติงานของกำลังพลศูนย์การอุตสาหกรรมป้องกันประเทศและพลังงานทหาร. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก, 6 เมษายน 2560.

ศูนย์บัญชาการทางทหาร กองบัญชากองทัพไทย. (2555). ศูนย์ประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริและความมั่นคง. โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริในความรับผิดชอบของกองทัพไทย. กรุงเทพมหานคร: หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. (2543). นโยบายสาธารณะ: แนวความคิด การวิเคราะห์และกระบวนการ, พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: เสมาธรรม.

สมยศ นาวีการ. (2545). การบริหารแบบมีสวนรวม. กรุงเทพมหานคร: บรรณกิจ.

สุพจน์ สุวรรณเตมีย์. (2553). การดำเนินงานพัฒนาประเทศของหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: วารสารทหารพัฒนา.

หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย. (2551). หนังสือครบรอบ 46 ปีหน่วยบัญชาการทหารพัฒนากองบัญชาการกองทัพไทย. กรุงเทพมหานคร: หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา กองบัญชาการกองทัพไทย.

หัสยา ไทยานนท์. (2559). บทบาทกองทัพต่อยุทธศาสตร์การเตรียมพร้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2557-2561. วารสารสถาบันวิชาการป้องกันประเทศ. 7 (3), 13-23.

อิทธิชัย สีดำ. (2553) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการนำนโยบายเสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ไปปฏิบัติ: ศึกษากรณีผู้นำนโยบายไปปฏิบัติในจังหวัดปัตตานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.


Hargrove, E. C., (1983). The Search for Implementation Theory. In Zeckhauser, R. J. and Leebaert, D., eds. What Role for Government?: Lessons from Policy Research, (pp. 280-294). Durham, N.C.: Duke Press Policy Studies.

Van Horn, C. E. and Van Meter, D. S., (1976). The Implementation of Intergovernmental Policy. In Jones, C. O. and Thomas, R. D., eds. Public Policy Making in a Federal System. California: Sage Publications, Inc.

Van Meter, D. S. and Van Horn, C. E. (1975). The Policy Implantation Process: A Conceptual Framework. Administration and Society. 6 (4), 445-448.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-26