ยีนเป็นที่มาของคอร์รัปชันจริงหรือ

ผู้แต่ง

  • จารุพงษ์สกุล จิณะโชฒิกุล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์นครน่านเฉลิมพระเกียรติฯ

คำสำคัญ:

ยีน, สาเหตุของคอร์รัปชัน, ปัญหาการเมืองไทย

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่ออธิบายเรื่องยีนกับคอร์รัปชันหรือการทุจริตฉ้อโกง ปัญหาอย่างหนึ่งของการเมืองไทย คือ การคอร์รัปชัน ซึ่งมีลักษณะ ดังนี้ 1) การแสวงหาค่าเช่าทางเศรษฐกิจ เช่น การผูกขาด การเรียกเก็บส่วนแบ่ง 2) การฉกฉวยทรัพยากรของรัฐมาเป็นของครอบครัว เช่น การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ 3) การมีผลประโยชน์ทับซ้อน 4) การใช้อิทธิพลทางการเมืองหาผลประโยชน์จากตลาดหลักทรัพย์ 5) การปกปิดการบริหารงานที่ไม่ถูกต้อง ปัญหาดังกล่าวนี้มีความเกี่ยวข้องกับยีนในตัวมนุษย์หรือไม่ ในทัศนะของริชาร์ด ดอร์กินส์ เห็นว่า มนุษย์มีความเห็นแก่ตัว ซึ่งเป็นเรื่องธรรมดาที่มีอยู่ในยีน แต่ยีนก็ไม่ได้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจหรือต่อจิตสำนึกของมนุษย์ ขณะที่พระพุทธศาสนากล่าวถึงการคอร์รัปชันว่า เกิดจากจิตใจที่มีอกุศลมูล คือ ความโลภ โกรธ หลง ซึ่งเป็นปัจจัยภายในตัวมนุษย์ และมีปัจจัยภายนอกมาเกี่ยวข้อง ดังนั้น สาเหตุของคอร์รัปชันจึงไม่ใช่เพียงยีนในตัวมนุษย์เพียงอย่างเดียว เพราะยังมีปัจจัยอื่นที่เป็นสาเหตุร่วม เนื่องจากคนจะดีหรือเลวขึ้นอยู่กับประพฤติการกระทำของแต่ละบุคคลที่สอดคล้องกับสิ่งแวดล้อมภายนอกเป็นประการสำคัญ

          โดยสรุปแล้ว ปัญหาการเมืองไทยที่เกิดมาจากคอร์รัปชันสามารถวิเคราะห์ได้ ดังนี้ 1) เพราะความโลภของมนุษย์ คือ ความไม่มีศีลธรรมของนักการเมือง 2) จากระบบเศรษฐกิจและการเมืองที่ไม่ยึดธรรมาภิบาล 3) การเมืองที่ไม่มีการตรวจสอบถ่วงดุล 4) ระบบอุปถัมภ์และโครงสร้างเชิงสัมพันธ์แบบปิรามิดของสังคมไทย ซึ่งจัดเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ (1) ระบบอุปถัมภ์ในหมู่ญาติ (2) ระบบอุปถัมภ์ในหมู่มิตรสหาย (3) ระบบอุปถัมภ์ในองค์กรต่าง ๆ (4) ระบบอุปถัมภ์ระหว่างอาชีพ 5) การกระทำ (กรรม) ที่มาจากปัจจัย 2 ส่วน คือ ปัจจัยภายในและปัจจัยภายนอกของมนุษย์ ปัจจัยภายใน ได้แก่ กิเลสตัณหาในจิตใจของมนุษย์ ส่วนปัจจัยภายนอก ได้แก่ โครงสร้างของระบบสังคมที่เอื้ออำนวยให้ทำความชั่ว

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2547). กลเม็ดเด็ดปีกคอร์รัปชัน. กรุงเทพมหานคร: ชัคเซสมีเดีย.

แพง ชินพงศ์. (8 สิงหาคม 2555). องคมนตรีแนะวิจัยยีนนักการเมืองตัดทิ้งก่อนก่อคอร์รัปชัน. ผู้จัดการออนไลน์. สืบค้นเมื่อ 10 ธันวาคม 2561, จาก https://mgronline.com/qol/detail/9550000097456

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 11, 12, 22, 25, 35. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

วิทยากร เชียงกุล. (2549). แนวทางปราบคอร์รัปชันอย่างได้ผล: เปรียบเทียบไทยกับประเทศอื่น. กรุงเทพมหานคร: สายธาร.

สังศิต พิริยะรังสรรค์. (2549). ทฤษฎีการคอร์รัปชัน. กรุงเทพมหานคร: ร่วมด้วยช่วยกัน.

Caiden, G. E. (1991). What Really Is Public Maladministration? Public Administration Review. 51 (6), 486-493.

Dawkins, R. (2006). The Selfish Gene, 25th ed. Oxford: Oxford University Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28