ศาสนาพราหมณ์ฮินดู ลัทธิไศวนิกาย สมัยพระเจ้าจิตรเสนแห่งอาณาจักรเจนละในพุทธศตวรรษที่ 11-12 จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
ศาสนาพราหมณ์ฮินดู, ลัทธิไศวนิกาย, อาณาจักรเจนละ, พระเจ้าจิตรเสน, จังหวัดร้อยเอ็ดบทคัดย่อ
จังหวัดร้อยเอ็ดตั้งอยู่ตอนกลางของภาคอีสานของประเทศไทย พบการตั้งถิ่นฐานตั้งแต่ยุคก่อนประวัติศาสตร์ การมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานและผู้คนอาศัยอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการทางด้านประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมและวิถีการดำเนินชีวิตที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว โดยเฉพาะในด้านคติความเชื่อและศาสนา
บทความนี้ได้ศึกษาในช่วงยุคต้นประวัติศาสตร์ โดยการค้นคว้าจากหนังสือ บันทึกและการลงพื้นที่จริง เพื่อสำรวจสภาพภูมิประเทศ เก็บข้อมูลและบันทึกภาพถ่ายในช่วง พ.ศ. 2557-2558 ในพื้นที่แขวงจำปาสัก ประเทศลาวและจังหวัดร้อยเอ็ด ประเทศไทย จากการศึกษา พบว่า จังหวัดร้อยเอ็ดในยุคต้นประวัติศาสตร์จะพบอารยธรรมขอมโบราณที่มีการนับถือศาสนาพราหมณ์ฮินดู ลัทธิไศวนิกาย ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 6-7 และมีความเจริญรุ่งเรืองสูงสุดในสมัยพระเจ้าจิตรเสนแห่งอาณาจักรเจนละ ในพุทธศตวรรษที่ 11-12 จากหลักฐานด้านสถาปัตยกรรมในศาสนสถาน โบราณวัตถุ ศิลาจารึกของพระเจ้าจิตรเสน และแหล่งโบราณคดีดอนขุมเงิน บ้านหนองคูน ตำบลเด่นราษฏร์ อำเภอหนองฮี จังหวัดร้อยเอ็ด พบว่า มีความสัมพันธ์กับศิลปะสมัยเจนละที่ปราสาทวัดภู แขวงจำปาสัก ประเทศลาว ซึ่งเป็นศาสนสถานของศาสนาพราหมณ์ฮินดูที่มีขนาดใหญ่และคงความสมบูรณ์มากกว่าแหล่งโบราณคดีดอนขุมเงิน การพบจารึกของพระเจ้าจิตรเสนในครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า พื้นที่แห่งนี้เป็นต้นกำเนิดของพัฒนาการของอาณาจักรเจนละ ก่อนที่จะมีการสถาปนาศูนย์กลางแห่งอาณาจักรเจนละที่ปราสาทวัดภู แขวงจำปาสัก ประเทศลาว และศาสนาพราหมณ์ฮินดู ลัทธิไศวนิกาย เป็นศาสนาที่เก่าแก่ที่สุดของจังหวัดร้อยเอ็ด
References
คมศิลป์ พลแดง. (13 พฤศจิกายน 2557 และ 19, 25 มีนาคม 2558). การเก็บข้อมูลภาคสนาม.
จารึก วิไลแก้ว. (2550). แหล่งโบราณคดีดอนขุมเงิน. นิตยสารศิลปากร. 50 (2), 16-39.
ชะเอม แก้วคล้าย. (2523). จารึกปากโดมน้อย ด้านที่ 1. ใน จารึกในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 1 ธันวาคม 2561, จาก https://db.sac.or.th/inscriptions/ inscribe/image_detail/688
ธิดา สาระยา. (2540). อาณาจักรเจนละ: ประวัติศาสตร์อีสานโบราณ. กรุงเทพมหานคร: มติชน.
นิพัทธ์ แย้มเดช. (2559). จารึกปราสาทตาพรหม: ความสัมพันธ์ระหว่างขนบจารึกสดุดีกษัตริย์กับการ สรรเสริญพระเจ้าชัยวรมันที่ 7. วารสารไทยคดีศึกษา. 13 (1), 1-50.
สุภัทรดิศ ดิศกุล. (2532). 600 ปี แห่งประวัติเมืองพระนครของขอม. ศิลปวัฒนธรรม. 10 (6), 110-125.
สุภัทรดิศ ดิศกุล. (2547). ศาสนาพราหมณ์ในอาณาจักรขอม. กรุงเทพมหานคร: คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สุรศักดิ์ ศรีสำอาง. (2549). ศิลาจารึกพระเจ้าจิตรเสน (พระเจ้ามเหนทรวรมัน). นิตยสารศิลปากร. 49 (2), 104-107.
สำนักโบราณคดีเเละพิพิธภัณฑสถานเเห่งชาติ กรมศิลปากร. (2541). เมืองร้อยเอ็ด. อมรินทร์พริ้นติ้ง เเอนด์ พับลิชชิ่ง.
Chandler, D. (2003). A History of Cambodia, 3rd ed. Chiang Mai: Silk- worm Books.
Sharan, M. K. (1981). Select Cambodian Inscriptions: The Mebon and Pre Rup Inscriptions of Rajendra Varman II. Delhi: S. N. Publications.