บันทึกพับสาแพทย์พื้นบ้าน ตำบลห้วยแก้ว อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • จักรแก้ว นามเมือง ข้าราชการบำนาญ
  • มงคลกิตติ์ โวหารเสาวภาคย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

คำสำคัญ:

พับสา, แพทย์พื้นบ้าน, ยาสมุนไพร, จังหวัดพะเยา

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมาและจำแนกลักษณะของพับสาแพทย์พื้นบ้าน นอกจากนี้ ยังได้ปริวรรตและวิเคราะห์ตามองค์ความรู้ 4 ด้าน คือ พิธีกรรมบำบัด (จิตบำบัด) กายบำบัด อาหารบำบัด และการประพฤติปฏิบัติตามสิ่งแวดล้อมและสิ่งเหนือธรรมชาติ

          การศึกษาครั้งนี้ได้สัมภาษณ์แพทย์พื้นบ้านและอ่านพับสา พบว่า วิธีการสืบทอดภูมิปัญญาพื้นบ้านของผู้คนที่อาศัยอยู่บริเวณภาคเหนือของประเทศไทย มี 2 รูปแบบ คือ 1) บันทึกเป็นลายลักษณ์อักษร 2) การบอกเล่าด้วยวาจา ซึ่งการบันทึกภูมิปัญญาพื้นบ้านลงบนกระดาษสาด้วยอักขระล้านนาที่เรียกว่า พับสา เป็นอีกวิธีหนึ่งที่สืบทอดตำราแพทย์พื้นบ้านของบรรพบุรุษ ส่วนใหญ่เก็บรักษาไว้ในวัดและโดยปราชญ์ชาวบ้านที่อ่านอักขระล้านนาได้ บทบาทสำคัญของปราชญ์ชาวบ้านเหล่านี้ได้ช่วยเหลือคนในชุมชนจากความรู้ในพับสา ผ่านพิธีกรรมการสืบชะตา การสะเดาะเคราะห์ เป็นต้น สำหรับการปริวรรตพับสาแพทย์พื้นบ้าน จำแนกเป็น 3 ด้าน 1) พิธีกรรมบำบัด (จิตบำบัด) ปริวรรตได้ 2 เล่ม 2) อาหารบำบัด ปริวรรตได้ 4 เล่ม และ 3) การประพฤติปฏิบัติตามสิ่งแวดล้อมและสิ่งเหนือธรรมชาติ ปริวรรตได้ 2 เล่ม เนื้อหาที่บันทึกประกอบด้วย 1) พิธีกรรมบำบัด ได้แก่ คำไหว้คุณหลวง และพิธีสู่ขวัญควาย               2) อาหารบำบัด แบ่งการวิเคราะห์สูตรยา ดังนี้ (1) สูตรยาสมุนไพร แบ่งตามอาการของโรค สูตรยารักษาโรคสันนิบาต (ยารักษาอาการชัก) เป็นต้น (2) ยาสมุนไพร แบ่งตามเภสัชวัตถุ พืชวัตถุ เป็นต้น และ 3) การประพฤติปฏิบัติตามสิ่งแวดล้อมและสิ่งเหนือธรรมชาติ มีการบันทึกองค์ความรู้เกี่ยวกับฤกษ์ยาม เช่น บันทึกแม่วันหนไท บันทึกวันเม็ง วันป่วย และวันสำคัญอื่น ๆ  

References

กันทิมา สิทธิธัญกิจ และพรทิพย์ เติมวิเศษ (บรรณาธิการ). (2547). คู่มือประชาชนในการดูแลสุขภาพด้วยการแพทย์แผนไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

คะนึงนิตย์ ชื่นค้า. การรวบรวมความรู้ด้านการวินิจฉัยโรคและแนวทางการรักษาทางการแพทย์พื้นบ้านในจังหวัดฉะเชิงเทรา. สืบค้นเมื่อ 12 ธันวาคม 2552, จาก http://sites.google.com/site/fhlbd49/rabb-sukhphaph-thxng-thin/thxd-bth-reiyn-rup-baeb

จีรเดช มโนสร้าย และอรัญญา มโนสร้อย. (2537). เภสัชกรรมล้านนา: ตำรับสมุนไพรล้านนา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

ประทีป ชุมพล. (2550). เวชศาสตร์ฉบับหลวงกับการบูรณาการการแพทย์แผนไทย ศึกษากรณีในเขตกรุงเทพมหานคร. กรุงเทพมหานคร: คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.

เพ็ญนภา ทรัพย์เจริญ. (2548). การดูแลสุขภาพแบบพึ่งตนเองด้วยยาสมุนไพรในงานสาธารณสุขมูลฐาน. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิการแพทย์แผนไทยพัฒนา.

มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย. (2542). สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่มที่ 1. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย. (2542). สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่มที่ 2. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย. (2542). สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่มที่ 5. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย. (2542). สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่มที่ 6. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย. (2542). สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่มที่ 7. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย. (2542). สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่มที่ 12. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย. (2542). สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่มที่ 13. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย. (2542). สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่มที่ 14. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย. (2542). สารานุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคเหนือ เล่มที่ 15. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์.

ยิ่งยง เทาประเสริฐ และกันยานุช เทาประเสริฐ. (2547). ตำราการแพทย์พื้นบ้านล้านนา สาขาหมอยา. ม.ป.ท. ชุดโครงการวิจัยการแพทย์พื้นบ้านและการแพทย์ชนเผ่าภาคเหนือ.

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพะเยา. (2551). การอนุรักษ์และฟื้นฟูภูมิปัญญาแพทย์พื้นบ้านเพื่อการดูแลสุขภาพ ตำบลห้วยแก้ว อำเภอภูกามยาว จังหวัดพะเยา. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดพะเยา.

เสาวภา พรสิริพงษ์. (2538). การแพทย์พื้นบ้านกับสมุนไพร. ใน การสัมมนาวิชาการการแพทย์แผนไทยกับสังคมไทย, หน้า 25-43. กรุงเทพมหานคร: ม.ป.พ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28