แรงจูงใจในการบรรพชาอุปสมบทหมู่เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลในงานพระบรมศพ

ผู้แต่ง

  • พระณัฏฐกฤศ อุดมผล วัดศรีวนาราม อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
  • กรรณิการ์ ขาวเงิน วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุนทราภรณ์ เตชะพะโลกุล วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • นาฎนภางค์ โพธิ์ไพจิตร์ วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ชมพูนุช ช้างเจริญ วิทยาลัยพุทธศาสตร์นานาชาติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบรรพชาอุปสมบทหมู่, ในหลวงรัชกาลที่ 9, งานพระราชพิธีพระบรมศพ

บทคัดย่อ

          การวิจัยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาแรงจูงใจของประชาชนที่มีต่องานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร 2) เพื่อศึกษาแนวปฏิบัติในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบรรพชาอุปสมบทเพื่อถวายเป็นพระราชกุศลในงานพระบรมศพฯ และ 3) เพื่อสร้างรูปแบบแรงจูงใจและแนวปฏิบัติของประชาชนที่มีต่องานพระบรมศพฯ งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี แบ่งเป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก การประชุมกลุ่มย่อย การสังเกตการณ์แบบมีส่วนร่วม และงานวิจัยเชิงปริมาณด้วยการทำแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ทฤษฎีแรงจูงใจของแม็คเคลแลนด์

          ผลการวิจัย พบว่า จากการเก็บข้อมูลประชากรกลุ่มตัวอย่าง 654 คน ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 50.46 อายุระหว่าง 41-50 ปี คิดเป็นร้อยละ 25.23 ระดับการศึกษาปริญญาตรีมีจำนวนมากที่สุด ร้อยละ 36.39 ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 33.49 ส่วนผลการวิจัยด้านแรงจูงใจ พบว่า แรงจูงใจของประชาชนในงานพระบรมศพฯ โดยรวมในระดับมากที่สุด (gif.latex?\bar{x}=4.55) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ด้านความผูกพัน ระดับมากที่สุด (gif.latex?x\bar{}=4.61) รองลงมา คือ ด้านการแสดงพลัง ระดับมากที่สุด (gif.latex?x\bar{}=4.56) และด้านผลสำเร็จ ระดับมากที่สุด (gif.latex?x\bar{}=4.46) สำหรับแนวปฏิบัติซึ่งมีหลายด้านนั้น เมื่อพิจารณาเฉพาะด้านการบรรพชาอุปสมบทหมู่ถวายเป็นพระราชกุศล พบว่า แรงจูงใจที่เข้าร่วมโครงการ คือ 1) เพื่อน้อมรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณ 2) เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล 3) เพื่อศึกษาพระธรรมและขัดเกลาตัวเองตามพระธรรมวินัย 4) เพื่อทดแทนคุณบิดามารดา 5) เพื่อรักษากาย วาจา ใจ ให้บริสุทธิ์ 6) ศรัทธาในพระพุทธศาสนา

References

กนกพร กระจางแสง. (2560). อิทธิพลของแรงจูงใจในการทำงานและการสนับสนุนจากองค์กรที่ส่งผลต่อคุณภาพในการปฏิบัติงานผ่านความผูกพันต่อองค์กรของบุคลากรโรงพยาบาลนครธน. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี. 11 (กันยายน – ธันวาคม), 116 – 129.

กรมศิลปากร. (2560). ธรรมเนียมปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดงานพระบรมศพ, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม.

กรมศิลปากร. (2560). สารานุกรมคำศัพท์เนื่องในพระราชพิธีพระบรมศพและพระศพ. กรุงเทพมหานคร: กรมศิลปากร กระทรวงวัฒนธรรม.

กรมศิลปากร. (2561). เครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศ งานพระบรมศพพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ.

ปัญญา ศรีลารักษ์. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพลังอำนาจครูในสามจังหวัดชายแดนใต้. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้. 7 (กรกฎาคม – ธันวาคม), 87 – 93.

McClelland, D. C. (1973). Testing for Competence rather than for Intelligence. American Psychologist. 25 (January), 1-14.

McClelland, D. C. and Burnham, D. H. (2008). Power is the Great Motivator. Boston: Harvard Business School Publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-06-28