การวิจัยและพัฒนาสถานีโทรทัศน์ชุมชน “พะเยาทีวี”

ผู้แต่ง

  • ชัยวัฒน์ จันธิมา สถาบันปวงผญาพยาว
  • สหัทยา วิเศษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

คำสำคัญ:

โทรทัศน์ชุมชน, พะเยาทีวี, การพัฒนาสถานีโทรทัศน์ชุมชน

บทคัดย่อ

           การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิจัยและพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสถานีโทรทัศน์ชุมชนที่เข้มแข็งและหยัดยืนได้ด้วยตนเอง เพื่อออกแบบและผลิตเนื้อหารายการโทรทัศน์ที่มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับบริบทชุมชน และเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนให้มีบทบาทสนับสนุนและเป็นเจ้าของสื่อโทรทัศน์ในอนาคต โดยใช้พื้นที่ในจังหวัดพะเยาและเชียงรายในการวิจัยและทดลองปฏิบัติการ

          ผลการวิจัย พบว่า 1. การบริหารจัดการสถานีโทรทัศน์ชุมชน “พะเยาทีวี”  มีโครงสร้างและการบริหารจัดการองค์กร โดยแบ่งเป็น 1) กลุ่มคนในรูปแบบสมาคมที่ไม่แสวงหากำไร มีบทบาทหน้าที่ในการประสานงานเครือข่ายต่าง ๆ เข้ามาร่วมกิจกรรมและจัดหาทุนเพื่อใช้ในการดำเนินงานต่าง ๆ 2) คณะกรรมการนโยบายมาจากการสรรหาโดยเครือข่ายและภาคส่วนต่าง ๆ มีบทบาทเป็นที่ปรึกษาและให้คำแนะนำในการบริหารจัดการ และ 3) คณะทำงานบริหารสถานีประกอบด้วยฝ่ายบริหารสถานี ฝ่ายเทคนิคและเผยแพร่ ฝ่ายข่าวและรายการ ฝ่ายชุมชนและการมีส่วนร่วม และฝ่ายวิจัยและพัฒนา เพื่อผลิตเนื้อหาบริการชุมชนโดยใช้สตูดิโอ 3 รูปแบบ 2. การออกแบบเนื้อหารายการใช้กระบวนการมีส่วนร่วม โดยการประชุมกองบรรณาธิการร่วมเพื่อออกแบบรายการ วางแผนการผลิตรายการและกำหนดผังรายการ โดยมีรูปแบบการผลิต 3 ประเภท เนื้อหารายการครอบคลุมทั้ง 13 ประเด็นตามแบบจำลองโทรทัศน์ชุมชนที่ได้ศึกษาโดยสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) 3. การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนให้มีบทบาทสนับสนุนและเป็นเจ้าของสื่อโทรทัศน์ในอนาคต พบว่า ชุมชนและภาคส่วน ต่าง ๆ เข้ามามีส่วนร่วมผ่านกิจกรรมสาธารณะ การถ่ายทอดสดเพื่อประชาสัมพันธ์ การสนับสนุนและบริจาคเงินทุนในโอกาสต่าง ๆ การจัดนิทรรศการและการอบรมให้ความรู้ด้านการผลิตสื่อชุมชน

References

กาญจนา แก้วเทพ และคณะ. (2554). สื่อที่ใช่ ของใครที่ชอบ: การ์ตูน โทรทัศน์ท้องถิ่น แฟนคลับ. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภัทรา บุรารักษ์. (2557). รูปแบบการจัดการทีวีชุมชนของภาคชุมชนในประเทศไทย. วารสารศาสตร์ฉบับ Seeing Is Believing. 8 (3), 40-79.

ภัทรา บุรารักษ์. (2554). การสร้างการมีส่วนร่วมระหว่างโทรทัศน์สาธารณะกับภาคประชาสังคมเพื่อการพัฒนาสถานีภูมิภาค. วารสารนิเทศศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 29 (2), 1-17.

ภัทรา บุรารักษ์. (2551). การศึกษาโทรทัศน์ส่วนภูมิภาค: การกำเนิดการดำรงอยู่และการพัฒนา. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรดุษฎีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Balit S. In Foreword. White, S. A. (ed.). (2002). Participatory Video Images that Transform and Empower. New Delhi: Sage Publication India Pvt Ltd.

Boafo, S. T. K. Introduction in Boafo, S.T.K. (ed). (2000). Promoting Community Media in Africa, (pp. 5-10). UNESCO.

Carpentier, N. (2011). Media and Participation: A Site of Ideological-democratic Struggle. Chicago: The University of Chicago Press

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2019-04-07