การมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการใช้อำนาจภาครัฐ ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560
คำสำคัญ:
การมีส่วนร่วมของประชาชน, การใช้อำนาจภาครัฐ, รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560บทคัดย่อ
การมีส่วนร่วมของประชาชน คือ กระบวนการที่ประชาชนได้เข้าร่วมในการแสดงทัศนะ ร่วมแสดงแนวทางและร่วมรับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ภายใต้แนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับการมีส่วนร่วมของประชาชน ที่จะสร้างให้เป็นที่ยอมรับว่า อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนทุกคนในฐานะผู้มีสิทธิ แต่ประชาชนไม่สามารถใช้อำนาจอธิปไตยได้ด้วยตนเอง จึงเกิดกลไกการใช้อำนาจดังกล่าวผ่านทางสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร การมีส่วนร่วมในฐานะที่เป็นสิทธิขั้นมูลฐานของมนุษย์ คือ สิทธิอันชอบธรรมที่จะมีส่วนร่วมในการแสดงความคิดเห็นหรือวิพากษ์วิจารณ์ ภายใต้เงื่อนไขที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญซึ่งไม่ขัดต่อหลักนิติธรรม
ภาครัฐได้ส่งเสริมให้ประชาชนมีส่วนร่วมทางการเมืองทั้งในเรื่องของความรู้ความเข้าใจ การมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ และการมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐ การมีส่วนร่วมของประชาชนในการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 จะมีประสิทธิภาพได้ต้องอาศัยปัจจัยสี่ประการ คือ 1) ด้านสภาพสังคมและเศรษฐกิจ 2) ด้านโครงสร้างและกระบวนการทางการเมือง 3) ด้านจริยธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย และ 4) ด้านรัฐให้ความรู้แก่ประชาชนเกี่ยวกับอันตรายที่เกิดจากการทุจริตและประพฤติมิชอบทั้งในภาครัฐและภาคเอกชน
References
เกรียงศักดิ์ เจริญวงศักดิ์. (2547). กลเม็ดเด็ดปกคอร์รัปชั่น. กรุงเทพมหานคร: ซัคเซสมีเดีย.
คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาสอบสวนและศึกษาเรื่องเกี่ยวกับการทุจริต วุฒิสภา. (2549). กระบวนการโกงชาติ. กรุงเทพมหานคร: คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา สอบสวนและศึกษาเรื่องเกี่ยวกับการทุจริตวุฒิสภา.
จรัส สุวรรณมาลา. (2546). จุดบอดบนทางสู่ธรรมาภิบาล: บทบาทของบอร์ดองค์การมหาชน. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ช้องนาง ชาสิงห์แก้ว. (2547). พฤติกรรมการรักษาสมบัติสาธารณะและการเสริมสร้างจิตสำนึก สาธารณะของชุมชนภูเวียง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ชัชวาล ทองดีเลิศ. (2543). บันทึกลับ NGO กำเนิดและพัฒนาการขององค์กรพัฒนาภาคเหนือ. เชียงใหม่: กลางเวียงพิมพ์ จำกัด.
ชาย โพธิสิตา และคณะ. (2540). รายงานการศึกษาวิจัยเรื่อง จิตสำนึกต่อสาธารณสมบัติ: ศึกษากรณีกรุงเทพมหานคร. นครปฐม: สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.
ฐากูน ศิริยุทธ์วัฒนา. (2559). กฎหมายรัฐธรรม: พื้นฐานกฎหมายรัฐธรรมนูญและระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพนมหานคร: วิญญูชน.
ธเนศวร์ เจริญเมือง. (2551). ทฤษฎีและแนวคิด: การปกครองท้องถิ่นกับการบริหารจัดการท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: โครงการจัดพิมพ์คบไฟ.
ธานินทร์ กรัยวิเชียร. (2510). กฎหมายกับการฉ้อราษฎร์บังหลวง. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักนายกรัฐมนตรี.
นคร พจน์วรพงษ์ และคณะ. (2560). ข้อมูลเหตุการณ์การเมืองไทยภายใตรัฐธรรนูไทย ในอดีตปัจจุบันและรัฐธรรมนูญแห่งราชอาจักรไทย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร: ภีรภาส.
ไพบูลย์ วัฒนศิริธรรม. (2552). ป.ป.ช. จะแข็งแกร่งการเมืองภาคประชาชนต้องเข้มแข็ง. สรุปการบรรยาย ณ โรงแรมแกรนด์ เมอร์เคียว ฟอร์จูน กรุงเทพมหานคร วันที่ 13 พฤษภาคม 2552 สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.
ภาณินี กิจพ่อค้า และคณะ. (2550). มาตรการคุ้มครองภาคประชาชนที่มีส่วนร่วมในการป้องกันและ ปราบปรามคอร์รัปชัน. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงยุติธรรมและมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก, 6 เมษายน, 2560.
รุ่งโรจน์ เพชรบูระณิน. (2541). เครือข่ายภาคประชาชนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการทุจริต. คอร์รัปชัน: กรณีศึกษา เครือข่ายประชาชนต้านคอร์รัปชัน (คปต.). วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
วัชระ ดวงนภา. (2547). มูลเหตุที่เป็นแนวโน้มไปสู่การใช้สิทธิตรวจสอบอำนาจรัฐของประชาชน ศึกษา ประชากรที่มาขอรับบริการที่สำนักงานที่ดินจังหวัดจันทบุรี สาขามะขาม. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
วันชัย ศรีนวลนัด. (2544). บทบาทของประชาสังคมกับการป้องกันและปราบปรามการทุจริต. เอกสารส่วนบุคคล. สถาบันพระปกเกล้า.
สังศิต พิริยะรังสรรค์. (2549). คอร์รัปชันแบบเบ็ดเสร็จ, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ร่วมด้วยช่วยกัน.
เสกสรร ประเสริฐกุล. (2547). บทบาทของการเมืองภาคประชาชนในการพัฒนาระบอบ ประชาธิปไตยไทย. รายงานการวิจัย. ทุนปรีดี พนมยงค์ มูลนิธิ 50 ปี ธนาคารแห่งประเทศไทย.
เสาวนีย์ ไทยรุ่งเรือง และคณะ. (2553). โครงการประเมินสถานการณ์ด้านการทุจริตในประเทศไทย. รายการงานวิจัย. สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.).
แสวง บุญเฉลิมวิภาส และคณะ. (2551). การศึกษาพันธกรณีและความพร้อมของประเทศไทยใน การปฏิบัติตามอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการต่อต้านการทุจริต ค.ศ. 2003. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ.