คุณค่าของสุภาษิตพระร่วงที่มีต่อสังคมไทย

ผู้แต่ง

  • ประพันธ์ กุลวินิจฉัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ความเป็นไทย, สุภาษิตพระร่วง, สังคมไทย, วรรณคดีไทย

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาวิเคราะห์ความเชื่อในสุภาษิตพระร่วง 2. เพื่อศึกษาคุณค่าของสุภาษิตพระร่วงที่มีต่อการดำเนินชีวิตของสังคมไทย การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยมีขั้นตอน ดังนี้ 1. การค้นคว้าเชิงประวัติศาสตร์เพื่อแสวงหาข้อเท็จจริง 2. การสืบค้นสุภาษิตพระร่วง 3. การนำมาวิเคราะห์กับหลักธรรมในพระพุทธศาสนา 4. การประเมินคุณค่าสุภาษิตพระร่วงที่มีต่อการดำเนินชีวิตของสังคมไทย

          ผลการวิจัย พบว่า สุภาษิตพระร่วงเป็นคำสอนที่มีลักษณะสอดคล้องกับหลักธรรมในพระพุทธศาสนา ซึ่งเป็นพระราชกุศโลบายของพระมหากษัตริย์ในการประยุกต์เป็นหลักการปกครองบ้านเมือง และคุณค่าของสุภาษิตพระร่วงที่มีต่อการดำเนินชีวิตของสังคมไทย จะพบสุภาษิตที่เกี่ยวกับวิถีชีวิตคนไทย เช่น 1) เมื่อน้อยเรียนวิชา 2) ให้หาสินมาเมื่อใหญ่ 3) อย่าใฝ่เอาทรัพย์ท่าน 4) อย่าริร่านแก่ความ นอกจากนี้ยังพบหลักคำสอนที่ปรากฏในสุภาษิต ซึ่งสอดคล้องกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น 1) สันโดษ 2) วาจาสัตย์ 3) เมตตา 4) ริษยา 5) โลภะ โดยที่สันโดษ วาจาสัตย์ และเมตตา จัดเป็นกุศลธรรมที่ควรเจริญให้เกิดปัญญา ส่วนริษยาและโลภะจัดเป็นอกุศลธรรมที่ควรละเพื่อมิให้เกิดทุกข์  

References

กรมวิชาการ. (2542). ประชุมสุภาษิตพระร่วง. กรุงเทพมหานคร: สถาบันภาษาไทย กระทรวงศึกษาธิการ.

กรมศิลปากร. (2505). สุภาษิตพระร่วงและนางนพมาศ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สหกรณ์ขายส่งแห่งประเทศไทย.

กรมศิลปากร. (2511). สุภาษิตพระร่วง สุภาษิตพระร่วงคำโคลงและโคลงสุภาษิตเรื่องพระร่วง ศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์รวมมิตรไทย.

กรมศิลปากร. (2529). จารึกในประทศไทย เล่ม 5. กรุงเทพมหานคร: หอสมุดแห่งชาติ.

จอมพล ป. พิบูลสงคราม และท่านผู้หญิงละเอียด พิบูลสงคราม. (2498). ประวัติศาสตร์สุโขทัย (ภาค 1). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ไทยบริการ.

ปัญญา บริสุทธิ์. (2523). โลกทัศน์ของคนไทย: วิเคราะห์จากวรรณคดีคำสอนสมัยสุโขทัย. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2548). อมฤตพจนา. กรุงเทพมหานคร: เพชรกะรัด.

พระยาประชากิจกรจักร (แช่ม บุญนาค). (2507). พงศาวดารโยนก, พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: คลังวิทยา.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 1, 9, 10, 13, 15, 20, 21, 25, 27. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มาลัย จุฑารัตน์. (2552). ราชาธิราช. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดี.

สนิท ตั้งทวี (ผศ.). (2528). วรรณคดีและวรรณกรรมไทยเบื้องต้น. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ O.S. Printing House.

สมศรี ชัยวณิชยา. (2536). คติความเชื่อเรื่องพระร่วงในงานเขียนประวัติศาสตร์ไทย ตั้งแต่รัชกาลที่ 1 ถึงรัชกาลที่ 6. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตร มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุกัญญา สุจฉายา. (2542). พระร่วง: วีรบุรุษในประวัติศาสตร์และวีรบุรุษทางวัฒนธรรม. วารสารภาษาและวรรณคดีไทย. 16 (ธันวาคม), 202-216.

สุกัญญา สุจฉายา. (2543). การสร้างชาติและท้องถิ่นจากคติชน. วารสารภาษาและวรรณคดีไทย. 17 (ธันวาคม), 104-105.

อุทัย ไชยานนท์. (2545). ยอดวรรณกรรมสมัยสุโขทัย. กรุงเทพมหานคร: น้ำฝน.

อุทัย ไชยานนท์. (2549). สุภาษิตพระร่วง. กรุงเทพมหานคร: แสงดาว.

Geengong, Prapan. (1981). The Political and the Cultural History of Thailand during Sukhothai Period. India: Master’s Degree Dissertation, Magadh University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-09-12