บันทึกโบราณของพระครูศรีวิราชวชิรปัญญา เมืองพะเยา

ผู้แต่ง

  • วิมล ปิงเมืองเหล็ก นักวิชาการอิสระ
  • พูล พัฒใหม่ นักวิชาการอิสระ
  • จักรแก้ว นามเมือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • คนอง วังฝายแก้ว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • มงคลกิตติ์ โวหารเสาวภาคย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

คำสำคัญ:

บันทึกโบราณ, พระครูศรีวิราชวชิรปัญญา, เมืองพะเยา

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1. เพื่อแสวงหาความเป็นมาและจุดมุ่งหมายเกี่ยวกับคัมภีร์โบราณเมืองพะเยา 2. เพื่อวิเคราะห์บันทึกโบราณของพระครูศรีวิราชวชิรปัญญา การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร โดยการศึกษาวิเคราะห์บันทึกโบราณของพระครูศรีวิราชวชิรปัญญา ในช่วงปี พ.ศ. 2404-2475 มีจำนวน 11 เล่ม

           ผลการวิจัย พบว่า 1. คัมภีร์โบราณเมืองพะเยามีความเจริญรุ่งเรืองในช่วงพุทธศตวรรษที่ 21 โดยจารึกเป็นอักษรฝักขาม เนื้อหาแบ่งเป็น 2 เรื่อง คือ 1) ประวัติการสร้างวัด 2) ความผูกพันของอำนาจระหว่างเมืองเชียงใหม่กับเมืองพะเยา 2. ความเป็นมาของบันทึกพระครูศรีวิราชวชิรปัญญา (ปินตา วชิรปญฺโญ) เป็นลักษณะของการบันทึกประจำวันที่เกี่ยวกับเหตุการณ์และพิธีกรรมสำคัญทางพระพุทธศาสนา3. จุดมุ่งหมายของการเขียนคัมภีร์โบราณเมืองพะเยา แบ่งเป็น 2 ยุค คือ 1) ยุคก่อนสมัยพระเจ้าติโลกราช และ 2) ยุคหลังพระเจ้าติโลกราช 4. จุดมุ่งหมายของบันทึกพระครูศรีวิราชวชิรปัญญา มีดังนี้ 1) เกิดจากอุปนิสัยการชอบเขียนของผู้บันทึก 2) เพื่อรายงานทางราชการ 3) เกิดจากการเป็นปราชญ์ผู้รู้ของชุมชน 4) เพื่อบันทึกและรวบรวมเอกสารโบราณและคำบอกเล่าของผู้รู้ 5. จากการวิเคราะห์บันทึกของพระครูศรีวิราชวชิรปัญญาพบว่า 1) ด้านประวัติศาสตร์ มีเหตุการณ์สำคัญ 2 กรณี คือ กรณีกบฏเงี้ยว และกรณีการบูรณะพระวิหารวัดพระเจ้าตนหลวง 2) ด้านสังคมและวัฒนธรรม มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองราชอาณาจักรและพุทธจักร 3) ด้านวิถีชีวิตและภูมิปัญญา มีการดำเนินวิถีชีวิตแบบชาวล้านนาโบราณที่มีความสัมพันธ์แบบเครือญาติและมีวัดเป็นศูนย์กลาง 4) ด้านอักษรศาสตร์ มีบันทึกด้วยอักษรล้านนา (ตัวเมือง)

References

คงเดช พรมยา. (ม.ป.ป.). ตุง ภูมิปัญญาชาวลล้านนา. พะเยา: สำนักงานศึกษาธิการอำเภอเมืองพะเยา.

ชัยมงคล อุดมทรัพย์. (ม.ป.ป.). คัมภีร์ไสยศาสตร์ ฉบับสมบูรณ์. กรุงเทพมหานคร:ศิลปาบรรณาคาร.

ทรงศักดิ์ ปรางค์วัฒนากุล. (2524). เปรียบเทียบลักษณะวรรณกรรมท้องถิ่นลานนา อีสาน และใต้. ในเอกสารประกอบการสัมมนาทางวิชาการ เมื่อวันที่ 26-28 ตุลาคม 2524. เชียงใหม่: คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ประคอง กระแสชัย. (2534). วิเคราะห์วรรณกรรมคำสอนล้านนาไทย เรื่องธรรมดาสอนโลก. ลำปาง: ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดลำปาง วิทยาลัยครูลำปาง.

ประคอง นิมมานเหมินทร์. (2526). มหาชาติลานนา: การศึกษาในฐานะเป็นวรรณกรรมท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2539). พจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525, พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์.

พรรณเพ็ญ เครือไทย. (2540). วรรณกรรมพุทธศาสนาในล้านนา. กรุงเทพมหานคร: โอ เอส พริ้นต้งเฮ้าส์.

พระเทพวิสุทธิเวที. (2531). ประวัติศาสตร์เมืองพะเยายุคหลัง. กรุงเทพมหานคร: พิฆเณศ พริ้นติ้ง เซ็นเตอร์.

พระเมธีธรรมาภรณ์. (2539). การปกครองคณะสงฆ์ไทย. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิพุทธธรรม.

พระธรรมวิมลโมลี. (2540). บันทึกประวัติศาสตร์ของพระครูศรีวิราชวชิรปัญญา.ในบันทึกประวัติศาสตร์ของพระครูศรีวิราชวชิรปัญญา อดีตเจ้าคณะอำเภอเมืองพะเยา เจ้าอาวาสวัดราชคฤห์ อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา เนื่องในวโรกาสฉลองสมณศักดิ์ที่พระราชวิริยสุนทร. พะเยา: โรงพิมพ์เจริญอักษร.

พิเศษ เจียจันทร์พงษ์. (2538). จารึกเมืองพะเยา. กรุงเทพมหานคร: มติชน.

วิมล ปิงเมืองเหล็ก. (ม.ป.ป). เดือนแปดเป็ง วันเกิดพระเจ้าตนหลวง. พะเยา: สำนักงานศึกษาธิการอำเภอเมืองพะเยา.

สถาบันวิจัยสังคม. (2533). รายชื่อหนังสือโบราณล้านนา: เอกสารไมโครฟิล์ม. สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สมเจตน์ วิมลเกษม. (ม.ป.ป). แบบเรียนภาษาล้านนา. เชียงใหม่: เจริญวัฒน์การพิมพ์.

สุจิตต์ วงษ์เทศ. (2538). ประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรมเมืองพะเยา. กรุงเทพมหานคร: มติชน.

อนันท์ กาญจนพันธ์ และฉลาดชาย รมิตานนท์. (ม.ป.ป). พิธีกรรมและความเชื่อล้านนา: การผลิตใหม่ของอำนาจทางศีลธรรม. พะเยา: สำนักงานศึกษาธิการอำเภอเมืองพะเยา.

อรุณรัตน์ วิเชียรเขียว. (ม.ป.ป). วรรณกรรมลายลักษณ์: คัมภีร์ใบลาน. พะเยา: ม.ป.ท.

อินสม ไชยชมภู. (2534). เขียนหนังสือล้านนาด้วยตนเอง. เชียงใหม่: ธาราทองการพิมพ์.

อุดม รุ่งเรืองศรี. (ม.ป.ป). วรรณกรรมล้านนา. ม.ป.ท.

เอื้อ มณีรัตน์. (2533). แบบเรียนภาษาล้านนา. กรุงเทพมหานคร: พิฆเณศ พริ้นติ้งเซ็นเตอร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-29