การส่งเสริมการคิดวิเคราะห์เชิงบูรณาการจากการนำเสนองานกลุ่มด้วยคำถามปลายเปิด

ผู้แต่ง

  • พระมหาไกรสร โชติปญฺโญ (แสนวงค์) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน

คำสำคัญ:

การนำเสนองานกลุ่ม, คำถามปลายเปิด, การคิดวิเคราะห์เชิงบูรณาการ

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการจัดการเรียนรู้ภายใต้กระบวนการทำงานกลุ่มโดยเน้นการนำเสนองานในห้องเรียนตามประเด็นคำถามปลายเปิด 2) เพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์เชิงบูรณาการ กลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ นิสิตปริญญาตรีสาขาวิชารัฐศาสตร์ รายวิชาความรู้เบื้องต้นทางความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่ วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน จำนวน 73 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) โครงร่างการทำงานกลุ่มศึกษาค้นคว้าเพื่อนำเสนอในห้องเรียนจำนวน 7 กลุ่ม 2) แบบสังเกตพฤติกรรมการนำเสนองานของกลุ่มผู้เรียน 3) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างโดยการตั้งคำถามเพื่อสุ่มผู้เรียนในการตอบคำถาม 4) แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน จำนวน 5 ข้อ

          ผลการศึกษา พบว่าการศึกษาและการนำเสนองานของนิสิตในห้องเกิดแรงกระตุ้นในการวิเคราะห์และศึกษาเนื้อหาเพิ่มเติม นิสิตสามารถตอบโจทย์ประเด็นคำถามปลายเปิดได้ ทั้งนี้ต้องอาศัยการศึกษาค้นคว้าจากข้อมูลต่าง ๆ และเมื่อมีการนำเสนอในห้องเรียน การสอบถามจากผู้สอน และการให้ผู้ฟังตั้งคำถามเพื่อเสาะหาองค์ความรู้ใหม่ ปรากฏว่ากลุ่มที่นำเสนอแสดงเหตุผลอย่างชัดเจน ใช้ตัวอย่างประกอบอธิบายได้ถูกต้อง แต่การแสดงความแนวคิดและการนำข้อมูลจากภายนอกมาอธิบายยังไม่สมบูรณ์ และไม่มีการเปรียบเทียบอย่างชัดเจน และสามารถขยายคำตอบของตนเองไปได้มากกว่าประเด็นหัวข้อที่มอบหมายในระดับดี กระบวนการเรียนการสอนแบบกลุ่มเพื่อนำเสนองานโดยเน้นประเด็นคำถามปลายเปิด จึงเป็นกระบวนการเรียนการสอนเพื่อสร้างแรงจูงใจและกระตุ้นให้นิสิตเกิดการค้นคว้าและเรียบเรียงเนื้อหาได้เป็นอย่างดี นอกจากนั้น ยังทำให้ผู้นำเสนอได้นำองค์ความรู้มาวิเคราะห์เชิงบูรณาการให้เพื่อนในห้องเรียนฟัง เกิดการซักถาม การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม องค์ความรู้จากการวิเคราะห์ในแต่ละกลุ่ม จึงเป็นองค์ความรู้ที่เพื่อนในห้องเรียนเกิดการสังเคราะห์ร่วมกัน และเป็นองค์ความรู้ใหม่ในการเรียนการสอนในรายวิชา

References

กรมวิชาการ. (2543). การวิจัยและพัฒนาศักยภาพของเด็กไทย. กรุงเทพมหานคร: กองวิจัยทางการศึกษา.

กัญญา สิทธิศุภเศรษฐ์. (2548). ผลการใช้กิจกรรมการตั้งคำถามที่มีต่อทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนที่มีความสามารถทางการเรียนแตกต่างกัน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จินตนา สุขมาก. (ม.ป.ป.). หลักการสอน. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยครูสวนสุนันทา สหวิทยาลัยรัตนโกสินทร์.

เจนสมุทร แสงพันธ์. (2548). การใช้คำถามปลายเปิดในการจัดการเรียนการสอนสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. เชียงใหม่: โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชาติ แจ่มนุช. (2545). สอนอย่างไรให้คิดเป็น. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง.

ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2526). เทคโนโลยีทางการศึกษา: หลักการและแนวปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: วัฒนพาณิช.

ดนัย ไชยโยธา. (2534). หลักการเรียนการสอนในสถาบันการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

ทองจันทร์ หงศ์ลดารมภ์. (2540). การเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นหลัก. เชียงใหม่: ข่าวสารกองบริการการศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ทิศนา แขมมณี และคณะ. (2530). การทดลองรูปแบบการฝึกทักษะการทำงานกลุ่มสำหรับนักเรียน. กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและกองวิชาการ สำนักงานการประถมศึกษาแห่งชาติ.

ทิศนา แขมมณี และคณะ. (2544). วิทยาการด้านการคิด. กรุงเทพมหานคร: เดอะมาสเตอร์กรุปแมเนจ.

ธนะพรหม พรหมวราธร. (2539). เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชางานเกษตรระหว่างการสอนแบบศูนย์การเรียนกับการสอนแบบปกติในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.

พระธรรมปิฎก. หลักการสร้างสรรค์ปัญญา ใน ปฏิรูปการศึกษาสร้างสรรค์ภูมิปัญญา. อุทัย ดุลยเกษม ธรรมเกียรติ กันอริ และวิวัฒน์ คติธรรมนิตย์ (บรรณาธิการ). (2539). กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์วิชาการและมูลนิธิสดศรี.

นิภา เมธธาวีชัย. (2536). การประเมินผลการเรียน, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ฝ่ายเอกสารตำราสถาบันราชภัฏธนบุรี.

บันลือ พฤกษะวัน. (2534). ยุทธศาสตร์การสอน. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนพาณิช.

บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2530). นวัตกรรมการศึกษา, พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: เจริญวิทย์การพิมพ์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2537). การพัฒนาการสอน. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาสน์.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2534). เทคนิคการสร้างเครื่องมือรวบรวมข้อมูลสำหรับการวิจัย, พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: บี แอนด์ บี พับลิชชิ่ง.

บุญธรรม กิจปรีดาบริสุทธิ์. (2535). การวัดและการประเมินผลการสอน, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: บี แอนด์ บี พับลิชชิ่ง.

ประนอม เดชชัย. (2531). นวัตกรรมการเรียนการอสอนและแนวปฏิบัติสังคมศึกษา. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ประหยัด จิระวรพงศ์. (ม.ป.ป.). หลักการและทฤษฎีเทคโนโลยีทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: อมรการพิมพ์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบันราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์อักษรเจริญทัศน์.

ลัดดา สุขปรีดี. (2523). เทคโนโลยีการเรียนการสอน. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.

วนิช สุธารัตน์. (2544). ความคิดและความคิดสร้างสรรค์. พระนครศรีอยุธยา: สถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.

วรรณทิพา รอดแรงค้า. (2530). การพัฒนาการคิดของนักเรียนด้วนกิจกรรมทักษะกระบวนการ. กรุงเทพมหานคร: เดอะมาสเตอร์กรุ๊ปแมนจามินต์.

สมศักดิ์ ภู่วิภาดาวรรธน์. (2542). เทคนิคการส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพาณิช.

สุวิทย์ มูลคำ. (2547). กลยุทธ์การสอนวิเคราะห์. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนการพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-10-20