ธรรมนูญกว๊านพะเยากับการเสริมสร้างพลังพลเมือง

ผู้แต่ง

  • ชัยวัฒน์ จันธิมา สถาบันปวงผญาพยาว
  • สหัทยา วิเศษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

คำสำคัญ:

การเสริมสร้างพลังพลเมือง, การสื่อสารสาธารณะ, ธรรมนูญกว๊านพะเยา

บทคัดย่อ

          การวิจัยมีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษากระบวนการเสริมสร้างพลังพลเมืองด้วยการสื่อสารสาธารณะ และ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างพลังพลเมืองด้วยการสื่อสารสาธารณะผ่านธรรมนูญกว๊านพะเยา งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยการสนทนากลุ่ม และถ่ายทอดโดยพะเยาทีวี

          ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการเสริมสร้างพลังพลเมืองด้วยการสื่อสารสาธารณะผ่านธรรมนูญกว๊านพะเยา เริ่มจากก่อนจัดเวทีได้ประชุมทำความเข้าใจบทบาทคณะทำงานในฐานะผู้เอื้อกระบวนการสื่อสาร การเตรียมข้อมูลธรรมนูญกว๊านพะเยาให้ผู้เข้าร่วมและผู้ชมได้เข้าใจเบื้องต้น ในช่วงการถ่ายทอด ได้สร้างบรรยากาศในการพูดคุย แจ้งให้ผู้ชมและผู้เข้าร่วมทราบถึงความเป็นมา หลังการถ่ายทอดสดได้ถอดบทเรียนกระบวนการ รวมทั้งการประเมินผลจากผู้ชมเพจพะเยาทีวีชุมชนในด้านการรับรู้ การมีส่วนร่วม และการสนับสนุนเชิงนโยบาย 2) รูปแบบการเสริมสร้างพลังพลเมืองด้วยการสื่อสารสาธารณะผ่านธรรมนูญกว๊านพะเยา รูปแบบแรก การสื่อสารสาธารณะระดับกลุ่มในห้องออกอากาศ ผู้เข้าร่วมเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เป้าหมายเพื่อสร้างวัฒนธรรมประชาธิปไตยในการวิพากษ์นโยบายสาธารณะอย่างสร้างสรรค์ รูปแบบที่สอง การสื่อสารสาธารณะระดับชุมชน ผู้เข้าร่วมเป็นกลุ่มคนหลากหลายในชุมชน กำหนดประเด็นการพูดคุยจากประโยชน์ที่เชื่อมโยงกับชุมชน สถานที่จัดเวทีเป็นสถานที่สาธารณะในชุมชน เป้าหมาย คือ การเข้าถึงพื้นที่สื่อเพื่อมีส่วนร่วมต่อประเด็นสาธารณะ รูปแบบที่สาม การสื่อสารสาธารณะระดับกว้าง ผู้ร่วมเวทีเป็นผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย เพื่อออกแบบนโยบายสาธารณะจากประเด็นของท้องถิ่น ช่องทางการสื่อสารได้ร่วมมือกับสื่อวิชาชีพในการออกอากาศ โดยใช้สถานที่สาธารณะ เพื่อเปิดกว้างให้ผู้รับฟังได้เสนอความคิดเห็น เป้าหมาย คือ ให้มีการเปลี่ยนแปลงในทางนโยบายที่เกิดจากการมีส่วนร่วมของชุมชน การสร้างกระบวนการประชาธิปไตยต่อกิจการสาธารณะ

References

เดวิด แมทธิวส์ เขียน, วันชัย วัฒนศัพท์ แปล. (2552). การเมืองภาคพลเมือง. ขอนแก่น: โรงพิมพ์ศิริภัณฑ์ออฟเซ็ต.

จารุวรรณ แก้วมะโน. (2555). รายงานการประเมินโครงการสร้างสำนึกพลเมือง. สำนักส่งเสริมการเมืองภาคพลเมือง สถาบันพระปกเกล้า.

ถวิลวดี บุรีกุล และคณะ. รายงานการวิจัยเพื่อศึกษาความเป็นพลเมืองในประเทศไทย. สถาบันพระปกเกล้า. (เอกสารอัดสำเนา).

ธงชัย สายแม่จัน. กระบวนการสื่อสารชุมชนท้องถิ่น. สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2561, จาก https://www.gotoknow.org/posts/65018

ธัญธัช วิภัติภูมิประเทศ. (2556). รายงานการวิจัยการศึกษาความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของ นักศึกษามหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ธญัศญา ธรรมิสกุล. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมจิตสาธารณะของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพวิทยาลัยเทคโนโลยอรรถวิทย์พณิชยการ. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยเทคโนโลยีอรรถวิทย์พณิชยการ.

ลดาวัลย์ แก้วสีนวล. (2552). การสื่อสารข้ามวัฒนธรรม: กรณีศึกษาชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิมในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส). สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2561, จาก https://www.isranews.org/thaireform-data-strategy/item/14040--3-.html

เลิศพร อุดมพงษ์. บทความการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง (Civic/Citizenship Education) ในการส่งเสริมบทบาทของภาคพลเมืองในการเมืองระบบตัวแทน: แนวทางที่ยั่งยืนผ่านประสบการณ์จากต่างประเทศ. สำนักวิจัยและพัฒนา สถาบันพระปกเกล้า (เอกสารอัดสำเนา).
วนิดา วินิจจะกูล. แนวคิดและเครื่องมือที่ควรรู้เพื่อการสื่อสารสาธารณะและกรณีศึกษารณรงค์เพื่อการไม่สูบบุ
หรี่. สืบค้นเมื่อ 30 มกราคม 2561, จาก http://www.tja.or.th/index.php?option=com_content&view=article&id= 1826:2010-06-29-10-47-04&catid=123:-11&Itemid=21.

วิสุทธิ์ โพธิแท่น. (2550). แนวคิดพื้นฐานของประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

สถาบันพระปกเกล้า. (2558). ดุลอำนาจในการเมืองการปกครองไทย. กรุงเทพมหานคร: เอพี.กราฟฟิค ดีไซน์และการพิมพ์.

สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล (วปส.) สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และสำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.). (2556). ปฏิรูปประเทศไทย ปฏิรูปโครงสร้างอำนาจ เพิ่มพลังพลเมือง. กรุงเทพมหานคร: อมรินทร์พริ้นติ้งและพับลิชชิ่ง.

สมชาย พงษ์พัฒนาศิลป์ และเผ่าพันธุ์ ชอบน้ำตาล. (2553). รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัดเจริญรัฐการพิมพ์.

สุรพล สุยะพรม. (2548). การเมืองการปกครองของไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2548). ความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

ศรัณยุ หมั้นทรัพย์. (2550). การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง: ฐานรากของการเมืองภาคพลเมือง. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.

Balit, S. In Foreword. White, S.A. (eds.), (2002). Participatory Video Images that Transform and Empower. New Delhi: Sage Publication India Pvt Ltd.

Boafo, S.T.K. (2000). Introduction in Boafo, S.T.K. (ed). Promoting Community Media in Africa, UNESCO.

Carpentier, N. (2011). Media and Participation: A Site of Ideological-democratic Struggle. Chicago: The University of Chicago Press.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-11-07