รูปแบบที่เหมาะสมในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์

ผู้แต่ง

  • อณิรา ธินนท์ สำนักงานพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ จังหวัดเชียงราย
  • สหัทยา วิเศษ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • ลชนา ชมตระกูล นักวิจัยอิสระ
  • สายอรุณ ปินะดวง นักวิจัยอิสระ

คำสำคัญ:

การค้ามนุษย์, ชายแดนไทย, เชียงราย

บทคัดย่อ

          การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำเนินมาตรการการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ตามแนวชายแดน และพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ตามแนวชายแดน ในอำเภอแม่สาย อำเภอเชียงแสน อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย การวิจัยนี้เป็นแบบผสานวิธี โดยใช้แบบสอบถาม และแนวคำถามประกอบการสนทนากลุ่ม

          ผลการวิจัยพบว่า สถานการณ์การค้ามนุษย์ในจังหวัดเชียงราย ได้แก่ การลักลอบนำคนเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย สถานประกอบการในภาคอุตสาหกรรม ธุรกิจบริการ/บันเทิงที่ใช้แรงงานต่างด้าว และการลักลอบหลบหนีเข้าเมือง โดยจังหวัดเชียงรายได้ดำเนินการมาตรการการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์อยู่ในระดับมาก คือ ด้านพัฒนากลไกเชิงนโยบายและการขับเคลื่อน ในการส่งเสริมกลไกการป้องกันและแก้ปัญหาค้ามนุษย์ ด้านดำเนินคดีคดีค้ามนุษย์ในประเด็นการดำเนินคดีกับผู้กระทำความผิดอย่างจริงจังและชัดเจน ไม่มีการเลือกปฏิบัติ ด้านป้องกันในประเด็นลดปัจจัยเสี่ยง มีการสร้างความรู้แก่กลุ่มเป้าหมาย มีการสร้างเครือข่ายการเฝ้าระวัง และเพิ่มประสิทธิภาพการตรวจประชากรกลุ่มเสี่ยง และด้านคุ้มครองช่วยเหลือผู้เสียหายในกระบวนการค้ามนุษย์ ในประเด็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการคัดแยกผู้เสียหาย รวดเร็วและเป็นธรรม ส่วนด้านพัฒนาความร่วมมือกับภาคีเครือข่าย ในประเด็นการสร้างความร่วมมือระหว่างภาคีเครือข่าย การขยายความร่วมมือระดับภูมิภาคและนานาชาติ อยู่ในระดับมากที่สุด โดยรูปแบบที่เหมาะสมในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ตามแนวชายแดน ควรมีการบริหารจัดการที่มีความสอดคล้องกับบริบทของพื้นที่ การสร้างความมั่นคงทางเศรษฐกิจของครัวเรือน สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน บูรณาการความร่วมมือกับเครือข่าย การสื่อสาร การใช้มาตรการทางกฎหมายต้องดำเนินคดีกับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์อย่างจริงจัง

References

กองวิชาการ สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2559). รวมงานวิจัย พม. ระหว่างปี พ.ศ. 2553-2556 ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนสามัญณัฐภร เพลท.

กิตติศักดิ์ เจิมสิทธิประเสริฐ และคณะ. (2558). การค้าประเวณีหญิงจากประเทศในแถบอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขงในประเทศไทย. รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สมาคมรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

ข่าวช่อง 8. (26 ธันวาคม 2559). 3 เมืองชายแดนจับมือต่อต้านการค้ามนุษย์ที่ จ.เชียงราย. สืบค้นเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2561, จาก https://www.thaich8.com/news_detail/ 21269/3-

คณะกรรมาธิการสังคม กิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการและผู้ด้อยโอกาส, สภานิติบัญญัติแห่งชาติ. (2559). รายงานการศึกษาดูงานปัญหาการค้ามนุษย์ จังหวัดพะเยาและจังหวัดเชียงราย. (เอกสารอัดสำเนา).

ทวีชัย ระเบียบ. (2555). กระบวนการค้าประเวณีหญิงข้ามชาติ: ศึกษากรณีหญิงต่างด้าวในจังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

สรายุทธ ยหะกร. (2558). การค้ามนุษย์ในประเทศไทย. วารสารศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. 5 (2), 106-118.

สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี. (2558). วารสารไทยคู่ฟ้า. เล่มที่ 22. กรุงเทพมหานคร: สำนักโฆษกสำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี.

สุรพี โพธิสาราช. (2558). สถานการณ์การบังคับใช้กฎหมายตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ พ.ศ. 2551: กรณีศึกษาอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. เชียงราย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-11-09