ปัจจัยที่มีผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน

ผู้แต่ง

  • สมยศ ปัญญามาก กองกำกับการปฏิบัติการพิเศษ กองบังคับการสืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 5

คำสำคัญ:

ความก้าวหน้าในอาชีพตำรวจ, ตำรวจชั้นประทวน, ตำรวจภูธรภาค 5

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน 2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับปัจจัยที่มีผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน และ 3) เพื่อเสนอแนะการแก้ไขปัญหาและแนวทางการส่งเสริมปัจจัยที่มีผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน ในสังกัดศูนย์สืบสวนสอบสวนตำรวจภูธรภาค 5 จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ข้าราชการตำรวจชั้นประทวน จำนวน 139 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และไคสแควร์ โดยนำเสนอข้อมูลแบบตารางประกอบการบรรยาย

          ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยที่มีผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ด้านเงินเดือน ด้านการเลื่อนขั้นในตำแหน่งหน้าที่ อยู่ในระดับมาก ส่วนด้านความมั่นคงในอาชีพด้านการปฏิบัติงาน อยู่ในระดับปานกลาง ผลการทดสอบสมมติฐานพบว่า ปัจจัยส่วนบุคคล ได้แก่ อายุ วุฒิการศึกษา อายุราชการ ระยะเวลาการปฏิบัติหน้าที่ในสำนักงานผู้บังคับบัญชา และสถานภาพสมรส มีความสัมพันธ์กันกับปัจจัยที่มีผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพข้าราชการตำรวจชั้นประทวนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05

References

กรมตำรวจ. (2540). แผนแม่บทฉบับที่ 4. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กรมตำรวจ.

คมสัน มั่นคงดี. (2544). ทัศนคติของนายตำรวจชั้นสัญญาบัตรในจังหวัดเชียงใหม่ต่อระบบบริหารงานบุคคลของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

จรัญ สุวรรณเวช. (2548). ปัจจัยที่มีผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรระดับรองผู้กำกับการในสังกัดตำรวจภูธร ภาค 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

เจริญ ถานะภิรมย์. (2548). ความต้องการพัฒนาความก้าวหน้าในอาชีพของคนงานก่อสร้างบริษัทไมวานประเทศไทย จำกัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎพระนคร.

ณภัทร ทินราช. (2545). ปัจจัยที่มีผลต่อความก้าวหน้าของข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรกรณีศึกษาตำรวจภูธรจังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ดุษฎี ชูสังกิจ. (2548). ทัศนคติของข้าราชการตำรวจต่อความก้าวหน้าในอาชีพ. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์. (2533). อุดมคติและจริยธรรมตำรวจ หลักการและประสบการณ์. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.

พรชัย กายขำ. (2548). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความก้าวหน้าในอาชีพของข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรกองบังคับการตำรวจนครบาล 9. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม.


พลเทพ เศวตาลัย. (2548). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความก้าวหน้าในอาชีพข้าราชการตำรวจสังกัดกองบังคับการสอบสวน กองบัญชาการตำรวจปราบปรามยาเสพติด. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

วันนิวัติ เกษตรสินธุ์. (2547). ทัศนคติต่อความก้าวหน้าในอาชีพของข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรกองบังคับการอำนวยการตำรวจภูธร ภาค 5. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สมพงษ์ เกษมสิน. (ม.ป.ป.) การบริหาร. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

สายนันท์ จันทรศัพท์. (2536). ปัจจัยที่มีผลต่อความก้าวหน้าในอาชีพของข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตร. ภาควิชารัฐศาสตร์: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อรรคเดช เตจ๊ะราษฎร์. (2543). ทัศนคติของข้าราชการตำรวจชั้นสัญญาบัตรในเขตจังหวัดเชียงใหม่ต่อการสอบเลื่อนตำแหน่งสูงขึ้น. วิทยานิพนธ์ปริญญา ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-12-06