การพัฒนาภาวะผู้นำตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

ผู้แต่ง

  • สุภัชชา พันเลิศพาณิชย์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์เชียงราย

คำสำคัญ:

ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง, ภาวะผู้นำ, การพัฒนาภาวะผู้นำ

บทคัดย่อ

          บทความนี้เป็นการศึกษาแนวคิดเรื่องภาวะผู้นำกับแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ภาวะผู้นำ หมายถึง ผู้ที่มีอำนาจในการชักชวนผู้อื่นให้ปฏิบัติตามอย่างเต็มใจ ผู้นำที่ดีต้องมีหลักปฏิบัติที่โน้มน้าวผู้ตามได้ เช่น การเป็นผู้รู้จักวางแผน การกำหนดนโยบาย การประสานงานทั้งภายนอกและภายใน รวมถึงการมีความรอบรู้ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ อย่างไรก็ตาม หลักปฏิบัติของผู้นำที่ดีพิจารณาจากแนวคิดที่หลากหลาย หนึ่งในนั้น คือ การปฏิบัติตามแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งประกอบด้วยหลัก 3 ห่วง 2 เงื่อน หลัก 3 ห่วง ได้แก่ 1) ความพอประมาณ 2) ความมีเหตุผล (ปัญญา)  3) การมีภูมิคุ้มกันความเสี่ยง (ความรอบคอบ) ส่วน 2 เงื่อน คือ เงื่อนไขความรู้กับคุณธรรม

          แนวคิดเหล่านี้ผู้นำสามารถนำไปปฏิบัติเพื่อพัฒนาตนและองค์กรให้เกิดความอย่างยั่งยืน ไม่ใช่เฉพาะการพัฒนาด้านเศรษฐกิจอย่างเดียวเท่านั้น การพัฒนาด้านอื่น ก็สามารถนำแนวคิดนี้ไปปฏิบัติได้  เช่น ผู้นำในองค์กรที่ต้องวิเคราะห์สถานการณ์อย่างเป็นกลาง ไม่เอนเอียงไปข้างใดข้างหนึ่ง หรือการปฏิบัติตนตามหลักทางสายกลางที่ไม่หย่อนไม่ตึงเกินไปตามหลักความพอประมาณ การมีเหตุมีผลในการพิจารณามอบหมายงาน และการมีหลักประกันในการทำงาน การคำนึงถึงผลกระทบทางสังคม ส่วนเงื่อนไขทั้งสอง คือ การแสวงหาองค์ความรู้เพื่อพัฒนาตนและองค์กรอยู่ตลอดเวลา  รวมถึงการปฏิบัติตนให้เป็นที่น่าเชื่อถือ และเป็นตัวอย่างที่ดีของผู้ตาม เมื่อผู้นำปฏิบัติได้ดังกล่าว จึงเป็นการนำแนวคิดปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงลงไปสู่ภาคปฏิบัติ และเกิดเป็นภาวะผู้นำที่ทันต่อสถานการณ์และพัฒนาองค์กรไปสู่ความเจริญอย่างมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนได้

References

คณะอนุกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจพอเพียง. (2548). เศรษฐกิจพอเพียงคืออะไร, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ.

ธานินทร์ กรัยวิเชียร. (2548). คุณธรรมและจริยธรรมของผู้บริหาร. กรุงเทพมหานคร: ชวนพิมพ์.

ประเวศ วสี. (2549). พระเจ้าอยู่หัวกับรหัสพัฒนาใหม่. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาพลังแผ่นดินเชิงคุณธรรม สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้ (องค์การมหาชน).

พระวิศิษฐกุล สิริปญฺโญ (สุดารัตน์). (2553). การประยุกต์หลักธรรมเพื่อพัฒนาผู้นำพึงประสงค์ในยุคโลกภิวัฒน์. รวมบทความวิทยานิพนธ์ระดับพุทธศาสตรมหาบัณฑิต โครงการสัมมนาเผยแพร่ผลงานวิทยานิพนธ์ประจำปีการศึกษา 2553.

ลีลาภรณ์ บัวสาย. (2549). เศรษฐกิจพอเพียง ร่วมเรียนรู้ สานข่าย ขยายผล. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

วิชิตวงศ์ ณ ป้อมเพชร. (2549). พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวกับปัญหาเศรษฐกิจของประเทศไทย, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แสงดาว.

วิรัช วิรัชนิภาวรรณ. (2550). การบริหารจัดการตามแนวทางคุณธรรมและแนวทางเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร: โฟรเพซ.

สุนทร กุลวัฒนวรพงศ์. (2544). ตามรอยพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียง-ทฤษฎีใหม่. กรุงเทพมหานคร: ชมรมเด็ก.

สุนัย เศรษฐ์บุญสร้าง. (2550). แนวทางปฏิบัติ 7 ขั้นสู่วิถีเศรษฐกิจพอเพียง, พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: ซีเอ็ดยูเคชั่น.

สุเมธ ตันติเวชกุล. (2544). ใต้เบื้องพระยุคลบาท, พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: มติชน.

สุเมธ ตันติเวชกุล. (2549). หลักธรรมทำตามรอยพระยุคลบาท, พิมพ์ครั้งที่ 15. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ด่านสุทธาการพิมพ์

เสรี พงศ์พิศ. (2550). เศรษฐกิจพอเพียง เกิดได้ ถ้าใจปรารถนา. กรุงเทพมหานคร: เจริญวิทย์การพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-06-16