หลักธรรมาภิบาลกับผู้นำองค์การ
คำสำคัญ:
ธรรมาภิบาล, ผู้นำองค์การ, ภาวะผู้นำบทคัดย่อ
การบริหารจัดการบ้านเมืองที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล เป็นหลักการที่สามารถนำมาใช้ในการบริหารองค์การหรือประเทศ ให้ดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ มีคุณธรรม โปร่งใส ยุติธรรมและตรวจสอบได้ ทั้งยังสามารถแก้ปัญหาของสังคม ที่จะนำมาซึ่งความเจริญในด้านต่าง ๆ ธรรมาภิบาลประกอบด้วยหลัก 6 ประการ คือ1. การมีส่วนร่วม 2. นิติธรรม 3. ความโปร่งใส 4. การตอบสนอง 5. การมุ่งเน้นฉันทามติ 6. ความเสมอภาค/ความเที่ยงธรรม หลักธรรมาภิบาลทั้งหมดนี้เป็นคุณสมบัติของผู้นำองค์การ เพราะเป็นการสร้างความไว้วางใจ ความเชื่อมั่น ความเป็นธรรม การประพฤติสิ่งที่น่านับถือ ทั้งนี้ ผู้นำต้องนำหลักธรรมาภิบาลไปประยุกต์ใช้ในสถานการณ์และการปรับตัวเข้าหาคนอื่น รวมถึงการมีจินตนาการและการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน ผู้นำจึงต้องประพฤติเป็นธรรมตามหลักธรรมาภิบาล จึงจะเป็นประโยชน์ต่อการบริหารจัดการองค์การ ชุมชน สังคมและประเทศชาติ
References
บุษบง ชัยเจริญวัฒนะ และบุญมี ลี้. (2544). รายงานการวิจัยตัวชี้วัดธรรมาภิบาล. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.
วิศรา รัตนสมัย. (2543). การรับข่าวสารเพื่อสร้างความตระหนักสำนึกของประชาชนเกี่ยวกับการตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐขององค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดสงขลา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สำนักความต่างประเทศ สป. แนวคิดเกี่ยวกับหลักธรรมาภิบาล. สืบค้นเมื่อ 5 ธันวาคม 2560, จาก http://gotoknow.org/blog/dhama/104786
สิริพัฒน์ ลาภจิตร. (2550). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจมีส่วนร่วมของประชาชนในการสนับสนุนการบริหารงานองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุเมธ แสงนิ่มนวล. (2552). ภาวะผู้นำกับธรรมาภิบาลในการบริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า ส. เจริญการพิมพ์.
อรพินท์ สพโชคชัย. (2541). รายงานที ดี อาร์ ไอ เรื่องสังคมเสถียรภาพและกลไกประชารัฐที่ดี. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย.