ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของตำรวจจราจร บนท้องถนน อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน
คำสำคัญ:
ตำรวจจราจร, การปฏิบัติงานของตำรวจ, งหวัดลำพูนบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติงานของตำรวจจราจรชุดปฏิบัติการอำนวยความสะดวกบนท้องถนนตำรวจภูธร อำเภอเมืองลำพูน 2) เพื่อศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาของการปฏิบัติงานของตำรวจจราจรชุดปฏิบัติการอำนวยความสะดวกบนท้องถนนตำรวจภูธร อำเภอเมืองลำพูน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นข้าราชการตำรวจจราจรชุดปฏิบัติการอำนวยความสะดวกบนท้องถนนตำรวจภูธร อำเภอเมืองลำพูน จำนวน 29 นาย
ผลการวิจัย พบว่า 1) ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติงานมี 2 ด้าน คือ ด้านแรกเป็นปัญหาสุขภาพที่เป็นโรคประจำตัว เช่น โรคภูมิแพ้ ไข้หวัด ปัญหาระบบทางเดินหายใจที่หายใจไม่สะดวก แสบจมูก ด้านที่สองเป็นปัญหาความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน เพราะต้องเสี่ยงจากพฤติกรรมผู้ขับขี่ที่ไม่มีวินัยและฝ่าฝืนกฎจราจร 2) แนวทางแก้ไขมี 2 ด้านเช่นเดียวกัน คือ ด้านแรกปัญหาสุขภาพ มีแนวทางแก้ไขด้วยการสวมใส่อุปกรณ์ป้องกัน เช่น หน้ากากอนามัยที่ช่วยป้องกันฝุ่นละอองและสารเคมีจากท่อไอเสีย การสวมใส่แว่นตาเพื่อลดอาการแสบตาจากฝุ่นละออง ควันรถเข้าตา เป็นต้น ส่วนด้านความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน มีแนวทางแก้ไข คือ การขอความร่วมมือกับ ผู้ขับขี่ให้รักษากฎจราจร เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุ การเพิ่มเครื่องมือในการปฏิบัติหน้าที่เพื่อความปลอดภัย รวมถึงเพิ่มสวัสดิการ เป็นต้น
References
กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม. (2539). สรุปข่าวสิ่งแวดล้อม 39. กรุงเทพมหานคร: กองสารสนเทศสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม.
กรมอนามัย. (2540). ปัญหามลพิษทางอากาศ ผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยและแนวทางแก้ไข. กรุงเทพมหานคร: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
กรรณิการ์ เสริมพณิชกิจ. (2542). ผลกระทบของมลพิษทางอากาศที่มีต่อสุขภาพของเจ้าหน้าที่ตำรวจจราจร สถานีตำรวจนครบาลลาดพร้าว. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
กองบัญชาการตำรวจนครบาล. (2545). โครงการจัดระเบียบจราจร กองบัญชาการตำรวจนครบาล. กรุงเทพมหานคร: กองบัญชาการตำรวจนครบาล.
เกษม จันทร์แก้ว. (2541). เทคโนโลยีสิ่งแวดล้อม. กรุงเทพมหานคร: โครงการสหวิทยาการบัณฑิตศึกษาสาขาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.
คำภิญ สุทธิพิทักษ์. (2539). หยุดมลพิษในบรรยากาศ. กรุงเทพมหานคร: ปริทัศน์.
ชลดา พรรคพิบูลย์. (2536). ความตระหนักต่อมลภาวะอากาศของตำรวจจราจรในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.
ณรงค์ ณ เชียงใหม่. (2530). สุขภาพสิ่งแวดล้อมชุมชน. กรุงเทพมหานคร: โอเดียนสโตร์.
ธนะเสริฐ ยลประสาน. (2542). ผลกระทบจากปัญหาการจราจรต่อสุขภาพอนามัยข้าราชการตำรวจจราจรในกรุงเทพมหานคร: ศึกษาเฉพาะกรณีสถานีตำรวจนครบาลบุปผาราม. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ธานินทร์ สุทธิกุญชร. (2543). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของฝ่ายการพนักงานบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
นัธพงษ์ พรหมมี. (2542). ความรู้และความคิดเห็นของข้าราชการตำรวจชั้นประทวน ในกองบัญชาการ ตำรวจนครบาลที่มีต่อกฎหมายสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับมลพิษทางเสียง และทางอากาศในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ประภาเพ็ญ สุวรรณ. (2520). ทัศนคติ: การวัด การเปลี่ยนแปลง และพฤติกรรมอนามัย. กรุงเทพมหานคร :ไทยวัฒนาพานิช.
ประภาวิน ฉายโฉมเลิศ. (2542). ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ของตำรวจจราจร: ศึกษาเฉพาะกรณีตำรวจจราจรในสังกัดสถานีตำรวจภูธรอำเภอเมืองสมุทรปราการ และสถานีตำรวจภูธรตำบลสำโรงเหนือ. วิทยานิพนธ์ปริญญาสังคมสงเคราะห์ศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พิชิต สกุลพราหมณ์. (2533). ปัญหามลพิษอากาศในกรุงเทพมหานคร: คุณภาพชีวิตของคนเมืองหลวง. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพัฒนาการสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล.
โรงเรียนนายร้อยตำรวจสามพราน. (2537). หน้าที่และความสำคัญของตำรวจจราจร. นครปฐม: สามพรานการพิมพ์.
วิทยายุทธ บัวคลี่. (2550). ความเครียดของเจ้าหน้าที่ตำรวจสายตรวจจราจร ศึกษาเฉพาะงานศูนย์ ควบคุมจราจรวิภาวดีรังสิต/ทางพิเศษ กองบังคับการตำรวจจราจร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.
สุทิน อยู่สุข. มลพิษทางอากาศ. (2533). เอกสารการสอนชุดวิชาเรื่องอนามัยสิ่งแวดล้อม หน่วยที่ 1-7. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุมาลี พิตรากูล. นิเวศวิทยา. (2532). เอกสารวิชาการ ฉบับที่ 24. กรุงเทพมหานคร: หน่วยศึกษานิเทศก์ กรมการฝึกหัดครู.
สุรพงษ์ เหมือนเผ่าพงษ์. (2540). ปัจจัยทีมีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานสอบสวนในสถานีตำรวจสังกัดกองบัญชาการตำรวจนครบาล. วิทยานิพนธ์ปริญญาพัฒนบริหารศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
แสงสันต์ พานิช. (2530). มลพิษทางอากาศในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: กองมาตรฐาน คุณภาพอากาศ สำนักงานคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ.