มรดกภูมิปัญญาไทยในวรรณคดีที่มีอิทธิพลต่อวิถีสังคมไทย

ผู้แต่ง

  • พิงพร ศรีแก้ว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

คำสำคัญ:

ภูมิปัญญาไทย, วรรณคดีไทย, วิถีสังคมไทย

บทคัดย่อ

          บทความนี้ได้ศึกษาวิเคราะห์ภูมิปัญญาไทยในวรรณคดีที่มีความสำคัญต่อวิถีสังคมไทย ในการศึกษาได้วิเคราะห์ภูมิปัญญาซึ่งมีอิทธิพลใน 2 แง่ คือ 1. อิทธิพลในแง่ความเชื่อ ค่านิยมและอุดมการณ์ โดยจำแนกได้ 3 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการดำรงชีวิต  2) ด้านความเชื่อ 3) ด้านแง่คิดเกี่ยวกับการพูด 2. อิทธิพลในแง่สภาพสิ่งแวดล้อมทางสังคมและภูมิศาสตร์ จำแนกเป็น 11 ด้าน ดังนี้ 1) การตั้งถิ่นฐาน 2) การสร้างที่อยู่อาศัย 3) การประกอบอาชีพ 4) การประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ 5) การประกอบอาหารและการเก็บถนอมอาหาร 6) การรักษาพยาบาล 7) การควบคุมสังคม 8) การเดินทาง 9) การติดต่อสื่อสาร 10) การถ่ายทอดความรู้ และ 11) การบันเทิง ภูมิปัญญาทั้งหมดนี้เป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่ควรตระหนักเห็นคุณค่าด้วยการช่วยกันรักษาและสืบทอดวรรณคดีในฐานะบ่อเกิดของมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมของชาติ ส่วนองค์ความรู้ใหม่ ประการแรก จะเห็นว่า อิทธิพลด้านความเชื่อ ค่านิยมและอุดมการณ์ล้วนสอดคล้องกับหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาและถูกถ่ายทอดเป็นจิตรกรรมในโบราณสถานเป็นส่วนใหญ่ ประการที่สอง อิทธิพลด้านสภาพแวดล้อมและภูมิศาสตร์สอดคล้องกับเรื่องปัจจัย 4 ประการ คือ 1) เครื่องนุ่งห่ม เช่น ภูมิปัญญาด้านการประดิษฐ์เครื่องมือเครื่องใช้ 2) อาหาร เช่น การประกอบอาชีพ การประกอบอาหารและการเก็บถนอมอาหาร 3) ที่อยู่อาศัย เช่น การตั้งถิ่นฐาน การสร้างที่อยู่อาศัย และ 4) ยารักษาโรค เช่น การรักษาพยาบาล

References

กรมศิลปากร. (2547). วรรณกรรมพระยาตรัง, พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: สำนักหอสมุดแห่งชาติ.

กรมศิลปากร. (2467). นิราศพระประธมของสุนทรภู่. พระนคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒ ธนากร

กรมศิลปากร. (2510). โคลงนิราศสุพรรณ. กรุงเทพมหานคร: สำนักหอสมุดแห่งชาติ.

กรมศิลปากร. (2558). นิทานคำกลอนสุนทรภู่ เรื่องลักษณวงศ์. กรุงเทพมหานคร: สำนักหอสมุดแห่งชาติ.

กรมส่งเสริมวัฒนธรรม. (2559). วัฒนธรรม วิถีชีวิตและภูมิปัญญา. กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม.

กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์. โคลงนิราศฉะเชิงเทรา, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหา นคร: ปรเมษฐ์การพิมพ์.

กุหลาบ มัลลิกามาส และวิพุธ โสภวงศ์. (2537). การเขียน 1. กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์.

โกวิท ตั้งตรงจิตร. (2547). คุยเฟื่องเรื่องอิเหนา. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาสน์.

คึกฤทธิ์ ปราโมทย์. (2549). ขุนช้างขุนแผน ฉบับอ่านใหม่. กรุงเทพมหานคร: ดอกหญ้า 2000.

ดวงมน จิตร์จำนงค์และสุจิตรา จงสถิตย์วัฒนา. (2544). เอกสารการสอนชุดวิชาพัฒนาการวรรณคดีไทย หน่วยที่ 8-15, พิมพ์ครั้งที่ 5. นนทบุรี: มหาวิทยาลัย สุโขทัยธรรมาธิราช.

ธนิต อยู่โพธิ์. (2504). ประวัตินายมี หมื่นพรหมสมพัตสร. ใน นิราศพระแท่นดงรัง ของนายมี. พระนคร: กรมศิลปากร.

บรรเทา กิตติศักดิ์ และกัมพุชนาฎ เปรมกลม. (2524). วรรณคดีมรดก. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ไทยวัฒนาพานิช.

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. (2517). พระราชนิพนธ์โคลงสุภาษิต 3 เรื่อง คือ สุภาษิตโสฬสไตรยางค์ สุภาษิตนฤทุมนาการ สุภาษิตมารดาสอนอาบูหะซันและสุภาษิตขงจู๊, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: อมรการพิมพ์.

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. (2540). บทละครนอกสังข์ทอง. กรุงเทพมหานคร: กรมวิชาการกระทรวงศึกษาธิการ.

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว. (2548). บทละครเรื่องเงาะป่า. กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์.

พระยาวิชิตวงศ์วุฒิไกร (ม.ร.ว. สิทธิ์ สุทัศน์ ณ กรุงเทพ). (2465). ประชุมกลอนนิราศต่าง ๆ ภาคที่ 1 นิราศสุนทรภู่ 4 เรื่อง. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์โสภณพิพรรฒธนากร.

พระสุนทรโวหาร. (2504). พระอภัยมณี. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

พัชรี สายสิทธิ์. (2542). พินิจวรรณกรรม: งานวิจัยทางภาษาไทย. กรุงเทพมหานคร: กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ.

มิ่งขวัญ ทองพรหมราช. (2546). ขุนช้างขุนแผน ตอนพลายแก้วบวชเณร. กรุงเทพมหานคร: ทองพูลการพิมพ์.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2546). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. (2545). มิใช่เป็นเพียง "นางเอก". กรุงเทพมหานคร: พัฒนาศึกษา.

วิเชียร เกษประทุม. (2545). เล่าเรื่องมณีพิชัย. กรุงเทพมหานคร: ประพันธ์สาสน์.

สถาบันภาษาไทย กรมวิชาการ. (2542). ประชุมสุภาษิตพระร่วง. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

สายสมร ยุวนิมิ. (2539). คุณค่าของเสภาขุนช้างขุนแผน. สารสถาบันภาษาไทย. 3 (1), 97-103.

เอกรัตน์ อุดมพร. (2544). วรรณคดีสมัยกรุงรัตนโกสินทร์. กรุงเทพมหานคร: พัฒนาการศึกษา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-21