การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านและการเขียนภาษาบาลี

ผู้แต่ง

  • ประเด่น แบนปิง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน
  • พระมหาไกรสร โชติปญฺโญ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์ลำพูน

คำสำคัญ:

ชุดฝึกทักษะภาษาบาลี, การอ่านภาษาบาลี, การเขียนภาษาบาลี

บทคัดย่อ

          การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 2 ประการ คือ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาชุดฝึกทักษะเรื่องการอ่านและเขียนภาษาบาลี สำหรับนิสิตคฤหัสถ์สาขาวิชารัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2553 และ 2) เพื่อหาประสิทธิภาพของชุดฝึกทักษะการอ่านและเขียนภาษาบาลี สำหรับนิสิตคฤหัสถ์สาขาวิชารัฐศาสตร์ ชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2553

          ผลการวิจัยพบว่า 1) การเขียนคำอ่านภาษาบาลีเป็นภาษาไทย มีผลการดำเนินงานผ่านตามเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ โดยใช้ค่าสถิติร้อยละของคะแนนเฉลี่ยก่อนการใช้ชุดฝึกทักษะ และหลังการใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านและเขียนภาษาบาลี คือ ร้อยละ 70 ขึ้นไป จากการดำเนินงานของนิสิตจำนวน 46 คน ถือว่าผ่านตามจุดประสงค์ที่ตั้งไว้ 46 คน คิดเป็นร้อยละ 100 2) การเขียนคำอ่านภาษาไทยเป็นภาษาบาลี พบว่าได้คะแนนระหว่าง 14-20 คะแนน ถือว่าผ่านเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ คือ ร้อยละ 70  3) ข้อสอบแบบปรนัยการเขียนและอ่านภาษาบาลีได้กำหนดคะแนนระหว่าง 7-10 คะแนน ถือว่าผ่านเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ คือ ร้อยละ 70 ผลการดำเนินงาน พบว่านิสิตได้เลือกคำตอบที่ถูกที่สุดของชุดฝึกการอ่านและเขียนภาษาบาลี มีผลการวัดผลและประเมินผล ผ่านตามเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ คือร้อยละ 70 โดยมีนิสิตผ่านตามเกณฑ์ที่ได้กำหนดไว้ทั้งหมด 46 คนจากจำนวนนิสิต 46 คน คิดเป็นร้อยละ 100

References

กรมการศาสนา. (2527). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์กรมการศาสนา.

กรมการศาสนา. (2537). ศาสนพิธีเล่ม 1. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

กรมการศาสนา. (2538). หลักสูตรพระบวชใหม่ 15 วัน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

นงเยาว์ ชาญณรงค์. (2536). ศาสนากับสังคม, พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

นันทนา เตชะวณิชย์. (2520). พื้นฐานวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ไนเต็ดโปดักชั่น.

ประพันธ์ จีนคง. (ม.ป.ป.) วัฒนธรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2538). พจนานุกรมพุทธศาสน์ฉบับประมวลศัพท์. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2540). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม, พิมพ์ในงานฉลองสมโภชพระไตรปิฎกภาษาบาลีอักษรล้านนา มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยวิทยาเขตเชียงใหม่. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระราชธรรมนิเทศ (ระแบบ ฐิตญาโณ). (2537). พระพุทธศาสนาปริทรรศน์, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระราชธรรมนิเทศ (ระแบบ ฐิตญาโณ). (2539). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา, พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย.

พระราชธรรมนิเทศ (ระแบบ ฐิตญาโณ). (2542). ประวัติศาสตร์พระพุทธศาสนา, พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฎราชวิทยาลัย.

พิชิตฤทธิ์จรูญ. (2547). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: เฮ้าส์ออฟเคอร์มีสท์.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2525). พจนานุกรมฉบับราชบัณทิตยสถาน พ.ศ. 2525. กรุงเทพมหานคร: อักษรเจริญทัศน์.

สำนักเรียนวัดโสธรวราราม. (2542). บาลีไวยากรณ์รวม 4 เล่ม. ฉะเชิงเทรา: วัดโสธร วราราม.

สุชีพ ปุญญานุภาพ. (2530). พระไตรปิฎกฉบับประชาชน. กรุงเทพมหานคร: มหามกุฎราชวิทยาลัย.

อมร โสภณวิเชษฐ์วงศ์ และกวี อิศริวรรณ. (2539). พระพุทธศาสนาสมบูรณ์แบบ. กรุงเทพมหานคร: วัฒนาพานิช.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2018-05-25