ความเปลี่ยนแปลงการจัดงานศพของชาวพุทธบ้านหมุ้น อำเภอปง จังหวัดพะเยา
คำสำคัญ:
พิธีกรรมงานศพ, บ้านหมุ้น, จังหวัดพะเยาบทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อศึกษาคติความเชื่อและพิธีกรรมการจัดงานศพในพระพุทธศาสนา 2) เพื่อศึกษารูปแบบพิธีกรรมการจัดงานศพของบ้านหมุ้น 3) เพื่อวิเคราะห์สาเหตุและปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการจัดพิธีกรรมงานศพของบ้านหมุ้น การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงเอกสาร และนำเสนอข้อมูลในรูปแบบการเขียนพรรณนา พร้อมตอบวัตถุประสงค์และปัญหาที่ต้องการทราบ
ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดพิธีศพในพระพุทธศาสนามีมาตั้งแต่สมัยพุทธกาล ซึ่งเน้นความเรียบง่าย และการแสดงความกตัญญูกตเวที ส่วนการจัดพิธีศพของชาวพุทธล้านนาแยกเป็น 3 ประเภท คือ (1) การจัดศพเจ้านาย (2) การจัดพิธีศพของพระสงฆ์ (3) การจัดพิธีศพของสามัญ การจัดพิธีส่วนใหญ่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน คือ ต้องการส่งดวงวิญญาณของผู้ล่วงลับสู่สุคติ 2) รูปแบบพิธีกรรมงานศพของชาวบ้านหมุ้นมี 2 ช่วง คือ พิธีกรรมเตรียมพร้อมก่อนตายและพิธีกรรมหลังความตาย ซึ่งถูกกระบวนการขัดเกลาทางสังคมจัดให้มีระเบียบแบบแผนอย่างเดียวกัน 3) การวิเคราะห์ความเปลี่ยนแปลงการจัดพิธีศพ พบว่า สาเหตุแรกมาจากคนในชุมชนเห็นแก่ตัวมากขึ้น มีค่านิยมแบบใหม่ที่คำนึงถึงความสะดวกสบายมากกว่าความสามัคคี สาเหตุที่สองมาจากชุมชนที่มีระบบการรวมกลุ่ม เพื่อการจัดสรรผลประโยชน์จากการตายทำให้เกิดเงินทุนหมุนเวียน กอปรกับระบบการศึกษาที่เจริญขึ้นของพระสงฆ์ บทบาทของผู้นำชุมชนอันมีปัจจัยทางการเมืองเป็นเบื้องหลัง ค่านิยมของเจ้าภาพงานศพที่ต้องการความทัดเทียมกับผู้อื่น และการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมต่างถิ่น จึงส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงที่หลากหลายในการจัดพิธีศพ
References
คล้อย ทรงบัณฑิตย์. (2526). ประมวลหัวใจธรรมกถึก. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เลี่ยงเชียง.
จันทร์ ชูแก้ว. (2546). พระพุทธประวัติ: มหาบุรุษแห่งชมพูทวีป. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภาและสถาบันลือธรรม.
ธนากิต. (2539). ประเพณี พิธีมงคล และวันสำคัญของไทย. กรุงเทพมหานคร: ปิรามิดจัดพิมพ์.
ธัชพล ศิริวงศ์ทอง. (2542). ตายแล้วไปไหน. เชียงใหม่: โรงพิมพ์ดาว.
บุรินทร์ คำกองแก้ว. (ม.ป.ป.). พิธีการศพ. กรุงเทพมหานคร: มณฑลการพิมพ์.
ปราณี วงษ์เทศ. (2534). พิธีกรรมที่เกี่ยวกับการตายในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: อัมรินทร์พริ้นติ้งกรุ๊ป จำกัด.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.