วิเคราะห์หลักพุทธธรรมในคำเวนทาน ฉบับวัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา
คำสำคัญ:
คำเวนทาน, หลักพุทธธรรม, วัดศรีโคมคำบทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ดังนี้ 1) เพื่อปริวรรตคำเวนทานล้านนา ฉบับวัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา 2) เพื่อศึกษาประเพณีที่เกี่ยวข้องกับการเวนทานในสังคมล้านนา 3) เพื่อวิเคราะห์หลักพุทธธรรมในคำเวนทานล้านนา ฉบับวัดศรีโคมคำ และเป็นงานวิจัยเชิงเอกสาร โดยการสำรวจเอกสารและรวบรวมจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านการปริวรรตทำให้เห็นว่า คำเวนทานล้านนา ฉบับวัดศรีโคมคำ จะใช้อักษรธรรมล้านนาเขียนลงในหนังสือพับสา มีลักษณะเป็นคำประพันธ์แบบร้อยกรอง ประเภทร่าย มีเนื้อหาโดยเริ่มจากบทชุมนุมเทวดา คำนมัสการพระรัตนตรัย บทขอขมาเครื่องไทยธรรม ตามด้วยบทคำเวนทานต่าง ๆ รวมถึงบทอาราธนาศีล 5 ศีล 8 คำอาราธนาธรรมมหาชาติเวสสันดรชาดก เป็นต้น ตอนท้ายได้เขียนรายชื่อเทวดาที่รักษาเมืองพะเยาด้วยอักษรไทยกลาง 2) ด้านประเพณีที่ปรากฏ คือ ประเพณีปอยน้อย - ปอยหลวง ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีถวายเจดีย์ทราย ประเพณีวันเข้าพรรษา - วันออกพรรษา ประเพณีถวายสลากภัต ประเพณีถวายผ้าจำนำพรรษา ประเพณีตั้งธรรมหลวง ประเพณีถวายกฐิน ประเพณีเข้าโสสานกรรม ประเพณีทานหลัวหิงไฟพระเจ้า ประเพณีทานแทน ประเพณีถวายตุง ประเพณีจุดบั้งไฟ ประเพณีส่งสการทานคาบ (การจัดงานศพ) และประเพณีบวชพระเจ้า (พุทธาภิเษก) และเนื้อหาของคำเวนทาน ฉบับวัดศรีโคมคำ 3) ด้านหลักธรรมพบว่ามีการสอดแทรกคำสอนทางพระพุทธศาสนาไว้ คือ ไตรลักษณ์ กรรม สังสารวัฏ นิพพาน บุญกิริยาวัตถุ 3 เมตตา อริยทรัพย์ คารวธรรม สามัคคีธรรม และอัปปมาทธรรม
References
ตา ไชยเจริญ. (2502). คู่มือพิธีกรรมภาคเหนือ. เชียงใหม่: สงวนการพิมพ์.
นพคุณ ตัณติกุล. (2548). ล้านนาในมิติกาลเวลา. เชียงใหม่: The Knowledge Center.
พระเทพเวที (ป. อ. ปยุตฺโต). (2532). ความสำคัญของพระพุทธศาสนาในฐานะศาสนาประจำชาติ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชววิทยาลัย.
พระมหาญาณธวัช ญาณทฺธโช. (2550). ล้านนาวินิจฉัย. น่าน: ม.ป.ท.
ไพรถ เลิศริยกมล. (ม.ป.ป.) คติชาวบ้านลานนาไทย. เชียงใหม่: สุริวงศ์บุ๊คเซนเตอร์.
มณี พยอมยงค์. (2547). ประเพณีสิบสองเดือนของล้านนาไทย, พิมพ์ครั้งที่ 5. เชียงใหม่: หสน. ส. ทรัพย์การพิมพ์.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วัดศรีโคมคำ. (2467). หนังสือพับสาคำเวนทาน ฉบับวัดศรีโคมคำ ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา.
ศิลปวัฒนธรรม. (2538). ประวัติศาสตร์ สังคมและวัฒนธรรมเมืองพะเยา. กรุงเทพมหานคร: พิฆเณศ พริ้นท์ติ้ง เซ็นเตอร์.
สมทรง ปุญญฤทธิ์. (2525). เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับการปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนาและวัฒนธรรมไทย. กรุงเทพมหานคร: ธรรมบูชา.
แสง จันทร์งาม. (2523). ศาสนาในลานนาไทย. เชียงใหม่: ทิพย์เนตรการพิมพ์.
ไสว คำมูล. (2545). การศึกษาวิเคราะห์คำเวนทาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตร มหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.