การสร้างสรรค์ความสุขของครูผู้สอน
คำสำคัญ:
การสร้างสรรค์ความสุข, การปฏิบัติการสอน, ครูประถมศึกษาบทคัดย่อ
ครูมีหน้าที่แนะแนวทางในการเรียนรู้ให้แก่ผู้เรียนและมีความสำคัญในการดูแลเด็กและเยาวชนให้เติบโตอย่างมีคุณภาพ ทั้งด้านร่างกาย จิตใจ อารมณ์ สังคมและสติปัญญา ครูเป็นบุคคลที่สังคมคาดหวังและยกย่องให้เป็นแม่พิมพ์ของชาติ มีเกียรติ เป็นที่เคารพเชื่อถือและศรัทธาของชุมชน การที่ครูปฏิบัติกิจกรรมให้ ประสบผลสำเร็จตามบทบาทหน้าที่ที่กำหนดขึ้น จะต้องใช้ทักษะ ความรู้ ความสามารถ ประสบการณ์มาประยุกต์ใช้ในการทำงาน รวมถึงความคิดความรู้สึก และการแสดงออกในทางสร้างสรรค์ของครูที่มีต่องานและสภาพแวดล้อมในการทำงาน ครูต้องรู้สึกสนุกและพึงพอใจในงานที่ทำ รู้สึกว่าตนเองมีคุณค่า ทำตัวให้เป็นที่ยอมรับของเพื่อนร่วมงาน ตั้งใจที่จะปฏิบัติงานให้สำเร็จตามเป้าหมาย ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือเกื้อกูลกันระหว่างผู้ร่วมงาน มีความผูกพันในงานที่ทำ ทำให้เกิดแรงผลักดันในทางบวกให้กับตนเองและองค์กร ทั้งยังสามารถเผชิญปัญหาและอุปสรรคในการทำงานได้อย่างเหมาะสม
References
คมกริช สุรเวช. (2554). ความสุขในการทำงานของบุคลากรสังกัดสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชุมพร. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
จิรา เติมจิตรอารีย์. (2550). ทำอย่างไรจึงจะอยู่อย่างมีความสุข. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล.
ชนิกา ตู้จินดา. (2552). Happy 8 Workplace ความสุข 8 ประการในที่ทำงาน. สืบค้นเมื่อ 28 พฤษภาคม 2560, จาก http:www.thaihealth. or.th/nod/12827
ชุติมณฑน์ ฟ้าภิญโญ. (2552). ความสุขในการทำงานของพนักงาน บริษัท ควอลลิตี้เซรามิค จังหวัดลำปาง. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
ทัณฑิกา เทพสุริวงค์. (2550). ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยการทำงาน ความสามารถในการเผชิญและฟันฝ่าอุปสรรคและความสุขในการทำงาน: ศึกษาเฉพาะกรณีพยาบาลประจำการโรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
เนตรสวรรค์ จินตนาวลี. (2553). ความสุขของการปฏิบัติงานของพยาบาลในโรงพยาบาล จังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตฺโต). (2545). ความสุขของครอบครัวคือสันติสุขของสังคม, พิมพ์ครั้งที่ 24. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.
รวมศิริ เมนะโพธิ. (2550). เครื่องมือวัดการทำงานอย่างมีความสุข. สารนิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
โรจนรินทร์ โกมลหิรัญ. (2551). การพัฒนาโมเดลเชิงสาเหตุของความเครียดในการทำงานของครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สมิต สัชฌุกร. (2550). การต้อนรับและบริการที่เป็นเลิศ (Excellence Service), พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: สายธาร.
อุมาภรณ์ ภัทรวาณิชย์ และคณะ. (2559). สมดุลแห่งความสุขครู. กรุงเทพมหานคร: แท่นทองชินวัฒน์การพิมพ์.
Diener, E. (2003). Subjective Well-being. Psychological Bulletin, 95 (3), 542-575.
Herzberg, F., Mausner, B. and Synderman, B. B. (1959). The Motivation to Work. New York: John Willey.
Manion, J. (2003). Joy at Work: Creating a Positive Workplace. Journal of Nursing Administration, 33 (12), 652-655.
Warr, P. (2007). Work Happiness and Unhappiness. New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.