ปัญหาการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานและสวัสดิการแห่งรัฐของคนไร้สัญชาติ
คำสำคัญ:
สิทธิขั้นพื้นฐาน, สวัสดิการแห่งรัฐ, คนไร้สัญชาติบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานของคนไร้สัญชาติที่อยู่ในประเทศไทย ตามหลักสิทธิมนุษยชนที่ทั่วโลกกำลังตื่นตัวและมีการรณรงค์กันอย่างจริงจัง ซึ่งสิทธิขั้นพื้นฐานนี้ ประกอบด้วยสิทธิการจัดตั้งที่อยู่อาศัย สิทธิในการประกอบอาชีพอย่างอิสระ สิทธิในการรับการรักษาพยาบาลในยามเจ็บป่วย และสิทธิในการเข้ารับการศึกษาเล่าเรียนเพื่อพัฒนาตนเอง ในพื้นที่ภาคเหนือของไทยยังมีกลุ่ม
คนไร้สัญชาติอีกจำนวนมาก ซึ่งมีทั้งที่อพยพเข้ามาเพื่อหนีความยากจน หนีภัยสงครามกลางเมือง รวมทั้งคนไร้สัญชาติที่เกิดในดินแดนของประเทศไทย แต่ต้องเป็นคนไร้สัญชาติ จึงทำให้ไม่สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานในการดำรงชีพได้ ทำให้ชีวิตไม่มีประสิทธิภาพและไม่มีความมั่นคงยั่งยืน
References
ชลิต ชีช้าง และคณะ. (2552). การสำรวจคนไร้สัญชาติและคนชายขอบในจังหวัดกาญจนบุรี. กรุงเทพมหานคร: สำนักปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์.
ประทีป นทีทวีวัฒน์. (2551). นโยบายการแก้ไขปัญหาคนไร้สัญชาติ: ปัญหาในการนำนโยบายไปปฏิบัติ. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ปรีดี เกษมทรัพย์. (2534). นิติปรัชญา, พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เดือนตุลา.
พันธุ์ทิพย์ กาญจนะจิตรา สายสุนทร. (2544). คำอธิบายกำหมายสัญชาติไทย, พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: วิญญชน.
มานะ งามเนตร์. (2551). มาตรฐานชีวิตของคนไร้สัญชาติ. สืบค้นเมื่อ 28 สิงหาคม 2551, จาก http://www.statelessperson.com/www/?q=node/3362
วรพจน์ วิศรุตพิชญ์. (2543). สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540. กรุงเทพมหานคร: วิญญูชน.
วรรณทนี รุ่งเรืองสภากุล. สภาพปัญหาและสาเหตุของปัญหาความไร้รัฐและไร้สัญชาติในประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 16 มีนาคม 2560, จาก http://www.archanwell.org/autopage/print.php
วิชัย ศรีรัตน์. (2548). แนวคิดและพัฒนาการของกฎหมายสิทธิมนุษยชน. ใน เอกสารประกอบการสอนชุดวิชากฎหมายสิทธิมนุษยชน หน่วยที่ 1–4. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Castles, Stephen and Miller, Mark. (1993). The Age of Migration: International Population Movement in the Modern World. Basingstoke: Macmillan.