พิธีกรรมบวงสรวงเจ้าพ่อพญาช้างเผือก: ประเพณีแห่งสายสัมพันธ์ฉันเครือญาติของชาวไทลื้อเชียงบาน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • พระครูวิจิตรพิพัฒนโกศล (สุเวศน์ หอมนาน) หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • พระราชปริยัติ (ณษิกรณ์ อรินฺทโม) หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • ชูชาติ สุทธะ หลักสูตรพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

คำสำคัญ:

พิธีกรรมบวงสรวง, ไทลื้อเชียงบาน, เจ้าพ่อพญาช้างเผือก

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบพิธีกรรมบวงสรวงเจ้าพ่อพญาช้างเผือกของชาวไทลื้อเชียงบาน โดยได้ศึกษาจากเอกสารตำนานที่บันทึกไว้และจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิและผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ซึ่งทำให้ทราบว่า นอกจากความศรัทธายึดมั่นในพระพุทธศาสนาแล้ว ชาวไทลื้อมีความเชื่อเรื่องผีซึ่งเป็นความเชื่อพื้นฐานที่มีมาตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษและปฏิบัติเป็นประเพณีประจำปีอย่างต่อเนื่อง หนึ่งในนั้น คือ พิธีกรรมบวงสรวงเจ้าพ่อพญาช้างเผือก นับเป็นประเพณีสำคัญที่มีอิทธิพลต่อวิถีการดำรงชีวิตของชุมชนชาวไทลื้ออย่างมาก พิธีกรรมนี้ประกอบด้วยแนวคิด 2 ประการ ประการแรก องค์ประกอบพิธีกรรมซึ่งจำแนกเป็น 3 ด้าน คือ 1) ด้านบุคคลผู้เข้าร่วมพิธี 2) ด้านเครื่องบวงสรวง 3) ด้านวันเวลาและสถานที่ประกอบพิธี ประการที่สอง ขั้นตอนพิธีกรรมการบวงสรวงเจ้าพ่อพญาช้างเผือกจำแนกเป็น 2 ด้าน คือ 1) การประชาสัมพันธ์ 2) ขั้นตอนประกอบพิธี ส่วนการวิเคราะห์คุณค่าที่เกิดจากพิธีนี้มี 3 ด้าน คือ 1) คุณค่าด้านสังคม 2) คุณค่าด้านตำนานและประวัติศาสตร์ และ 3) คุณค่าด้านประเพณีและพิธีกรรม องค์ความรู้ใหม่ คือ 1) มิติด้านองค์ความรู้เกี่ยวกับตำนานความเป็นมาของชาติพันธุ์ 2) มิติด้านกำลังใจที่ได้จากสิ่งเหนือธรรมชาติ และ 3) มิติด้านการใช้ประเพณีในการส่งเสริมคุณธรรมแก่สมาชิกในสังคม

References

นพพล หอมนาน (2562). มัคนายกวัดเชียงบาน บ้านเชียงบาน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา. สัมภาษณ์. 17 กันยายน.

นะ หอมนาน. (ม.ป.ป.). ประวัติหมู่บ้านเชียงบาน. ม.ป.ท. (อัดสำเนา).

บุญชม หอมนาน. (ม.ป.ป.). ประวัติไตลื้อบ้านเชียงบาน. ม.ป.ท. (อัดสำเนา).

เพียร หอมนาน. (2562). ผู้ทรงคุณวุฒิ บ้านเชียงบาน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา. สัมภาษณ์. 17 กันยายน.

มูล หอมนาน. (2562). พ่อข้าวจ้ำ (ผู้ประกอบพิธี) บ้านเชียงบาน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา. สัมภาษณ์. 17 กันยายน.

ยุพิน เข็มมุกด์ และคณะ. (2529). ศาสนา ความเชื่อและประเพณีของชาวไทลื้อ: ศึกษาหมู่บ้านธาตุ บ้านหย่วนและบ้านแวน อำเภอเชียงคำ จังหวัดเชียงราย. ใน รวมบทความทางวิชาการไทลื้อ: เชียงคำ. เชียงใหม่: ชมรมล้านนาคดี ร่วมกับวิทยาลัยครูเชียงใหม่ สหวิทยาลัยล้านนา.

รัตนาพร เศรษฐกุล. (2537). ความเชื่อและพิธีกรรมของไทย-ไท ที่สะท้อนถึงภูมิปัญญาชาวบ้านศึกษากรณีลื้อ. ใน เอกสารรวมบทความความเชื่อและพิธีกรรม: ภูมิปัญญาชาวบ้านไทย/ไท เอกสารหมายเลขที่ 11. เชียงใหม่: ศูนย์วัฒนธรรมเชียงใหม่ ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏเชียงใหม่.

สมฤทธิ์ หอมนาน. (2562). ประธานคณะกรรมการศาลเจ้าพ่อพญาช้างเผือก บ้านเชียงบาน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา. สัมภาษณ์. 17 กันยายน.

อ่อนแก้ว หอมนาน. (2562). กรรมการหมู่บ้าน บ้านเชียงบาน อำเภอเชียงคำ จังหวัดพะเยา. สัมภาษณ์. 17 กันยายน.

DekAnthro. (15 พฤษภาคม 2556). สารคดีสืบตำนานเจ้าพ่อพญาช้างเผือก. สืบค้นเมื่อ 30 สิงหาคม 2563, จาก https://www.youtube.com/watch?v=XagmFJFZjx4

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2021-08-12