วิธีการจัดการความขัดแย้งตามแนวพระพุทธศาสนา

ผู้แต่ง

  • กฤษณา อุทัยกาญจน์ โรงเรียนพะเยา เอ็ด สแควร์
  • พระปลัดกันทวี ฐานุตฺตโร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

คำสำคัญ:

พุทธวิธีการจัดการความขัดแย้ง, การจัดการความขัดแย้ง, ความขัดแย้งตามแนวพระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

          ความขัดแย้งเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่อยู่ร่วมกันแล้ว มักเกิดความไม่ลงรอยในการดำเนินชีวิตหรือในการทำกิจกรรมทางสังคม ซึ่งความขัดแย้งเกิดขึ้นหลายสาเหตุ ในทางพระพุทธศาสนามองว่า รากเหง้าที่เป็นสาเหตุของความขัดแย้งที่ คือ ปัจจัยภายใน อันได้แก่ อกุศลธรรมและปปัญจธรรม เมื่อมีความขัดแย้งจึงต้องใช้พุทธวิธีในการขจัดความขัดแย้ง นั่นคือการเจรจาไกล่เกลี่ยที่ประกอบด้วย 9 ขั้นตอน การเจรจาไกล่เกลี่ยเชิงพุทธนี้ นอกจากเป็นหนึ่งในพุทธสันติวิธีจัดการความขัดแย้งแล้ว ยังเป็นการสร้างสัมพันธภาพที่ยั่งยืน เช่น การให้อภัย อันเป็นเป้าหมายสูงสุดในการจัดการความขัดแย้งทางพระพุทธศาสนา

          อย่างไรก็ตาม การจัดการความขัดแย้งทางพระพุทธศาสนา สามารถวิเคราะห์ได้จากหลักปฏิบัติ 3 ประการ คือ 1. วิธีระงับด้วยการอธิบายธรรม 2. วิธีกล่าวหาผู้ต้องอาบัติ ใน 2 กรณีนี้ เป็นการโจษกันด้วยความเห็นต่างในเรื่องธรรมและวินัย ซึ่งทำให้เกิดความขัดแย้งกันขึ้น จึงควรหาภิกษุที่มีความเป็นกลางทำหน้าที่ระงับหรือกล่าวหาผู้กระทำความผิด เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมในการตัดสิน 3. วิธีระงับความแตกสามัคคี ข้อนี้ควรใช้หลักสาราณียธรรม 6 ทั้งสามหลักปฏิบัตินี้เป็นแนวทางขจัด 3 องค์ประกอบของความขัดแย้ง กล่าวคือ 1. ประเด็นปัญหาหรือข้อเรียกร้องของความขัดแย้ง  2. บุคคลหรือคู่ขัดแย้ง และ 3. กระบวนการหรือปฏิสัมพันธ์ของคู่ขัดแย้งที่มีต่อกัน หากสามารถขจัดองค์ประกอบเหล่านี้ได้แล้ว ก็เป็นการฝึกหัดคุณธรรมเรื่องเมตตา ขันติ สติ เป็นต้น ไปในตัว

References

ชัยวัฒน์ สถาอานันท์. (2539). สันติทฤษฏี/วิถีวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: เรือนแก้วการพิมพ์.

พรศักดิ์ ผ่องแผ้ว. (2545). ศาสตร์แห่งการวิจัยทางการเมืองและสังคม. กรุงเทพมหานคร: สถาบันวิถีไทยและสมาคมรัฐศาสตร์แห่งประเทศไทย.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 18, 22, 25, 27, 33. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

แมคคอลแนล, จอห์น, เขียน. พระไพศาล วิสาโล และคณะ, แปล. (2538). ศาสตร์และศิลป์แห่งการระงับความขัดแย้ง: คู่มือสำหรับชาวพุทธผู้ใฝ่สันติ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์.

ยูรี,วิลเลียม, เขียน. เบญจรัตน์ แซ่ฉํ่ว, แปล. (2547). กลยุทธ์การสมานไมตรีเพื่อบรรลุสันติร่วมคน: ที่บ้านที่โรงเรียน ที่ทำงานและทุกแห่งในโลก. กรุงเทพมหานคร: สวนเงินมีมา.

วงศา คงดี และสุวิทย์ เลาหศิริวงศ์. (2539). การสังเคราะห์ประสบการณ์และงานเอกสาร การวิจัยการจัดการความขัดแย้งในประเทศไทย. ขอนแก่น: มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

วันชัย วัฒนศัพท์. (2547). ความขัดแย้ง: หลักการและเครื่องมือแก้ปัญหา, พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: สถาบันพระปกเกล้า.

สุพัตรา จิตตเสถียร. (2550). การจัดการความขัดแย้งในสถานพยาบาลของรัฐระดับจังหวัด. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุวิทย์ อุดมพาณิชย์. (2548). หลักการบริหารสำหรับทันตแพทย์. ขอนแก่น: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

เสริมศักดิ์ วิศาลาภรณ์. (2534). ความขัดแย้ง การบริหารเพื่อความสร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร: ตะเกียง.

Coffey, R. E., Cook, c., & Hunsaker, p. L. (1994). Management and Organizational Behavior. Burr Ridge, IL: Irwin.

DuBrin, A. J. (2003). Essentials of Management, 6th ed. Mason: Southwestern.

Robbins, S. P. (1996). Organizational Behavior: Concepts, Controversies, Applications, 7th ed. Englewood Cliffs: Prentice-Hall.

Tjosvold, D. (1991). The Conflict-positive Organization: Stimulate Diversity and Create Unity. Reading: Addison-wesley.

Tjosvold, D. (1993). Learning to Manage Conflict: Getting People to Work Together Productively. New York: Maxwell Macmillan.

Van Slyke, E. J. (1999). Listening to Conflict: Finding Constructive Solution to Workplace Disputes. New York: Library of Congress Cataloging-in-Publication Data.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-08-30