ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ประชาชนปรารถนา

ผู้แต่ง

  • วรยุทธ สถาปนาศุภกุล มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตล้านนา

คำสำคัญ:

ผู้บริหารองค์กร, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, องค์กรที่ประชาชนปรารถนา

บทคัดย่อ

          การบริหารงานของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะประสบความสำเร็จ มีประสิทธิภาพตามความมุ่งหวังของทุกฝ่าย ต้องมีหลักการที่สำคัญ กล่าวคือ การเลือกตัวบุคคลที่เข้าไปเป็นตัวแทน เพื่อทำหน้าที่บริหารงานทางฝ่ายนิติบัญญัติ คือ สมาชิกสภาท้องถิ่น สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบลที่เลือกเข้าเป็นตัวแทน เพื่อไปทำหน้าที่ในการนำเสนอแผนงานในด้านการพัฒนาทุก ๆ ด้าน และพิจารณาแผนงานที่เป็นนโยบายของคณะผู้บริหาร การตัดสินใจเลือกผู้ที่มีคุณสมบัติของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้านความรู้ ความสามารถ ความซื่อสัตย์ สุจริต จะมีผลต่อการพัฒนาองค์การตามหลักวิชาการและหลักสากลได้อย่างยิ่ง

          ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ประกอบด้วย 1) ด้านความรู้ความสามารถ 2) ด้านภาวะผู้นำ และ 3) ด้านมีศีลธรรม ปัจจัยเหล่านี้มีความสัมพันธ์กับปัจจัยส่วนตัว เช่น อายุ รายได้ และอาชีพ ส่วนเพศ ระดับการศึกษา และสถานภาพ ไม่มีความสัมพันธ์กับการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

References

กิติ ตยัคคานนท์. (2535). เทคนิคสร้างภาวะผู้นำ. กรุงเทพมหานคร: บัตเตอร์ฟลาย.

จิราภา ชินสรนันท์. (2546). ความพร้อมของประชาชนในเขตเทศบาลเมืองลำพูนต่อการเลือกตั้งนายกเทศมนตรีโดยตรง. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ชนะศักดิ์ ยุวบูรณ์. (2543). กระทรวงมหาดไทยกับการบริหารจัดการที่ดีการปกครองที่ดี (Good Governance) .กรุงเทพมหานคร: บพิธการพิมพ์.

นันทพล พงศธรวิสุทธิ์. (2548). บทบาทขององค์การบริหารส่วนตำบลกับการสร้างระบบการบริหารจัดการที่ดีตามหลักธรรมาภิบาล: กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลสันนาเม็ง อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

บุญใจ ศรีสถิตนรากูร. (2550). ระเบียบวิธีการวิจัย: แนวทางปฏิบัติสู่ความสำเร็จ. กรุงเทพมหานคร: ยูแอนด์ไออินเตอร์มีเดีย.

ประสาน มฤคพิทักษ์. (2541). แท้ที่จริงธรรมรัฐ คือการสร้างความดีงามร่วมกัน. กรุงเทพมหานคร: มติชน.

พิศสุภางค์ สุขสัน. (2558). การนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการบริหารขององค์การบริหารส่วนตำบลในเขต อำเภอบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.

วาสนา บุญธรรมช่วย. (2546). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกสมาชิก อบต. ยุหว่า อ. สันป่าตอง จ.เชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สมบัติ ธำรงธัญวงศ์. นโยบายสาธารณะ: แนวความคิด การวิเคราะห์และกระบวนการ, พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สำนักงานทะเบียนราษฏร์. (2559). ฝ่ายทะเบียนราษฏร์อำเภอแม่ริม เชียงใหม่. (อัดสำเนา).

องค์การบริหารส่วนตำบลดอนแก้ว. งานนโยบายแผน ปี 2560. 6 มิถุนายน 2559. (อัดสำเนา).

อุบล ยะไวทย์ณะวิชัย. (2553). การบริหารจัดการตามหลักธรรมาภิบาลขององค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัด เชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-08-29