การจัดการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

ผู้แต่ง

  • พิศมัย วงศ์จำปา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • สุดฤทัย จันทรวงษ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนการสอน, การสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ, มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของอาจารย์ผู้สอนและความคิดเห็นของนิสิตที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรที่จะใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ อาจารย์ผู้สอนชั้นปีที่ 3 ทุกสาขาจำนวน 19 รูป/คน 23 รายวิชา และนิสิตชั้นปีที่ 3  ทุกสาขา ประจำปีการศึกษา 2554 จำนวน 113 รูป/คน การสังเกตการณ์แบบไม่มีส่วนร่วมและการศึกษาจากเอกสารทางวิชาการ     

          ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ของมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา อยู่ในระดับปานกลาง 2) การเรียนการสอนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในรูปแบบ CIPPA Model ทั้งสภาพการจัดการเรียนการสอนของอาจารย์ และความคิดเห็นของนิสิตที่มีต่อการจัดการเรียนการสอน พบว่า ความคิดเห็นของอาจารย์อยู่ในระดับมากในทุกด้านของกิจกรรม ซึ่งสอดคล้องกับความคิดเห็นของนิสิตที่อยู่ในระดับมากเช่นกัน 3) ด้านการวัดผลประเมินผล ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พบว่าอาจารย์มีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติการวัดผลประเมินผลในระดับมาก ส่วนนิสิตมีความคิดเห็นต่อการวัดผลประเมินผล ส่วนมากปานกลาง แต่โดยรวมก็จัดอยู่ในระดับมากเช่นกัน 4) ด้านบทบาทผู้สอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ พบว่าอยู่ในระดับมาก

References

กันยารัตน์ ดัดพันธ์. (2551). การออกแบบสภาพแวดล้อมในห้องเรียนเสมือน สำหรับการเรียนแบบโครงงานในระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

จรัส สุวรรณเวลา. (2545). อุดมศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

ดวงกมล สินเพ็ง. (2553). การพัฒนาผู้เรียนสู่สังคมแห่งการเรียนรู้: การจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ทิศนา แขมมณี. (2550). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ, พิมพ์ครั้งที่ 5 ฉบับปรับปรุง. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธรรมรักษ์ การพิศิษฐ์. (2544). การปฏิรูปการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญในระดับอุดมศึกษา: กรณีศึกษาการเรียนการสอน สาขาวิชาสังคมศาสตร์. รายงานการวิจัยคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ สำนักนายกรัฐมนตรี. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดีจำกัด.

บรรพต สุวรรณประเสริฐ. (2544). การพัฒนาหลักสูตร โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ. เชียงใหม่: หจก.เชียงใหม่พิมพ์แสงศิลป์.

บุญชม ศรีสะอาด. (2543). การวิจัยเบื้องต้น, พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2539). การศึกษาเพื่ออารยธรรมที่ยั่งยืน, พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สหธรรมิก จำกัด.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2539). ปฏิรูปการศึกษา การสร้างสรรค์ ภูมิปัญญา. กรุงเทพมหานคร: อัมรินทร์ พริ้นติ้ง แอนด์ พับลิ่ชชิ่ง จำกัด.

พิมพันธ์ เตชะคุปต์และกิติมา แขมมณี. (2540). พัฒนาการด้านการศึกษาไทยในสมัยรัชกาลที่ 9. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิสณุ ฟองศรี. (2551). การประเมินทางการศึกษา: แนวคิดสู่การปฏิบัติ, พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2547). คู่มือระบบประกันคุณภาพ คณะกรรมกรรมดำเนินการการประกันคุณภาพการศึกษา. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มหาวิทยาลัยไซเบอร์ไทย สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. สืบค้นเมื่อ 12 มีนาคม 2553, จาก http://lms.thaicyberu.go.th

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา. (2552). รายงานคุณภาพการศึกษาภายใน มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา ประจำปีการศึกษา 2552. พะเยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา.

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2554). คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รุ่ง แก้วแดง. (2542). ปฏิวัติการศึกษาไทย, พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: มติชน.

วรภัทร์ ภู่เจริญ. (2544). การบริหารการเรียนรู้ที่ยึดผู้เรียนเป็นสำคัญ, พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร: สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี่ (ไทย-ญี่ปุ่น).

วรวิทย์ วศินสรากร. (2544). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับปรัชญาการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: พัฒนาศึกษา.

วัชรา เล่าเรียนดี. (2550). เทคนิคและยุทธวิธีพัฒนาทักษะการคิดการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ, อ้างใน Gagnon และ Collary. (2005). คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร วิทยาเขตพระราชวังสนามจันทร์.

วิทย์ วิศทเวทย์. (2544). ปรัชญาการศึกษาไทย 2411 – 2475. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมคิด บางโม. (2549). กฎหมายการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: วิทยพัฒน์.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2554). รายงานการสังเคราะห์ผลการสำรวจ เรื่องคนไทยคิดอย่างไรต่อการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ไอเดียสแควร์.

สุมาลี คุ้มชัยสกุล. (2546). การสร้างองค์ความรู้เกี่ยวกับการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญนักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพ สาขาวิชาอนุบาลศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. รายงานการวิจัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

หลักสูตรพุทธศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย พ.ศ. 2550. (2550). กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อมรรัตน์ วัฒนาธร. (2551). การจัดการเรียนการสอนแบบตกผลึกในระดับบัณฑิตศึกษา. รายงานการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.

อินถา ศิริวรรณ. (2544). พื้นฐานการศึกษา (Foundation of Education). กรุงเทพมหานคร: สูตรไพศาล.

Office of the National Education Commission, et al. (2003). EDUCATION IN THAILAND 2003/2003. Bangkok: Amarin Printing and Publishing.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-11-05