บทบาทพระสังฆาธิการที่มีต่อการพัฒนาศาสนศึกษาและการศึกษาสงเคราะห์ จังหวัดพะเยา

ผู้แต่ง

  • เสาวนีย์ ไชยกุล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

คำสำคัญ:

บทบาทพระสังฆาธิการ, ศาสนศึกษา, การศึกษาสงเคราะห์

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทพระสังฆาธิการที่มีต่อการพัฒนาศาสนศึกษาและการศึกษาสงเคราะห์ จังหวัดพะเยา โดยมีประชากรและกลุ่มตัวอย่างจากพระสังฆาธิการในจังหวัดพะเยา จำนวน 50 รูป ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จากโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรมและบาลี โรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกสามัญ มหาวิทยามหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัยและพระสังฆาธิการระดับเจ้าอาวาส

          ผลจากการศึกษา พบว่า 1) บทบาทในการจัดการศึกษาด้านศาสนศึกษา มีดังนี้ 1.1 พระสังฆาธิการมีบทบาทในฐานะเป็นผู้บริหาร เช่น เจ้าสำนักเรียน ผู้จัดการ ผู้อำนวยการ เป็นต้น บทบาทในด้านนี้มุ่งเน้นด้านการบริหารจัดการศึกษา เช่น การบริหารงานบุคคล บริหารงบประมาณ และบริหารด้านวิชาการ เป็นต้น 1.2 มีการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาศาสนศึกษา เช่น การจัดตั้งกองทุนการศึกษา การมอบทุนหรือรางวัลสำหรับพระภิกษุสามเณรในกรณีที่สอบการจัดหางบประมาณ บุคลากร สื่อการเรียนการสอน และมีการจัดอบรมสัมมนา  1.3 ในฐานะเจ้าอาวาสจึงมีบทบาทในการจัดการศึกษา 2 สถานะ คือ บทบาทของผู้บริหารและบทบาทของผู้ปกครองคณะสงฆ์ภายในวัดที่ตั้งสำนักเรียนหรือสถานที่เรียน ดังนั้น จึงมีบทบาททั้งในด้านการบริหารจัดการศึกษา 1.4 ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนต่อการพัฒนาศาสนศึกษา มีบทบาทที่สอดคล้องกับการส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาศาสนศึกษา และ 2) บทบาทในการจัดการศึกษาสงเคราะห์ มีดังนี้ 2.1 ด้านการบริหารการศึกษาสงเคราะห์ เช่น การจัดโครงการบวชภาคฤดูร้อน โรงเรียนพุทธศาสนาวันอาทิตย์ การศึกษาผู้ใหญ่ การสงเคราะห์ทุนการศึกษา ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในวัด และการเป็นพระสอนศีลธรรมในสถานศึกษา 2.2 ด้านการส่งเสริมและสนับสนุนการจัดการศึกษาสงเคราะห์เป็นบทบาทที่พระสังฆาธิการได้ดำเนินการที่ไม่แตกต่างจากการบริหารการศึกษาสงเคราะห์  

References

กรมการศาสนา. (2542). คู่มือไวยาวัจกร. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

ขบวน พลตรี. (2544). มนุษย์กับสังคม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์โอเดียนสโตร์.

คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพมหานคร: พริกหวานกราฟฟิค จำกัด.

งามพิศ สัตย์สงวน. (2537). สังคมและวัฒนธรรม, พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ชู ชนะแก้ว และคณะ. (2543). บทบาทของพระสงฆ์กับการศึกษาสงเคราะห์. กรุงเทพมหานคร: กระทรวงศึกษาธิการ.

ฑิตยา สุวรรณชฎ. (2527). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาสังคม. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหิดล.

ณรงค์ เส็งประชา. (2541). มนุษย์กับสังคม, พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮาส์.

ธงชัย สันติวงษ์ และชัยยศ สันติวงษ์. (2542). พฤติกรรมบุคคลในองค์การ, พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2513). บทบาทของพระสงฆ์ในสังคมไทย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สยามสมาคม.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2536). เพื่ออนาคตของการศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร: ธรรมสภา.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2539). การศึกษาเพื่ออารยธรรมที่ยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2549). การพัฒนาที่ยั่งยืน, พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโกมลคีมทอง.

พระธรรมปิฎก (ป.อ.ปยุตฺโต). (2542). การศึกษาทางเลือก: สู่วิวัฒน์หรือวิบัติในยุคโลกไร้พรมแดน.กรุงเทพมหานคร: พิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.

พระธรรมราชานุวัตร เจ้าคณะภาค 6. (2552). คู่มือการบริหารและจัดการวัด. เชียงราย: เชียงรายไพศาลการพิมพ์.

พระราชบัญญัติกฎกระทรวง. (ม.ป.ป.). กฎมหาเถรสมาคม. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์การศาสนา.

พระราชบัญญัติคณะสงฆ์และกฎมหาเถรสมาคม. จัดพิมพ์ในวโรกาสพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา 5 ธันวาคม 2541 พระราชทานเป็นสมณศักดิ์พระเทพเวที (ประกอบ ธมมฺเสฎโฐ ป.ธ.9). (2541). กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก.

พวงเพชร สุรัตนกวิคุล. (2542). มนุษย์กับสังคม, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์.

พัทยา สายหู. (2516). ความเข้าใจเกี่ยวกับกลไกของสังคม. กรุงเทพมหานคร: พิฆเนศ.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2543). ประมวลบทความนวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้สำหรับครูยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.

พุทธทาสภิกขุ-ธรรมทานมูลนิธิ. (2535). พุทธประวัติจากพระโอษฐ์. กรุงเทพมหานคร: พระนครการพิมพ์.

ไพสิทธิ์ สัตยาวุธ, พระ. (2541). บทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชนบทในเขตตำบลนายม อำเภอเมืองจังหวัดอำนาจเจริญ. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. (2547). ประมวลสาระชุดวิชา จิตวิทยาครอบครัวและครอบครัวศึกษา หน่วยที่ 1–4. นนทบุรี: สำนักพิมพ์สุโขทัยธรรมาธิราช.

รุ่ง แก้วแดง. (2543). ปฏิวัติการศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร: มติชน.

รุจา ภู่ไพบูลย์. (2537). การพยาบาลครอบครัว:แนวคิดทฤษฎีและการนำมาใช้. ขอนแก่น: ขอนแก่นการพิมพ์.

วราลี วิริยานันตะ. (2547). การรับรู้บทบาทและบทบาทหน้าที่เป็นจริงของพยาบาลวิชาชีพที่ปฏิบัติงานในศูนย์สุขภาพชุมชน ภาคตะวันออก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

สงวน สุทธิเลิศอรุณ. (2525). จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพมหานคร: ส่งเสริมวิชาการ.

สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส. (2535). วินัยมุข เล่ม 2 (หลักสูตรนักธรรมชั้นโท). กรุงเทพมหานคร: มหามกุฎราชวิทยาลัย.

สังเวียน ปญฺญาธโร, พระมหา. (2550). บทบาทของพระสงฆ์ในการนำหลักพุทธธรรมมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน: กรณีศึกษาพระครูสุภาจารวัฒน์. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุเทพ สุนทรเภสัช. (2540). ทฤษฎีสังคมวิทยาร่วมสมัย พื้นฐานแนวความคิดทฤษฎีทางสังคมวิทยาและวัฒนธรรม. เชียงใหม่: โกลบอลวิชั่น.

สุพัตรา สุภาพ. (2540). สังคมวิทยา, พิมพ์ครั้งที่ 19. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.

สุภา สกุลเงิน. (2545). ประสิทธิภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของกำนัน ใหญ่บ้านหลังการจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบล ในทัศนะของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน: ศึกษาเฉพาะกรณีอำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

โสภา ชูพิกุลชัย. (2522). จิตวิทยาสังคมประยุกต์. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพาณิช.

Cohen & Orbuch. (1990). Introduction to Sociology. Singapore: McGraw-hill.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-10-20