พระภิกษุสามเณรควรเรียนวิชาทางโลกหรือไม่
คำสำคัญ:
การบวชเรียน, วิชาทางธรรม, วิชาทางโลก, พระพุทธศาสนาไทยบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประเพณีการบวชเรียนและวิเคราะห์การเรียนวิชาทางธรรมและวิชาทางโลกของพระภิกษุสามเณรในสังคมไทยปัจจุบัน ผลการศึกษาพบว่า การบวชเรียนเป็นประเพณีไทยมาแต่โบราณ เมื่อบวชแล้วมีการเรียนวิชาความรู้ต่าง ๆ ทั้งทางโลกและทางธรรมซึ่งมีสอนในวัดแต่ละแห่ง เมื่อฝ่ายบ้านเมืองแยกการศึกษาจากวัดไปจัดการศึกษาตามแบบอย่างตะวันตกจึงเน้นเฉพาะวิทยาการสมัยใหม่ ไม่เกี่ยวกับหลักศาสนา ทำให้มีการแยกกันอย่างชัดเจนระหว่างวิชาทางโลกกับวิชาทางธรรม โดยวิชาทางโลกเป็นเรื่องของฆราวาส ส่วนวิชาทางธรรมเป็นเรื่องของพระภิกษุสามเณร ความเข้าใจเช่นนี้ส่งผลให้เกิดขั้วตรงกันข้ามระหว่างวิชาทางโลกกับวิชาทางธรรม ในบทความนี้ได้ชี้ให้เห็นว่า ทั้งวิชาทางโลกและวิชาทางธรรมสามารถเป็นอุปการะแก่กันและกันได้หากรู้จักประนีประนอมระหว่างกัน โดยใช้วิชาทางโลกเป็นพื้นฐานในการเผยแผ่หลักธรรม
References
คึกฤทธิ์ ปราโมช. (2561). สังคมสมัยอยุธยา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ไต้ ตามทาง (เสฐียรพงศ์ วรรณปก). (2530). สองทศวรรษในดงขมิ้น. กรุงเทพมหานคร: ช่อมะไฟ.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2543). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลศัพท์, พิมพ์ครั้งที่ 9. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพุทธโฆสะ. (2548). สมนฺตปาสาทิกา นาม วินยฏฺฐกถา (ปฐโม ภาโค), พิมพ์ครั้งที่ 24. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหามกุฏราชวิทยาลัย.
พระพุทธะอิสระ. (14 มิถุนายน 2558). ฟังรอบด้าน ม. สงฆ์สอนทางโลกมากไป. คมชัดลึก, น. 7.
ไพบูลย์ นิติตะวัน. (6 มิถุนายน 2558). พิมพ์เขียวปฏิรูปพุทธศาสนา. สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม 9. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาเถรสมาคม. คำสั่งมหาเถรสมาคมเรื่องห้ามพระภิกษุสามเณรเรียนวิชาชีพหรือสอบแข่งขันหรือสอบคัดเลือกอย่างคฤหัสถ์ พ.ศ. 2521. แถลงการณ์คณะสงฆ์ เล่ม 66 ตอนที่ 9, 25 กันยายน 2521.
ลา ลูแบร์. (2548), เขียน. สันต์ ท. โกมลบุตร, แปล. จดหมายเหตุ ลา ลูแบร์: ราชอาณาจักรสยาม. นนทบุรี: ศรีปัญญา.
วิกิพีเดีย. (14 มกราคม 2563). โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา. สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/โรงเรียนการกุศลของวัดในพระพุทธศาสนา
วิกิพีเดีย. (30 ธันวาคม 2562). โรงเรียนพระปริยัติธรรม. สืบค้นเมื่อ 4 กุมภาพันธ์ 2563, จาก https://th.wikipedia.org/wiki/โรงเรียนพระปริยัติธรรม
องค์การค้าของคุรุสภา. (2508). ประชุมพงศาวดาร ภาคที่ 32. พระนคร: องค์การค้าของคุรุสภา.