การส่งเสริมและพัฒนาชุมชนรอบพื้นที่ป่าโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในลุ่มน้ำอิงตามแนวทางพระพุทธศาสนา

ผู้แต่ง

  • พระครูพิศาลสรกิจ (สุทิน สุทิโน) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • พระครูธรรมธรบุญเที่ยง พุทฺธสาวโก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา
  • พระสุกฤษฎิ์ ปิยสีโล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

คำสำคัญ:

การส่งเสริมและพัฒนาชุมชน, ป่าชุมชน, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, ลุ่มน้ำอิง

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการพัฒนาชุมชนรอบพื้นที่ป่าและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในลุ่มน้ำอิง 2) เพื่อพัฒนาชุมชนรอบพื้นที่ป่าโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในลุ่มน้ำอิง และ 3) สังเคราะห์องค์ความรู้ในการส่งเสริมและพัฒนาชุมชนรอบพื้นที่ป่าโดยการมีส่วนร่วมของชุมชนและองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในลุ่มน้ำอิงตามแนวทางพระพุทธศาสนา การวิจัยนี้เป็นเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญเป็นกลุ่มประชากรในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลห้วยแก้ว อำเภอภูกามยาว เทศบาลตำบลเวียง อำเภอเชียงคำและเทศบาลตำบลครึ่ง อำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย จำนวน 30 คน ซึ่งแบ่งออกเป็น 5 กลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างและแบบสนทนากลุ่ม จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติแบบบรรยาย

          ผลการวิจัย พบว่า 1) แนวทางการส่งเสริมการมีส่วนร่วมและการพัฒนามีการแต่งตั้งคณะกรรมการป่าชุมชนและใช้กระบวนการ AIC คือ A คือ ขั้นเห็นคุณค่าในการสร้างจิตสำนึกให้เห็นความสำคัญกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม I คือ ขั้นปฏิสัมพันธ์ในการพัฒนาและอนุรักษ์ และ C คือ ขั้นควบคุมการออกกฎระเบียบป่าชุมชน การใช้หลักความเชื่อทางพระพุทธศาสนาและความเชื่อเรื่องผี 2) การพัฒนาชุมชนรอบพื้นที่ป่าประกอบด้วยหลักไตรสิกขาและหลักอปริหานิยธรรมที่มีความสัมพันธ์กับกระบวนการ AIC 3) การสังเคราะห์องค์ความรู้ในการส่งเสริมและพัฒนาชุมชน ทั้งในลักษณะทางกายภาพของชุมชน ลักษณะทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรมของป่าชุมชน ซึ่งมีการดำเนินตามกระบวนการ AIC ที่สามารถสังเคราะห์เข้ากับหลักไตรสิกขาและอปริหานิยธรรม โดยเฉพาะขั้นเห็นคุณค่าตรงกับสมาธิ ขั้นปฏิสัมพันธ์ตรงกับปัญญาและขั้นควบคุมตรงกับศีล ส่วนองค์ความรู้จากการวิจัย คือ การส่งเสริมและพัฒนาตามกระบวนการ AIC ที่สอดคล้องกับหลักไตรสิกขาและการนำหลักอปริหานิยธรรมไปประยุกต์ใช้

References

กรมป่าไม้. (2542). สถิติการป่าไม้ของประเทศไทย 2542. กรุงเทพมหานคร: เฟื่องฟ้าพริ้นติ้ง.

จักรพงษ์ พวงงามชื่น และคณะ. (2556). การพัฒนารูปแบบการมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชน: กรณีศึกษาบ้านทาป่าเปา ตำบลทาปลาดุก อำเภอแม่ทา จังหวัดลำพูน. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

ธีรศักดิ์ คำแสนพันธ์. (2553). การมีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ป่าโสกรังของประชาชนกับองค์การบริหารตำบลหนองบัว อำเภอพยัคฆพิสัย จังหวัดมหาสารคาม. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.

ธีระพงษ์ แก้วหาวงษ์. (2543). กระบวนการเสริมสร้างชุมชนเข้มแข็ง ประชาคม ประชาสังคม, พิมพ์ครั้งที่ 4. ขอนแก่น: ศูนย์ฝึกอบรมและพัฒนาการสาธารณสุขมูลฐานภาคตะวันออกเฉียงเหนือร่วมกับเครือข่ายประชาคมสุขภาพในท้องถิ่น.

พงษ์ศักดิ์ มณีเดช. (2550). การวิเคราะห์ความสำเร็จในการพัฒนาชุมชนของนางทองดี โพธิยอง จากมุมมองของพุทธศาสนา. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ยุวัฒน์ วุฒิเมธี และคณะ. (2536). แนวคิดและปรัชญาการพัฒนาชนบท. กรุงเทพมหานคร :มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

วัชรพงศ์ บุหลนพฤกษ์. (2543). การดำเนินการโครงการจัดตั้งป่าชุมชนของบ้านแม่หารจังหวัดแม่ฮ่องสอน. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

สมาคมแม่น้ำเพื่อชีวิต. (2560. ป่าชุ่มน้ำในลุ่มน้ำอิงตอนล่างและการจัดการโดยชุมชนท้องถิ่น. เชียงใหม่: วนิดาการพิมพ์.

สรรเสริญ ทองสมนึก. (2542). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการจัดการป่าชุมชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

สหัทยา วิเศษ. (2544). ลุ่มน้ำอิง. พะเยา: โครงการพะเยาเพื่อการพัฒนา.

เสน่ห์ จามริก และยศ สันตสมบัติ. (2536). รายงานวิจัยป่าชุมชนในประเทศไทยแนวทางการพัฒนา เล่ม 1 ป่าฝนเขตร้อนกับภาพรวมของป่าชุมชนในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สถาบันชุมชนท้องถิ่นพัฒนา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-06-02