บทบาทพลเมืองภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดลำพูน

ผู้แต่ง

  • พงษ์สนิท คุณนะลา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตพะเยา

คำสำคัญ:

บทบาทพลเมือง, ระบอบประชาธิปไตย, มัธยมศึกษาตอนปลายจังหวัดลำพูน

บทคัดย่อ

          งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษาระดับการรับรู้บทบาทพลเมืองภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตย 2) เพื่อศึกษาปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อบทบาทพลเมืองภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตย และ 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการสร้างการรับรู้บทบาทพลเมืองภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดลำพูน โดยใช้แนวคิดความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย 6 ด้านเป็นกรอบการวิจัย การวิจัยนี้เป็นเชิงปริมาณ พื้นที่วิจัย คือ จังหวัดลำพูน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดลำพูน จำนวน 374 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบสุ่มแบบง่ายตามสูตรของ Yamane เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติอนุมานด้วยการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ

          ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับการรับรู้บทบาทพลเมืองภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดลำพูน โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยในระดับมาก (gif.latex?x\bar{}=3.78) 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อบทบาทพลเมืองภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายในจังหวัดลำพูน พบว่า การเคารพหลักความเสมอภาคส่งผลต่อบทบาทพลเมืองภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายสูงที่สุด 3) แนวทางในการสร้างการรับรู้บทบาทพลเมืองภายใต้การปกครองระบอบประชาธิปไตยควรกำหนดให้โรงเรียนมุ่งเน้นการเรียนการสอนและจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อสร้างการรับรู้ในบทบาทดังกล่าวอย่างแท้จริง โดยเฉพาะในด้านความรับผิดชอบตนเองและพึ่งตนเองได้ที่ต้องเพิ่มความเข้มข้น โดยเปิดโอกาสให้สามารถแสดงบทบาททางความคิดทั้งในครอบครัว โรงเรียน ชุมชนและสถานที่ต่าง ๆ อย่างเป็นอิสระ

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2561). การศึกษาความเป็นพลเมืองของผู้เรียนในสถานศึกษาสังกัดกระทรวง ศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร: สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ.

ประภาพร สีหา. (2560). ความขัดแย้งทางการเมืองกับรัฐประหารปี พ.ศ. 2557. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 4 (2), 145-166.

ปรัชญา ชุ่มนาเสียว. (2559). สมรรถนะหลักของพลเมืองไทยภายใต้ระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

ปริญญา เทวานฤมิตรกุล. (2555). การศึกษาเพื่อสร้างพลเมือง. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่น.

พรภิรมณ์ ศรีทองคำ และวัลลภ รัฐฉัตรานนท์. (2558). ทัศนคติทางการเมืองแบบประชาธิปไตยของประชาชนในตำบลบ้านช้าง อำเภอสองพี่น้อง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารรัฐศาสตร์ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 2 (2), 32-44.

พระครูปลัดวัชรพงษ์ วชิรปญฺโญ. (2561). ประชาธิปไตยกับกระบวนการมีส่วนร่วมทางการเมืองของภาคประชาสังคม. วารสาร มจร. นครน่านปริทรรศน์. 2 (1), 105-120.

พิสิษฐ์ วงศารัตน์ศิลป์. (2560). ความคิดเห็นของประชาชนในการปกครองระบอบประชาธิปไตยในเขตอำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์, 7 (1), 190-202.

รสสุคนธ์ มกรมณี. (2556). พฤติกรรมความเป็นพลเมืองของเยาวชนในมหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 5 (1), 74-84.

ลิขิต ธีรเวคิน.(2553). การเมืองการปกครองของไทย. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

วินิจ ผาเจริญ. (2561). คุณลักษณะความเป็นพลเมืองดีในสังคมประชาธิปไตยของนักศึกษามหาวิทยาลัยแม่โจ้. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย. 6 (1), 148-161.

สุวิทย์ เมษินทรีย์. (2556). โลกเปลี่ยน ไทยปรับ. กรุงเทพมหานคร: กรุงเทพธุรกิจ.

สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). นโยบายสํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. กรุงเทพมหานคร: สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35. (ม.ป.ป.). 15 โรงเรียน จังหวัดลำพูน. สืบค้นเมื่อ 30 ธันวาคม 2562, จาก http://www.secondary35. go.th/15-โรงเรียน-จังหวัดลำพูน/

สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2555). พลเมืองในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร: สำนักการพิมพ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สำนักวิชาการและมาตรฐานการศึกษา. (2557). Civic Education พลังเยาวชน พลังพลเมือง: การจัดการศึกษาเพื่อสร้างความเป็นพลเมือง. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

อัจฉรา อยุทธศิริกุล. (2561). การศึกษาคุณลักษณะความเป็นพลเมืองตามวิถีประชาธิปไตยของนักเรียนมัธยมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยศิลปากร.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-27