การจูงใจนักท่องเที่ยวเจเนอเรชันแซดด้วยองค์ประกอบ ทางการท่องเที่ยว เพื่อเข้าร่วมประเพณีฮีตสิบสองในจังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • จีณัสมา ศรีหิรัญ คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • กมนภา หวังเขื่อนกลาง คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • รวิภา ในเถา คณะบริหารธุรกิจและการบัญชี มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • สมศักดิ์ ตลาดทรัพย์ คณะสังคมศาสตร์บูรณาการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น วิทยาเขตหนองคาย

คำสำคัญ:

การท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม, ฮีตสิบสอง, นักท่องเที่ยวเจเนอเรชันแซด

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักท่องเที่ยวเจเนอเรชันแซดในจังหวัดขอนแก่น 2) เพื่อศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันประเพณีฮีตสิบสอง ในอำเภอกระนวน อำเภอน้ำพองและอำเภอเวียงเก่า 3) เพื่อวิเคราะห์ความคาดหวังต่อองค์ประกอบการท่องเที่ยว ในการเข้าร่วมประเพณีฮีตสิบสอง จากความคาดหวังของนักท่องเที่ยวเจเนอเรชันแซดในอำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 4) เพื่อเสนอแนวทางการจูงใจนักท่องเที่ยวเจเนอเรชันแซดในการเข้าร่วมประเพณีฮีตสิบสอง ในจังหวัดขอนแก่น โดยมีกลุ่มตัวอย่างวิจัยเชิงคุณภาพ คือ ผู้ใหญ่บ้านและชาวบ้าน 3 ชุมชน ได้แก่ อำเภอกระนวน อำเภอน้ำพอง และอำเภอเวียงเก่า และกลุ่มตัวอย่างวิจัยเชิงปริมาณ คือ นักท่องเที่ยวเจเนอเรชันแซดในจังหวัดขอนแก่น เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสัมภาษณ์แบบเชิงลึก ส่วนสถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน

          ผลการวิจัย พบว่า 1) พฤติกรรมนักท่องเที่ยวเจเนอเรชันแซดในจังหวัดขอนแก่นมีแรงจูงใจหลักจากความต้องการเรียนรู้วัฒนธรรมและการวางแผนการท่องเที่ยวโดยใช้สื่อออนไลน์และโซเชียลมีเดียเป็นหลัก 2) สถานการณ์ปัจจุบันของประเพณีฮีตสิบสองแต่ละชุมชนมีผู้นำชุมชนและนักการเมืองท้องถิ่นเป็นผู้มีอิทธิพลในการสืบสานและส่งเสริมการจัดงานประเพณีฮีตสิบสอง 3) ระดับความคาดหวังของนักท่องเที่ยวเจเนอเรชันแซดมีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีการเลือกความคาดหวังด้านกิจกรรมเป็นลำดับแรก 4) แนวทางการจูงใจนักท่องเที่ยวเจเนอเรชันแซด ในการเข้าร่วมประเพณีฮีตสิบสองในจังหวัดขอนแก่น คือ สำรวจทรัพยากรของชุมชนที่มีเอกลักษณ์และนำมาพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์ทางการท่องเที่ยว สร้างเครือข่ายกับพันธมิตรทางวิชาการเพื่อปลูกฝังให้เยาวชนตระหนักถึงคุณค่าของประเพณีและวัฒนธรรม สร้างการรับรู้และการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารโดยการส่งเสริมกิจกรรมการตลาดการท่องเที่ยวและสร้างสาธารณูปโภคพื้นฐานให้สะดวกและเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้ง่าย ที่พักมีความปลอดภัย 24 ชั่วโมง ถูกสุขลักษณะและมีสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่เสถียรและรวดเร็ว และที่พักควรอยู่ใกล้สถานที่ที่จัดประเพณีเพื่อให้สะดวกแก่นักท่องเที่ยวเจเนอเรชันแซด

References

กิติยา พฤกษากิจ และบุญสม เกษประดิษฐ์ . (2561). แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม กรณีศึกษา ตำบลจันทเขลม อำเภอเขาคิชฌกูฏ จังหวัดจันทบุรี . วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยปทุมธานี. 10 (1), 246-257.

ขันเตียน นามเกตุ. (2556). การศึกษาคติความเชื่อประเพณีบุญเดือนเก้า (ข้าวประดับดิน). วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

จุฑารัตน์ แพวงษ์จีน. (23 มิถุนายน 2555). ความหมายของประเพณี. สืบค้นเมื่อ 12 กรกฎาคม 2562, จาก www.gotoknow.org/posts/18719

ชุติรัตน์ เจริญสุข และคณะ. (2558). การวิจัยปฏิบัติการเพื่อหาแนวทางการพัฒนาการจัดการ ด้านการตลาดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมไทยทรงดำบ้านหัวเขาจีน อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี. การประชุมวิชาการระดับชาติ ราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงวิจัย ครั้งที่ 3. มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. วันที่ 1 มีนาคม.

ฌาณิญา จินดามล. (2549). การศึกษาฮีตสิบสองในฐานะเครื่องมือเสริมสร้างความเป็นปึกแผ่นทางสังคมชุมชนอีสาน. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นพดล พรามณี. ( 2554). การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชาวบ้านชำโสม ตำบลกบินทร์ อำเภอกบินทร์ จังหวัดปราจีนบุรี: กรณีศึกษาประเพณีฮีตสิบสองคลองสิบสี่. วิทยานิพนธ์ปริญญารัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

นิจิรา คลังสมบัติ. (2557). การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน จังหวัดอุดราธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตรดุษฏีบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระสุขี ชาครธมฺโม (ศรีมาตย์). (2553). ศึกษาวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของประเพณีฮีตสิบสอง : ศึกษากรณี ตำบลเมืองเก่า อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มนัสวี ศรีนนท์. (2561). ทฤษฎีเจเนอเรชันกับกรอบวิธีคิด. วารสารศึกษาศาสตร์ มมร. 6 (1), 364-373.

วันใหม่ แตงแก้ว. (2554). การจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในเมืองเชียงคาน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. วิทยานิพนธ์ปริญญาการวางแผนภาคและเมืองมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยขอนแก่น. (ม.ป.ป). ฮีตสิบสอง. สืบค้นเมื่อ 1 กรกฎาคม 2562, จาก http://cac.kku.ac.th/heet12_kong14/main_heet12.html

อุทัย ภัทรสุข. (2555). การศึกษาอิทธิพลของพระธาตุพนมที่มีต่อความเชื่อและพิธีกรรมของชุมชนลุ่มแม่น้ำโขง. วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Dickman, S. (1996). Tourism: An Introductory Text, 2nd ed. Sydney: Hodder Education.

Marketeer. (8 ธันวาคม 2560). European Travelers: Gen ไหน? เที่ยวแบบไหน?. สืบค้นเมื่อ 7 สิงหาคม 2562, จาก https://marketeeronline.co/ archives/4340

Middleton, V. T. C. (1994). Marketing in Travel and Tourism. Oxford: Butterworth-Heinemann.

Teachsauce. (13 กันยายน 2562). คน Gen Z และพฤติกรรมการใช้ Social Media ความเชื่อมโยงและแรงบันดาลใจที่แยกกันไม่ขาด. สืบค้นเมื่อ 15 กันยายน 2562, จาก https://techsauce.co/pr-news/gen-z-follow-social-media

Tourism Western Australia. (2009). Five A's of Tourism. Western Australia: Tourism Western Australia.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2020-05-25